น.อ.ธนพล ปิยะอิสรากุล

ปัจจุบันการเดินทางโดยเครื่องบน (ทางอากาศ) เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมากมายขึ้น มีประชาชนจำนวนมากใช้บริการการเดินทางทางอากาศมากขึ้นทุก ๆ ปี และพบปัญหาเรื่องของความเจ็บป่วยของผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น แต่สภาพแวดล้อมในการเดินทางทางอากาศมีความแตกต่างจากสภาพแวดล้อมบนพื้นโลกปกติ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในระบบสระระวิทยาของร่างกายดังต่อไปนี้

1. ภาวะพร่องก๊าซออกซิเจน (HYPOXIA) เมื่อขึ้นสู่ที่สูงความหนาแน่นของอากาศจะลดลง ทำให้ปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจลดลงไปด้วย ทำให้ร่างกายได้ก๊าซออกซิเจนในการหายใจลดลงด้วย แต่เครื่องบนพาณิชย์จะทำการปรับความกดดันบรรยากาศของห้อง ผู้โดยสารให้อยู่ในระดับความสูง 5,000-8,000 ฟุต ในขณะที่ระดับความสูงภายนอกอยู่ที่ 30,0000 ฟุต ในภาวะนี้ ความกดดันของก๊าซออกซิเจนในห้องผู้โดยสารลดลงเหลือประมาณ 85% ของภาวะปกติ ซึ่งปริมาณก๊าซออกซิเจนในระดับนี้ ไม่มีอันตรายใด ๆ ต่อสุขภาพของผู้ที่มีสุขภาพปกติ แต่ในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพร่างกายที่มีความไวต่อการขาดก๊าซออกซิเชนอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคโลหิตจาง หรือโรคลมชัก เป็นต้น
2. ความเปลี่ยนแปลงความกดดันบรรยากาศ (BAROMETRIC PRESSURE CHANGE) ขณะทำการบินสูงขึ้นไป ความกดดันบรรยากาศจะลดลง และเมื่อทำการบินลงความกดดดันของบรรยากาศจะเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีผลต่อสรีรวิทยาที่สำคัญคือก๊าซ ซึ่งขังอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (TRAPPED GAS) ได้แก่ก๊าซที่อยู่ตามโพรงหรือช่องตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ช่องหูชั้นกลางโพรงไซนัส โพรงรากฟัน ปอด กระเพาะอาหารและลำไส้ ก๊าซดังกล่าวจะขยายตัวเมื่อบินสูงขึ้นไป เนื่องจากความกดดันบรรยากาศลดลง อาจทำให้เกิดแรงดันหรือเบียบอวัยวะส่วนนั้น ๆ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดหู ปวดไซนัส แน่นหน้าอก แน่นท้อง และเมื่อทำการบินลงก๊าซจะหดตัวลง เนื่องจากความกดดันบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น และมีผลต่อหูชั้นกลางอย่างมาก เพราะโดยธรรมชาติแล้ว อากาศสามารถผ่านจากหูชันกลางสู่ภายนอกได้ง่ายกว่าเข้าสู่หูชั้นกลาง ขณะทำการบินลงอากาศหดตัวต้องการอากาศภายนอกเข้าไปแทนที่ได้ยากกว่า ทำให้เกิดอาการปวดหูได้มากกว่า โดยเฉพาะถ้าผู้นั้นป่วยด้วยไข้หวัดหรือภูมิแพ้ จะทำให้ท่อ EUSTACHAIN TUBE ซึ่งต่อต่อหูชั้นกลางกับลำคอส่วนบนจะบวมและตีบตันทำให้การถ่ายเทอากาศ ได้ลำบากมากขึ้นทำให้อาการปวดหูมากกว่าปกติ
3. ผลจากความชื้นของอากาศลดลง (LOW HUMIDITY) ถึงแม้ว่าจะมีการปรับบรรยากาศในห้องโดยสารให้มีความกดดัน และอุณหภูมิพอเหมาะในการบิน แต่ความชื้นก็ลดลงเหลือเพียง 10% หรือน้อยกว่า ดังนั้นร่างกายมีโอกาสสูญเสียน้ำจำนวนมาก ในกรณีทำการบินนาน ๆ จะเกิดอาการผิวแห้ง ตาแห้ง ไอ อ่อนเพลีย ด้วยเหตุนี้จึงมีคำแนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อย 250-500 ซี.ซี เพื่อทดแทนการระเหยไปของน้ำในร่างกาย หากต้องเดินทางโดยเครื่องบนเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยเฉพาะในเด็กมีผลการขาดน้ำได้มากกว่าผู้ใหญ่
4. ผลจากการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง (LOW MOTILITY) เนื่องจากต้องอยู่กับที่เป็นเวลานาน ทำให้เลือดไปคั่งอยู่ส่วนของร่างกายส่วนที่อยู่ต่ำคือ ขา และเท้าประกอบกับมีการเคลื่อนไหวน้อย ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อที่มีส่วนช่วยในการไหลเวียนของเลือด กลับสู่หัวใจทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดอาการขาบวม เท้าบวม หรือหลอดเลือดดำโป่งพอง จนอักเสบได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดดำอักเสบ หรือโป่งพองอยู่ก่อนกล้ว จึงควรมีข้อแนะนำให้ผู้ป่วยเหล่านี้เคลื่อนไหวหรือออกกำลังขาบ่อย ๆ ในขณะนั่งโดยสารอยู่เป็นเวลานาน ๆ การสวมถุงน่องรัดขาก็มีส่วนช่วยบรรเทาอาการได้อย่างดี
5. ผลจากการเคลื่อนไหวของอากาศยาน มีการกระตุ้นอวัยวะรับรู้การทรงตัว (VESTIBULAR ORGAN) เกิดอาการเมาอากาศได้ เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวควรรับประทานยาแก้เมาอากาศ เช่น DIMENHYDRINATE (DRAMAMINE) ก่อนทำการบินประมาณ 1 ชั่วโมง พยายามเลือกที่นั่งตอนกลางลำตัวเครื่องบิน ซึ่งเป็นบริเวณสั่นสะเทือนน้อยที่สุด
6. ผลจากการเปลี่ยนแปลงเวลาและสถานที่ (JET LAG) ปัจจุบันเราสามารถเดินทางจากต้นทางไปสู่จุดหมายปลายทางด้วยความเร็วสูง และได้ระยะทางไกลขึ้น ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของเวลาที่แตกต่างจากเวลาต้นทาง ถ้าเดินทางไปทางทิศตะวันออก เวลาที่ปลายทางจะเร็วกว่าเวลาที่ต้นทาง ถ้าเดินทางไปทางทิศตะวันตก เวลาที่ปลายทางจะช้ากว่าเวลาที่ต้นทาง จึงต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ และเวลาใหม่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หรืออารมณ์แปรปรวน

จากเหตุและปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ในการเดินทางทางอากาศควรมีข้อพิจารณาทางการแพทย์ของผู้โดยสารดังต่อไปนี้

ผู้ป่วยโรคหัวใจ

ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด (CORONARY HEART DISEASE) หรือ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว (CONGESTIVE HEART FAILURE) ควรรอให้อาการดีขึ้นก่อนเช่นไม่มีอาการเจ็บหน้าอก ไม่มีอาการหอบเหนื่อย หรือไม่มีหัวใจเต้นผิดปกติ โดยทั่วไปแล้วควรรออย่างน้อย 6 อาทิพตย์หลังมีอาการ หรือหลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจวายแบบเฉียบพลัน (ACUTE MYOCARDIAL INFARCTION) แต่ถ้าจำเป็นสามารถเดินางหลังจากมีอาการ 2-3 อาทิตย์ได้ แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และต้องแจ้งสายการบินเพื่อ เตรียมก๊าซออกซิเจนและเครื่องมือให้ครบครันไว้ในกรณีจำเป็น
ผู้ป่วยที่ผ่าตัดต่อเส้นเลือกเลี้ยงหัวใจ (CORONARY ARTERYBYPASS) ไม่ควรเดินทางภายใน 2 อาทิตย์ ภายหลังผ่าตัดเพื่อรอให้อากาศที่อยู่ในโพรงช่องหน้าอกขณะผ่าตัดถูกดูดซึมไปหมดก่อน ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจในการเดินทางทางอากาศคือควรมียาโรคหัวใจพร้อม และเพียงพอในการเดินทาง และต้องอยู่ในกระเป๋าที่ถือขึ้นเครื่องด้วย ทั้งนี้ควรมีรายละอียดและวิธีใช้ของยาแต่ละตัวแยกไว้ต่างหากเพื่อเก็บไว้สำรองใช้ ในกรณียาที่มีอยู่สูญหาย
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถเดินทางทางอากาศได้แต่ควรควบคุมและรักษาความดันโลหิตสูงก่อน และควรจัดยาให้เหมาะสมกับการเดินทาง และเวลาที่เปลี่ยนไปด้วย
ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดดำที่ขาอุดตัน มักจะมีปัญหาที่เรียกว่ากลุ่มอาการที่นั่งผู้โดยสารชั้นประหยัด (ECONOMY CLASS SYNDROME) ซึ่งเกิดจากพื้นฐานของที่นั่งชั้นประหยัดที่คับแคบ และมีการจำกัดการเคลื่อนไหว ถูกบังคับให้นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ ทำให้มีการไหลเวียนของเลือดจากขากลับสู่หัวใจได้ลำบากขึ้นทำให้เกิดอาการบวมของเท้าและขาได้ หรือทำให้เกิดอาการเส้นเลือดดำที่ขาอุดตันได้

ข้อแนะนำสำหรับผู้โดยสารที่ต้องเดินทางทางอากาศเป็นเวลานานควรปฏิบัติดังนี้คือ
ควรเอากระเป๋าวางไว้ที่วางใต้ที่นั่งข้างหน้า เพราะทำให้มีการเคลื่อนไหวได้น้อยลง

2. ควรใส่รองเท้าที่สบาย ไม่คับ หรือถอดรองเท้าในขณะเดินทา
3. ขยับขาบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น หรือลุกมาเดินในห้องโดยสารทุก ๆ ชั่วโมง
4. ไม่ควรนอนหลับในท่าที่ส่วนขาของร่างกายถูกกด หรือใช้ยานอนหลับ เพราะจะทำให้หลับลึก และไม่รู้สึกเวลาถูกกดทับเป็นเวลานาน ๆ
5. ดื่มน้ำให้เพียงพอก่อนขึ้นบิน และขณะระหว่างบิน ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในกรณีที่ต้องบินนาน ๆ เพราะทำให้ปัสสาวะบ่อยและเส้นเลือดขยายตัวซึ่งเป็นสาเหตุส่งเสริมการเกิดเส้นเลือดที่ขาอุดตันได้

ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ

โรคหอบหืด (ASTHMA) พวกที่มีอาการยังไม่คงที่ รุนแรง และเพิ่งออกจากโรงพยาบาลไม่สมควรเดินทางแต่ในพวกที่มีอาการน้อยควรจะต้องมียาติดตัวขึ้นเครื่องไปด้วยโดยเฉพาะยาชนิดพ่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรง (CHRONIC OBSTRUCTIVE PULMONARY DISEASE) พวกนี้จะเป็นพวกมีปัญหาต่อภาวะพร่องก๊าซออกซิเจนในการเดินทางได้มากที่สุด ขึ้นอยู่กับระดับความกดดันของก๊าซออกซิเจนในปอดก่อนทำการบินหลักเกณฑ์ง่าย ๆ คือไม่มีอาการหอบเหนื่อย หรือหายใจตื้นก็สามารถทำการบินได้
โรคมีลมคั่งในช่องปอด (PNEUMOTHORAX) ไม่สามารถทำการบินได้ นอกจากใส่ท่อระบายลมออกจากปอดก่อน หรือถ้าถอดท่อออกแล้วควรรอให้ปอดขยายตัวเต็มที่อย่างน้อยเป็นเวลา 4 วัน ก่อนเดินทา
โรคติดเชื้อ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อร้ายแรง อาจกระจายไปสู่ผู้โดยสารอื่นได้หรือมีอาการเป็นที่น่ารังเกียจของผู้อื่น ไม่ควรเดินทางโดยทางเครื่องบิน เนื่องจากทำให้โรคแพร่กระจายไปสู่สถานีปลายทาง และยากต่อการควบคุม
เด็กและทารก ควรรอให้เด็กทารกมีอายุเกิน 1 อาทิตย์ ก่อนที่จะโดยสารทางเครื่องบิน เพื่อให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง และปราศจากภาวะอันตรายหลังคลอดเด็กมักจะร้องในช่วงเวลาบินลง เนื่องจากหูชั้นกลางปรับสมดุลของอากาศได้ไม่ดีควรแนะนำให้เด็กดูดขวดนม เพื่อให้สามารถปรับสมดุลของอากาศได้
ภาวะตั้งครรภ์ การโดยสารทางเครื่องบินไม่มีอันตรายต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ แต่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่กล่าวมาแล้ว อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดขึ้นไป ซึ่งนำมาต่อการเสี่ยงในความปลอดภัยของมารดาและทารกหลังคลอด หากการคลอดที่เกิดบนเครื่องบนที่ไม่มีความพร้อมของเจ้าหน้าที่ และเครื่องมือ ดังนั้นในสตรีที่มีอายุครรภ์เกินกว่า 36 อาทิตย์ หรืออยู่ในช่วง 4 อาทิตย์ก่อนครบกำหนดคลอด จึงไม่ควรเดินทางโดยเครื่องบิน ยกเว้นจะเป็นการเดินทางในประเทศระยะสั้น 1-2 ชั่วโมง และไม่มีอาการผิดปกติ หรือมีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์มาก่อนเท่านั้น
โรคทางระบบสมอง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองผิดปกติ (CEREBROVASCULAR DISEASE) ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับเซลล์สมองได้รับก๊าซออกซิเจนน้อยอยู่แล้ว เมื่อมาประสบภาวะพร่องก๊าซออกซิเจนจากการโดยสารเครื่องบินเพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นผู้ป่วยควรจะรอให้อาการทางสมองหายเป็นปกติ หรือมีอาการคงที่อย่างน้อย 2 อาทิตย์ก่อนการเดินทา
ผู้ป่วยโรคลมชักหรือผู้ป่วยหลังการผ่าตัดสมอง มีโอกาสจะชักได้ง่ายจากภาวะพร่องก๊าซออกซิเจนมีอาการเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย วิตกกังวล ภาวะการเปลี่ยนแปลงของเวลา และหากมีการใช้ยากันชักไม่ต่อเนื่องในกรณีนี้ควรแนะนำให้เพิ่มขนาดของยากันชักให้สูงกว่าปกติเพื่อป้องกันอาการชัดที่อาจจะเกิดขึ้น
โรคระบบทางเดินอาหาร ต้องควรระวังเกี่ยวกับภาวะขยายตัวของก๊าซที่ขังอยู่ในทางเดินอาหาร ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีการผ่าตัดในช่องท้องควรรอเวลาให้ก๊าซในช่องท้องถูกดูดซึมหมดก่อน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ สำหรับผู้ป่วยที่มีการนำลำไส้ใหญ่มาเปิดที่หน้าท้อง (COLOSTOMY) ควรเตรียมนำถุง COLOSTOMY BAG สำหรับเปลี่ยนในระหว่างการเดินทางไปให้มากกว่าปกติในผู้ป่วยที่มีการเสียเลือด จากแผลในกระเพาะอาหาร ควรรอให้เลือดหยุดก่อนเป็นเวลา 3 อาทตย์ และมีระดับความเข้มข้นของ เฮโมโกลบิน (HEMOGLOBIN) มากกว่า 10 กรัม/เดซิลิตร ก่อนการเดินทา
ภาวะโลหิตจาง จะเสี่ยงอันตรายจากภาวะพร่องก๊าซออกซิเจนจากการเดินทางทางเครื่องบินทำให้มีอาการมากขึ้น ดังนั้นในกรณีที่มีความเข้มข้มของเฮโมโกลบินต่ำกว่า 10 กรัม/เดซิลิตร ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษและถ้าค่าเฮโมโกลบินน้อยกว่า 7.5 กรัม/เดซิลิตร ก็ไม่ควรโดยสารทางอากาศ
โรคเบาหวาน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเวลาเนื่องจากการเดินทาง (JETLAG) ทำให้เกิดความสับสนในการรับประทานอาหารและยารักษาเบาหวานแต่อย่างแรกที่ควรทำ คือติดต่อสายการบินเพื่อขอให้จัดเตรียมอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และควรนำยารักษาเบาหวานติดตัวขึ้นเครื่องบินไปด้วยทั้งชนิดยาฉีดพร้อมอุปกรณ์และชนิดยากิน ข้อแนะนำเบื้องต้นคือให้รักษาเวลาในการรับประทานอหารและาโดยใช้เวลาของสถานีต้นทางแล้วค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเวลาใหม่
ภาวะทางจิตเวช ผู้ป่วยทางจิตเวชต้องได้รับคำรับรองจากแพทย์ผู้รักษาว่าอาการสงบและมีความปลอดภัยในการเดินทาง จำเป็นต้องมีผู้ติดตามหรือไม่ บางครั้งเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเองและของผู้โดยสารอื่น ๆ อาจจำเป็นต้องให้ยาระงับประสาทหรือยานอนหลับแก่ผู้ป่วยก่อนการเดินทา
กรณีอื่น ๆ เช่นผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดหรือบรรจุลมเข้าไปในร่างกายเพื่อตรวจวินิจฉัย เช่น การฉีดลมเข้าในไขสันหลัง ช่องท้องหรือท่อรังไข่ ควรรอให้ลมเหล่านี้ถูกดูดซึมหมดก่อนการเดินทาง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์
เกณฑ์พิจารณาผู้ป่วยเพื่อการเดินทางอากาศที่กล่าวมาแล้ว เป็นเพียงแนวทางเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางเท่านั้น แต่ยังมีข้อพิจารณาปลีกย่อยอีกมากมาย ซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล และตามสถานการณ์ ซึ่งถ้ามีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถสอบถามจากแพทย์เวชศาสตร์การบินตามที่อยู่ดังนี้

สถาบันเวชศาสตร์การบิน
กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ
171 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน บางเขน กทม. 10220


กลับ<wbr>หน้า<WBR>สารบัญ<WBR><WBR>