รางจืด รหัส 7-34190-001-172
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thumbergia Laurifolia Linn.
วงศ์ ACANTHACEAE
ชื่อสามัญ Babbler's Bill Leaf
ลักษณะทั่วไป
ต้น เป็นไม้เลื้อยลำต้นหรือเถามีเนื้อแข็ง เถามีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม เลื้อยพาดไปตามกำแพง รั้ว แล้วจะทิ้งตัวห้อยเป็นระย้าลงสู่เบื้องล่าง
ใบ รางจืดเป็นไม้ใบเดี่ยว ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่เรียวยาว ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนใบเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ
หรืออาจจะเป็นหยักเล็กน้อย ใบเกลี้ยงไม่มีขน และใบที่อยู่ล่าง ๆ ก็มักจะใหญ่กว่าใบที่อยู่ถัดขึ้นไป
ดอก ออกดอกเป็นช่อห้อยลงมาตามซอกใบ หรือตามข้อของลำต้น ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกประมาณ 3-4
ดอก มีใบประดับสีขาวประด้วยสีแดงหุ้มดอกอยู่ มีกลีบดอกขนาดใหญ่ 5 กลีบ เป็นรูปฐาน ส่วน
ดอกเป็นรูปแตร ดอกมีสีม่วงอ่อน สีฟ้า หรือสีขาว ภายในดอกมีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน
การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร รางจืดมีประสิทธิภาพในการรักษา คือ รางจืดสายพันธุ์ดอกสีม่วง รากและเถา รับประทาน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
ใบและราก ใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อยลวก ไฟไหม้ ทำลายพิษยาฆ่าแมลง พิษจาก สตริกนินให้เป็นกลาง พิษจากดื่มเหล้ามากเกินไป หรือยาเบื่อชนิดต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย
วิธีใช้ เป็นยาถอนพิษจากยาพิษต่างๆ หรือสุรา
ใบสด สำหรับคน 10-12 ใบ , สำหรับวัวและควาย 20-30 ใบ นำใบสดมาตำผสมกับน้ำซาวข้าวครึ่งแก้ว คั้นเอาแต่น้ำดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ อาจให้ดื่มซ้ำได้อีกใน 1/2 - 1 ชั่วโมงต่อมา
รากสด สำหรับคน 1-2 องคุลี , สำหรับวัวและควาย 2-4 องคุลี นำรากมาฝนหรือตำกับน้ำซาวข้าว แล้วดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ อาจให้ดื่มซ้ำได้อีกใน 1/2 - 1 ชั่วโมงต่อมา