ชื่อวิทยาศาสตร์: Amaranthus spinosus L.
วงศ์: AMARANTHACEAE
ชื่อสามัญ: Spiny amaranth ;Spiny ppigweed.
ชื่ออื่น: กะเหม่อลอมี;ปะตึ (เขมร);ผักโหมหนาม (ภาคใต้);แม่ล้อดู่;หมั่งลั้งดุ่ (กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกศาสตร์
ลำต้น: ไม้ล้มลุก อายุเพียงปีเดียว แตกกิ่งก้านสาขา สูง 15-100 เซนติเมตร ลำต้นอวบน้ำ กลมหรือมีเหลี่ยมมนๆ สีเขียวหรือม่วงแกมเขียว ลำต้นมีหนามยาว มักพบตามข้อ
ใบ: เป็นใบเดี่ยว ออกสลับบกัน รูปไข่หรือรูปหอก กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-8 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1.5-8 เซนติเมตร โคนใบแหลม ปลายใบแหลมหรือเว้าเล็กน้อย บางครั้งปลายใบเปลี่ยนเป็นหนามสั้นๆ ใบเกลี้ยง แต่ใบอ่อนอาจมีขนเล็กน้อยตามเส้นใบ
ดอก: เป็นดอกช่อ ดอกตอนล่างออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ และมีหนามตรงๆ 2 อัน ดอกตอนบนออกเป็นช่อตามยอดหรือง่ามใบไม่มีก้านดอก เป็นดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน
สรรพคุณตามตำรับยาไทย
ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ:
ราก : อินเดียรากเป็นยาแก้ตกเลือด รักษากามโรค หนองใน อาการจุกเสียดและเรื้อนกวาง ,ใบ : อินเดียใบและรากต้มเป็นยาระบายเด็กและใช้อาบแก้อาการคันที่ผิวหนัง ใบและต้นตำพอกปิดแผลที่เป็นหนองฝีและแผลที่เกิดจากถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก