• Welcome to งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนวารินชำราบ สพม. อบอจ..
 

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนวารินชำราบ

Main Menu
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - วันวิสา ทนหล้า

#1
ไม้เลื้อย / กระเช้าถุงทอง รหัส 7-34190-001-230
22 มิถุนายน 2013, 11:19:53 ก่อนเที่ยง
กระเช้าถุงทอง รหัส 7-34190-001-230   
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aristolochia pothieri   Pierre ex Lec.
ชื่อวงศ์ ARISTOLOCHIACEAE
ลักษณะไม้เถาเลื้อย ลำต้นมีขนประปราย ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าลึกเล็กน้อย เป็น 3 แฉก กว้าง 12-14 ซม. ยาว 11-12 ซม. ฐานใบเว้าลึกรูปหัวใจ ปลายใบแหลม มีขนกระจายทั้งสองด้าน เส้นใบออกจากโคนใบ มี 3 เส้น ก้านใบยาว 3.5-5 ซม. ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบ มี 8-20 ดอก ช่อดอกยาว 6 ซม. ดอกเดี่ยว สีเขียวแกมน้ำตาลแดงหรือม่วงน้ำตาล ยาวประมาณ 3-4 ซม. รูปร่างคล้ายหลอดยาว โคนเป็นกระเปาะ ส่วนปลายแผ่แบน ด้านนอกมีขนสั้นๆ ผลเมื่ออ่อนรูปไข่ เมื่อแก่จะแห้งแตกได้ ลักษณะเป็นกระเช้า
ประโยชน์หัวใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบางๆ ต้มน้ำดื่ม เชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะและคงกระพัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และเพื่อเป็นอาหารสำรหับตัวอ่อนของผีเสื้อ
การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยาพบขึ้นกระจายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีการกระจายตั้งแต่ภาคเหนือลงมาจนถึงภาคใต้ตอนบน พบได้ตามป่าผลัดใบ ชายป่าดิบและทุ่งหญ้า และบริเวณเขาหินปูน ที่ความสูง 100-400 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ข้อมูลจากเอกสาร :หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2
ประโยชน์ : หัวใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบาง ๆ ต้มน้ำดื่ม เป็นยาอายุวัฒนะและคงกระพัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและเพื่อเป็นอาหาร สำหรับตัวอ่อนของผีเสื้อ


#2
ไม้ต้น / ขี้เหล็กโคก รหัส 7-34190-001-229
22 มิถุนายน 2013, 11:11:41 ก่อนเที่ยง
ขี้เหล็กโคก  รหัส 7-34190-001-229   

ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna garrettiana (Craib) lrwin & Barneby
ชื่อพื้นเมือง ขี้เหล็กสาร (นครราชสีมา, ปราจีนบุรี); กราบบัด, กะบัด (ชาวบน –
นครราชสีมา); ขี้เหล็กโคก, ขี้เหล็กแพะ (ภาคเหนือ); ขี้เหล็กป่า
(ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ไงซาน (เขมร สุรินทร์);
แสมสาร (ภาคกลาง)
ชื่อวงศ์ CAESALPINIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น แสมสารเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูงถึง 10 เมตร เปลือกสีน้ำตาลดำ ลำต้นขุรขระ แตกเป็นร่องลึกเรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ
ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายใบคู่ มีใบย่อย 6 – 9 คู่ รูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบและก้านสีเขียว
ดอก ดอกออกเป็นช่อ แยกแขนงตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยง มี 5 กลีบ ออกดอกเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม
ผล ผลเป็นฝักแบน และบิดมีสัน สีเขียว ผิวเรียบ เมื่อฝักแก่ฝักมักจะบิดงอ เมล็ดมีประมาณ 20 เมล็ด สีน้ำตาล ออกผลเดือนสิงหาคม – ตุลาคม
แหล่งที่พบ ป่าเต็งรัง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชอบแสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย
ฤดูกาลใช้ประโยชน์
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน และดอกนำมาต้ม รินน้ำทิ้ง 2 – 3 ครั้ง นำมา แกง เช่นเดียวกับขี้เหล็กบ้าน
รส ขม

#3
ไม้เลื้อย / ไมยราบ รหัส 7-34190-001-228
22 มิถุนายน 2013, 09:59:01 ก่อนเที่ยง
ไมยราบ รหัส 7-34190-001-228

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimosa diplotricha C.Wright ex Sauvalle
ชื่ออื่น  กระทืบยอด กะเสดโคก    หญ้าปันยอด หญ้างับ
ชื่อสามัญ sensitive plant, sleeping grass, shameplant
วงศ์    MIMOSACEAE             
ระดับความเสียหาย   ปานกลาง
ชีววิทยาไมยราบเป็นวัชพืชประเภทใบกว้าง อายุหลายปี แผ่กิ่งก้านไปตามพื้น ลำต้นและก้านใบสีแดง มีหนามสั้น ๆ ทั่วไป และมีหนามใหญ่ตามข้อ ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 2 คู่ ขนาดเล็กมาก ไวต่อการสัมผัสและ หุบลงหากถูกสัมผัสหรือสั่นสะเทือน ช่อดอกกลมฟู สีม่วง ผลเป็นฝักแบนโค้งเล็กน้อย ปลายมีหนามแหลม เมล็ดกลมแบน มักพบตามสนามหญ้าและที่รกร้างทั่วไป
ลักษณะของความเสียหายแก่งแย่งธาตุอาหารและ น้ำกับพืชปลูก
แหล่งอาศัยของศัตรูพืช   --
การแพร่กระจาย พบขึ้นทั่วไป ในสภาพดินชื้น แพร่กระ จายในแหล่งปลูกพืชยืนต้นและที่รกร้างว่างเปล่า
การป้องกันกำจัด
1.ใช้แรงงานถอนหรือตายออกเมื่อยังเป็นต้นอ่อน
2.ใช้สารกำจัดวัชพืช พ่นพาราควอต หรือกลูโฟสิเนต แอมโมเนียม อัตรา 80 และ 160 กรัม สารออกฤทธิ์ ต่อไร่ตามลำดับ ในระยะวัชพืชกำลังเจริญเติบโตหรือ ก่อนออกดอกผลิตเมล็ด
ประโยชน์ แม้จะเป็นพืชที่มีการแพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็ว และกำจัดค่อนข้างยาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา แต่ก็ยังมีประโยชน์ทางสมุนไพร สามารถนำทุกส่วนมาหั่นแล้วคั่ว โดยใช้ไฟอ่อนๆ จนมีกลิ่นหอม แล้วนำไปชงน้ำดื่มแทนชา ช่วยลดคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือดได้
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับโรคงูสวัด เริม
   1.  ฤทธิ์ต้านเริม
   สารสกัดทั้งต้นของไมยราบด้วย 80% เอทานอล ทำการทดลองใน cell culture (ไม่บอกขนาดที่ใช้) พบว่าผลการทดลองได้ผลไม่แน่นอนต่อการต้านเชื้อไวรัสเริม Herpes simplex type I (1)
   2.  ฤทธิ์ลดการอักเสบ
   มีการศึกษาในคนทั้งเพศชาย-หญิง โดยให้รับประทานยาตำรับซึ่งมีสารสกัดใบไมยราบหรือสวนทางทวารหนัก พบว่าสามารถลดการอักเสบได้ (2)
หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
   สารสกัดทั้งต้นด้วยเอทานอล:น้ำ (1:1) เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 1 ก./กก. (3)
ข้อมูลด้านการรักษาเริมไม่แน่ชัด และฤทธิ์ลดการอักเสบเป็นการศึกษาทั้งตำรับ จึงไม่ควรนำไปใช้รักษาเริม



#4
ไม้ล้มลุก / ตีนตุ๊กแก รหัส 7-34190-001-227
22 มิถุนายน 2013, 09:52:30 ก่อนเที่ยง
ตีนตุ๊กแก รหัส 7-34190-001-227 

ชื่ออื่นๆ  ผักเสี้ยน  ผักเสี้ยนผี
ชื่อสามัญ Coatbuttons, Mexican daisy
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tridax procumbens L.
วงศ์   ASTERACEAE
ลักษณะพฤกษศาสตร์  เป็นพืชล้มลุก  ทอดเลื้อยชูยอดเหนือดิน  สูงประมาณ 30 เซนติเมตร  ทุกส่วนของพืชมีขนละเอียดสีขาวเกาะติดหนาแน่น ลำต้นกลมสีเขียวเหลืองเปราะหักง่าย การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบตรงข้าม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปใบหอก  ปลายใบแหลมโคนมน  ขอบใบเป็นจัก  ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ  ก้านช่อดอกยาวมาก  อาจยาวถึง  20  เซนติเมตร  ดอกเพศเมียอยู่รอบนอก  มีสีขาวแผ่เป็นกลีบกว้างปลายแยกเป็นสามแฉก ส่วนในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกย่อยแต่ละดอกกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด มีเกสรเพศผู้สีเหลือง 5 อัน  เกสรเพศเมีย 1 อัน  ผลมีขนสีน้ำตาลปกคลุม  เมล็ดรูปเข็มสีน้ำตาลดำมีปุยขน
การป้องกันและกำจัด
ใช้วิธีการเขตกรรม เช่น ถาก ตัด ให้สั้นไม่ให้ออกดอก หรือขุดทิ้ง
ใช้สารเคมีต่างๆ  เช่น  มาร์เก็ต (ไกลโฟเซต)  ดาร์ไฟท์ (ไกลโฟเซต, ไอโซโพฟิลามีน ซอลต์)  ดามาร์ค (ไกลโฟเลท)  ทัชดาวน์ (ไกลโฟเซต, ไตรมีเซียมซอลต์)

   
#5
ไม้ล้มลุก / น้ำนมราชสีห์ รหัส 7-34190-001-226
22 มิถุนายน 2013, 09:48:20 ก่อนเที่ยง
น้ำนมราชสีห์ รหัส 7-34190-001-226
ชื่ออื่นๆ นมราชสีห์  ผักโขมแดง  หญ้าน้ำหมึก
ชื่อสามัญ Garden spurge, Asthma weed, Snake weed
ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphobia hirta Linn.
วงศ์  EUPHORBIACEAE                   
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีขนสีน้ำตาลปนเหลือง ใบ ใบเรียงตรงข้าม ใบเดี่ยว รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบหยักฟันเลื่อย ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ดอก ดอกช่อออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศ ไม่มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยง ใบประดับเป็นรูปถ้วยสีเขียว เกสรตัวผู้มี 5 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน รังไข่รูปกลมแกมสามเหลี่ยม มีท่อรังไข่ 3 อัน ผล ผลแห้งแตกได้ 3 พู ผลกลม
ส่วนที่ใช้ :  ใช้ทั้งต้น เก็บในฤดูร้อนล้างให้สะอาดตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้หรือใช้สด, ยาง
สรรพคุณ :
    ทั้งต้น  รสฉุน เปรี้ยว เย็นจัด ใช้ดับร้อน แก้พิษ ขับน้ำนม แก้ชื้น ผดผื่นคัน ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน บิดจากแบคทีเรีย หนองใน สัสสาวะเป็นเลือด ฝีในปอด ฝีที่เต้านม ฝีพิษบวมแดง ขาเป็นกลาก เน่าเปื่อย
    ยาง  ใช้กัดหูด ตาปลา






   
[/font]