• Welcome to งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนวารินชำราบ สพม. อบอจ..
 

ข่าว:

พืชพรรณต่างๆ มีภาพประกอบ และจัดเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะวิสัย ค้นหาได้ง่าย

Main Menu

เถาคัน รหัส 7-34190-001- 350

เริ่มโดย กมล แสวงนาม, 22 มิถุนายน 2013, 11:34:51 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

กมล แสวงนาม

  เถาคัน
ชื่ออื่น เถาคันขาว (ภาคกลาง) เครือหุนแปขาว (อีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Parthenocissus quinquefolia Planch.
วงศ์ VITIDACEAE
ชื่อสามัญ -
แหล่งที่พบ พบทุกภาคของประเทศ
ประเภทไม้ ไม้เถาเลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาสีเขียวขนาดเล็ก มีมือเกาะแตกจากข้อไม่มีขน
ใบ เป็นใบประกอบมีใบย่อย 3 ใบ แตกจากก้านใบจุดเดียวกัน โดยใบย่อยเป็นรูปไข่ โคนใบป้าน ปลายใบค่อนข้างแหลม ขอบใบจักเล็กน้อยสีเขียวเข้ม แผ่นใบเรียบ เส้นกลางใบนูนเห็นเด่นชัด ขนาดกว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-10 ซม.
ดอก เป็นดอกช่อแตกออกจากก้านช่อดอกหลักจุดเดียวกัน มีลักษณะคล้ายดอกกระตังบายหรือ ดอกเถาวัลย์ปูน หรือฝิ่นต้น และดอกนั้นจะออกเป็นช่อใหญ่แบนและแน่น ดอกมีขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนก้านดอกย่อย แต่ละช่อมี 10-50 ดอก
ผล ทรงกลมสีเขียวจะมีขนาดกลมโตเท่าผลมะแว้ง ผลดิบนั้นจะเป็นสีเขียวใช้กินเป็นอาหารได้ ผลสุกจะเป็นสีดำ ถ้าบีบจะมีน้ำออกมาเป็นสีม่วงทำให้คันมาก

ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน เถา ใบ
การขยายพันธุ์ เมล็ด
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ที่ชื้นไม่มีน้ำท่วมขัง
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ตลอดปี
คุณค่าทางอาหาร ยังไม่มีข้อมูล
การปรุงอาหาร ยอดใช้ลวกจิ้มน้ำพริก แจ่ว หรือบริโภคเป็นผักสด
ลักษณะพิเศษ สรรพคุณ เถาใช้ปรุงเป็นยาต้มกิน เป็นยารักษาโรคกษัยทำให้เส้นหย่อน เป็นยาขับลม ขับเสมหะ เป็นยาฟอกเลือด และรักษาอาการฟกช้ำภายใน ใบ นำไปอังไฟพอเหี่ยว ใช้ปิดฝีบ่มหนอง ถ้าฝีนั้นแตกก็จะทำให้ดูดหนอง คล้ายขี้ผึ้งอิดติโยนของฝรั่ง
ลดไข้ ฝาดสมาน แก้กระษัย ขับเสมหะ แก้ช้ำใน แก้ริดสีดวงลำไส้ ขับเลือดเน่า ขับน้ำคาวปลาหลังคลอด ขับลม ดูดหนองที่หัวฝี