โรคเท้าปุก

นาวาอากาศเอก นายแพทย์ อำนวย จิระสิริกุล
กองออร์โธปิดิกส์ รพ. ภูมิพลอดุลยเดช พอ.บนอ.
โรคเท้าปุกคือ?
โรคเท้าปุกเป็นความผิดปกติของเท้าที่เป็นตั้งแต่กำหนดประเภทหนึ่ง โดยมีลักษณะความผิดรูปแบบข้อเท้าจิกลงล่าง บิดเข้าใน และฝ่าเท้าหงายขึ้น ทำให้มีรูปร่างเหมือนไม้กอล์ฟ อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้

สาเหตุของโรคเท้าปุก?

สาเหตุของโรคเท้าปุกยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีองค์ประกอบของสาเหตุหลาย ๆ อย่างรวมกัน อันได้แก่ สิ่งแวดล้อมในครรภ์มารดาซึ่งมีผลต่อท่าของเท้าในขณะที่อยู่ในมดลูก, กรรมพันธุ์, กระดูกเท้าถูกสร้างมาผิดรูป, กล้ามเนื้อควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้า และเท้าไม่สมดุลกัน

อุบัติการของโรคเท้าปุก?

โรคเท้าปุกเกิดขึ้นเป็น 1 ใน 1,000 ราย ของเด็กทารกที่คลอดใหม่ (สถิติในสหรัฐอเมริกา) ในประเทศไทยพบว่าบ่อยกว่านี้ เด็กผู้ชายเป็นโรคนี้น้อยกว่าเด็กผู้หญิงพบเป็นสองข้างมากพอ ๆ กับเป็นข้างเดียว

การรักษาโรคเท้าปุก

โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ ยิ่งรักษาเร็วเท่าไรยิ่งได้ผลดี การรักษาในเด็กแรกคลอด คือ การดัดเท้าให้กลับคืนสู่รูปร่างที่ปกติและควบคุมด้วยเผือก ทำการดัดและเปลี่ยนเฝือกทุก ๆ สัปดาห์จนได้รูปร่างที่ปกติแล้วตามด้วยการใส่รองเท้าพิเศษตลอดเวลาอีก 2 เดือน และใส่เฉพาะเวลากลางคืนจนอายุ 4-5 ขวบ วิธีการนี้อาจต้องมีการดัดเอ็นร้อยหวายร่วมด้วย เพื่อให้เท้ามีรูปร่างที่ปกติอย่างสมบูรณ์ การรักษาด้วยการดัดเท้าร่วมกับการเข้าเฝือกนี้ถ้าทำตั้งแต่เด็ดคลอดใหม่จะได้ผลดีถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีรูปร่างเท้ายังไม่ปกติ (โดยทั่วไปมักจะดีขึ้นกว่าตอนแรกคลอดมาก) ก็จะต้องรับการผ่าดัดรักษาตามด้วยการเข้าเฝือกและการใส่รองเท้าพิเศษ

สรุป

โรคเท้าปุก เป็นความผิดรูปของเท้าที่เป็นตั้งแต่กำหนด ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเด็กจะเดินด้วยหลังเท้า มีขาลีบและยาวไม่เท่ากัน นำมาซึ่งความพิการที่ทุกข์ทรมาน และเป็นปมด้อยกับเด็กไปตลอดชีวิต


กลับ<wbr>หน้า<WBR>สารบัญ<WBR><WBR>