ชื่อท้องถิ่น : เถาวัลย์ แดง, เถาวัลย์แดง Thao wan daeng (Ratchaburi); เครือซุด Khruea sut (Loei); เครือมะแตก Khruea ma taek (Northern); อบเชยเถา Op choei thao (Bangkok)
เครือซูด
ชื่อพื้นเมือง : เครือซูด (สระบุรี, อุบลราชธานี) ช้างงาเดียว (ประจวบคีรีขันธ์) เถาประหล่ำผี (ชัยนาท) สร้อยสุมาลี กุมาริกา (ภาคกลาง) เครือเขามวก เครือเขามวกขาว เขามวกขาว ตั่งตู่เครือ (ภาคเหนือ) มวก ส้มลม (ปราจีนบุรี) ตังติด (จันทบุรี) วันจรูก (เขมร-จันทบุรี) วอร์กั้นจรูก (เขมร-ปราจีนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parameria laevigata (Juss.) Moldenke
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ : -
ลักษณะ : ไม้เถา ลำต้นเลื้อยพันไม้อื่น มีน้ำยางขาว ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามหรือเป็นวงรอบข้อ ข้อละ 3 ใบ รูปรี รูปขอบขนานถึงรูปใบหอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาว กลิ่นหอมแรง ฝักยาว หยักคอดระหว่างเมล็ด เมื่อแก่แตกออกจากกันด้านเดียว เมล็ดรูปคล้ายเรือ โคนมีปุยขนยาวคล้ายเส้นไหม ออกดอกระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเมษายน ผลแก่ระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน
ประโยชน์ : เปลือกใช้ปรุงเป็นยารักษาบาดแผลภายใน โดยเฉพาะหญิงหลังการคลอดบุตร โรคทางเดินอาหารและวัณโรค