• Welcome to งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนวารินชำราบ สพม. อบอจ..
 

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนวารินชำราบ

Main Menu

ไมยราบ รหัส 7-34190-001-228

เริ่มโดย วันวิสา ทนหล้า, 22 มิถุนายน 2013, 09:59:01 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

วันวิสา ทนหล้า

ไมยราบ รหัส 7-34190-001-228

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimosa diplotricha C.Wright ex Sauvalle
ชื่ออื่น  กระทืบยอด กะเสดโคก    หญ้าปันยอด หญ้างับ
ชื่อสามัญ sensitive plant, sleeping grass, shameplant
วงศ์    MIMOSACEAE             
ระดับความเสียหาย   ปานกลาง
ชีววิทยาไมยราบเป็นวัชพืชประเภทใบกว้าง อายุหลายปี แผ่กิ่งก้านไปตามพื้น ลำต้นและก้านใบสีแดง มีหนามสั้น ๆ ทั่วไป และมีหนามใหญ่ตามข้อ ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 2 คู่ ขนาดเล็กมาก ไวต่อการสัมผัสและ หุบลงหากถูกสัมผัสหรือสั่นสะเทือน ช่อดอกกลมฟู สีม่วง ผลเป็นฝักแบนโค้งเล็กน้อย ปลายมีหนามแหลม เมล็ดกลมแบน มักพบตามสนามหญ้าและที่รกร้างทั่วไป
ลักษณะของความเสียหายแก่งแย่งธาตุอาหารและ น้ำกับพืชปลูก
แหล่งอาศัยของศัตรูพืช   --
การแพร่กระจาย พบขึ้นทั่วไป ในสภาพดินชื้น แพร่กระ จายในแหล่งปลูกพืชยืนต้นและที่รกร้างว่างเปล่า
การป้องกันกำจัด
1.ใช้แรงงานถอนหรือตายออกเมื่อยังเป็นต้นอ่อน
2.ใช้สารกำจัดวัชพืช พ่นพาราควอต หรือกลูโฟสิเนต แอมโมเนียม อัตรา 80 และ 160 กรัม สารออกฤทธิ์ ต่อไร่ตามลำดับ ในระยะวัชพืชกำลังเจริญเติบโตหรือ ก่อนออกดอกผลิตเมล็ด
ประโยชน์ แม้จะเป็นพืชที่มีการแพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็ว และกำจัดค่อนข้างยาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา แต่ก็ยังมีประโยชน์ทางสมุนไพร สามารถนำทุกส่วนมาหั่นแล้วคั่ว โดยใช้ไฟอ่อนๆ จนมีกลิ่นหอม แล้วนำไปชงน้ำดื่มแทนชา ช่วยลดคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือดได้
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับโรคงูสวัด เริม
   1.  ฤทธิ์ต้านเริม
   สารสกัดทั้งต้นของไมยราบด้วย 80% เอทานอล ทำการทดลองใน cell culture (ไม่บอกขนาดที่ใช้) พบว่าผลการทดลองได้ผลไม่แน่นอนต่อการต้านเชื้อไวรัสเริม Herpes simplex type I (1)
   2.  ฤทธิ์ลดการอักเสบ
   มีการศึกษาในคนทั้งเพศชาย-หญิง โดยให้รับประทานยาตำรับซึ่งมีสารสกัดใบไมยราบหรือสวนทางทวารหนัก พบว่าสามารถลดการอักเสบได้ (2)
หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
   สารสกัดทั้งต้นด้วยเอทานอล:น้ำ (1:1) เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 1 ก./กก. (3)
ข้อมูลด้านการรักษาเริมไม่แน่ชัด และฤทธิ์ลดการอักเสบเป็นการศึกษาทั้งตำรับ จึงไม่ควรนำไปใช้รักษาเริม