ข้อแนะนำสำหรับผู้บ่วยที่ใช้เคมีบำบัด

น.อ. ประโพธ เกาสายพันธ์ ร.น.
รองผอ.กวภ.พร.กรมแพทย์ทหารเรือ

เคมีบำบัดคืออะไร (Chemotheoapy)
เคมีบำบัดคือ การใช้ยาเพื่อรักษาโรค ซึ่งมาจากคำ 2 คำ มารวมกันคือคำว่าเคมี (Chemical) และบำบัด (Therapy) หรือรักษา (Treatment) ปัจจุบันเคมีบำบัดใช้สำหรับยารักษาโรคมะเร็ง
เซลล์มะเร็งเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ เพราะไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโต ซึ่งต่างจากเซลล์ปกติที่มีการแบ่งตัว และเจริญเติบโตเมื่อร่างกายสั่ง เคมีบำบัดทำงานโดยเข้าไปขัดขวางการเจริญเติบโต หรือการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งให้ช้าลงและทำลายเซลล์มะเร็งที่กำลังแบ่งตัว
เซลล์ปกติที่กำลังเจริญเติบโต หรือกำลังแบ่งตัวจะถูกผลกระทบจากเคมีบำบัด เช่น ไขกระดูกซึ่งมีหน้าที่ผลิตเซลล์เลือดแดง เซลล์บุผนังทางเดินอาหาร (ปาก, คอ, กระเพาะอาหาร, ลำไล้เล็ก) และรากผม ผลกระทบของเคมีบำบัดต่อเซลล์ปกติคือ อาการข้างเคียงของการใช้เคมีบำบัด เช่น โลหิตจาง, คลื่นไส้อาเจียน, ผมร่วง อย่างไรก็ตาม แพทย์ได้ตระหนักถึงอาการข้างเคียงเหล่านี้ และสามารถทำให้ลดน้อยลง หรือป้องกันได้ด้วยการเสริมการบำบัดชนิดอื่นที่เหมาะสม

วิธีให้เคมีบำบัด

แพทย์จะสั่งใช้ยารักษาโรคมะเร็งชนิดใดขึ้นอยู่กับชนิด และตำแหน่งของมะเร็งและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ปัจจุบันการใช้ยารักษาโรคมะเร็งร่วมกันหลายชนิด จะให้ผลที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ยาชนิดเดียวกัน
การให้ยารักษาโรคมะเร็งมีหลายวิธี ยามีทั้งชนิดน้ำ ชนิดเม็ด ชนิดฉีด ยารักษาโรคมะเร็งเวลาใช้ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดมากไปกว่ายาที่ใช้รักษาโรคทั่ว ๆ ไป

ยาชนิดรับประทาน

เคมีบำบัดชนิดรับประทานมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพราะเป็นวิธีให้ยาผู้ป่วยที่สะดวกที่สุด เมื่อกลีนยาลงไปจะถูกดูดซึม เข้าสู่กระแสเลือดทางเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร และเยื่อบุผนังลำไส้เล็ก ยาบางชนิดไม่สามารถให้ทางวิธีนี้ได้เพราะอาจทำลายเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ด้วยวิะนี้ยาบางชนิดสามารถให้ได้โดยวิธีฉีดเท่านั้น

ยาฉีดชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ยาบางชนิด มีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อถูกปล่อยอย่างช้าเข้าสู่กระแสเลือด ยาชนิดนี้จะถูกฉีดเข้ากล้ามเนื้อมากกว่าฉีดเข้าหลอดเลือกโดยตรง

ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือผสมกับของเหลวอื่นที่ให้ทางหลอดเลือดดำ

ยาที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือทำลายเนื้อเยื่อ จะถูกฉีดเข้าหลอดเลือดดำและกระแสเลือดโดยตรง ดังนั้นกระแสเลือดจะทำให้ยาเจือจางอย่างรวดเร็วและเริ่งทำงานได้ทันที

การรักษาที่บ้าน

การให้เคมีบำบัดแก่ผู้ป่วยนอก ไม่จำเป็นต้องพักที่โรงพยาบาลผู้ป่วยสามารถรับประทานยาเองได้ สำหรับยาฉีดต้องให้แพทย์หรือพยาบาลเป็นผู้ให้ที่คลีนิกหรือที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องไปฉีดที่โรงพยาบาล
เคมีบำบัดชนิดรับประทานสะดวกที่สุด เพราะผู้ป่วยรับประทานเองได้ เมื่อรับประทานยาเองที่บ้านคำแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับใช้ยาและเวลา ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ยารับประทานอาจจะผสมน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่ม เพื่อให้รสชาติดีขึ้น ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์

อาหารและกิจวัตรประจำวัน

อาหาร
การรักษาสมดุลของอาหารเป็นสิ่งสำคัญ การบำรุงด้วยอาหารที่ดีช่วยให้ผู้ป่วยต่อสู้กับโรคต่าง ๆ ได้ อธิบายอาหารประจำวันแก่แพทย์ ซึ่งแพทย์อาจมีข้อแนะนำให้ปรับปรุงเกี่ยวกับอาหารประจำวันเพื่อให้ได้สารอาหารแบบสมบูรณ์
ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดอาจมีความอยากรับประทานอาหารน้อยกว่าปกติ ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารแต่น้อยวันละ 5-6 ครั้ง แทนที่จะรับประทานวันละ 3 มื้อ มื้อละมาก ๆ ยาต้านมะเร็งบางครั้งมีผลทำให้รสชาติของอาหารเปลี่ยนแปลง มีรายงานว่าผู้ป่วยจำนวนมาก ความอยากรับประทานอาหารเนื้อสัตว์สีแดงหายไป เพราะว่าเคมีบำบัดทำให้รสชาติของอาหารขม เราอาจทำให้รสชาติของอาหารดีขึ้น โดยใช้ซอสถั่วเหลือง หรือน้ำผลไม้ช่วยในการปรุงอาหาร ภาชนะโลหะ ซึ่งสามารถทำให้รสชาติของอาหารขม ใช้ภาชนะพลาสติก สามารถลดความขมลงได้
ยาต้านมะเร็งบางชนิดมีผลกระทบต่อกระเพาะปัสสาวะและไต อาจต้องรับประทานน้ำหรือของเหลวเพิ่ม ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ ควรตระหนักว่าแอลกอฮอล์เป็นยาชนิดหนึ่ง ปรึกษาแพทย์ว่าแอลกอฮอล์แทรกแซงยาต้านมะเร็งหรือไม่ อาจต้องจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ ระหว่างได้รับเคมีบำบัดอยู่ ปรึกษากับแพทย์ถึงการเปลี่ยนแปลงความอยากอาหารหรือนิสัยของการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยและแพทย์ต้องร่วมมือกัน เพื่อให้ได้รายการอาหารที่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ และผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้

กิจวัตรประจำวัน
ให้ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ นอกจากแพทย์แนะนำเป็นอย่างอื่น อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจำเป็นต้องพัก 1 ถึง 2 วัน หลังจากได้รับเคมีบำบัดแต่ละครั้ง ถ้าผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลียติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมีอาการมึนงง รู้สึกหนาวสั่นหรือมีอาการหายใจไม่ออก แจ้งให้แพทย์ทราบทันที อาจเป็นสัญญาณบอกถึงอาการโรคโลหิตจาง ซึ่งเป็นสภาพที่จำนวนเม็ดเลือดแดงแต่ำกว่าปกติ ถ้าแพทย์บอกว่ามีอาการโลหิตจาง ให้พักผ่อนให้มากรับประทานผักใบเขียว เนื้อสัตว์ และตับเพิ่ม เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารมึนงง ถ้าปฏิบัติตามนี้แล้ว ยังคงมีอาการมึนงงให้ปรึกษาแพทย์และพยาบาล

อาการข้างเคียงของเคมีบำบัด

ปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร
ยาบำบัดมะเร็งทำให้ระคายเคืองต่อเซลล์บุทางด้านอาหาร แล้วยังมีผลต่อสมองส่วนที่ควบคุมการอาเจียน ดังนั้นผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แต่แพทย์สามารถให้ยาอื่นเพื่อลดอาการดังกล่าว และผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารเพื่อลดอาการ เหล่านั้นจึงรวมถึงการรับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งเพื่อไม่ให้อิ่มเกินไป อย่ารับประทานอาหารที่จืดหรือร้อนจัด ให้ลดของเหลวระหว่างรับประทานอาหารที่หวานจัด อาหารทอด อาหารที่มันและอาหารที่มีกลิ่นแรงควรหลีกเลี่ยง ให้อยู่ห่างจากห้องครัวเวลามีการปรุงอาหาร เพื่อหลีกกลิ่นอาหาร ถ้าต้องการทำอาหารเองให้ทำในวันที่คุณรู้สึกแข็งแรง และทำทีเดียวสำหรับหลายมื้อเก็บเอาไว้
ท้องร่วงและท้องผูก อาจมีสาเหตุมาจากยาบำบัดมะเร็ง ถ้าท้องร่วงนานเกิน 24 ชั่วโมง ให้แจ้งแพทย์ทราบ ถ้าท้องร่วงให้รับประทานอาหารที่เป็นของเหลวใสเพื่อย่อยง่าย ดื่มของเหลวที่ใช้แทนอาหารมาก ๆ เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสีย หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียเป็นตะคริว เช่น กาแฟ, ถั่ว, ถั่วเปลือกแข็ง, กระหล่ำปลี, ผ้าคะน้า, ดอกกะหล่ำ ของหวานและอาหารรสจัด หลีกเลี่ยงนมและอาหารที่ทำมาจากนม เพราะทำให้อาการท้องร่วมเลวลง เพื่อป้องกันอาการท้องผูกให้ดื่มน้ำมาก ๆ หรือน้ำเกลือแร่ เพื่อช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวง่ายขึ้น และรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูง เช่น รำข้าว, ผักและผลไม้สด ขนมปังที่ทำจากข้าวหรือข้าวสาลีที่ไม่ได้เอารำออก ให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันปกติ
ยาบำบัดมะเร็งอาจเป็นสาเหตุของปากและคอแห้งหรือมีแผลเปื่อยในปากและคอ ของเหลวและอาหารที่มีน้ำผสม จะช่วยไม่ให้ปากแห้ง ถ้ามีแผลเปื่อยในปากให้ปรึกษาแพทย์

ปัญหาจากเซลล์เม็ดเลือดแดงลดลง
เคมีบำบัดจากระบบเซลล์ปกติและไขกระดูก ไขกระดูกเป็นเนื้อเยื่ออยู่ในกระดูก ซึ่งผลิตเซลล์เม็ดเลือดทุกชนิด เซลล์เม็ดเลือดแดงนำออกซิเจนไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ เนื่องจากเคมีบำบัดทำให้อวัยวะต่าง ๆ และกล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ สภาวะนี้เรียกว่าโรคโลหิตจาง จะมีอาการอ่อนเพลียไม่มีแรง มีความเหนื่อยอ่อน เซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำกว่าปกติ ความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับแบคทีเรือและไวรัสจะลดลง เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อให้ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจากเข้าห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงคนหนาแน่น หรือคนที่มีโรคติดต่อ พยายามอย่าทำให้เกิดบาดแผลหรือรอยถลอกที่ผิวหนัง เช่น ใช้ที่โกนหนวดไฟฟ้าชนิดใบมีดโกน ห้ามบีบแกะสิว ห้ามใช้แปรงสีฟันชนิดแข็ง หรือไหมขัดฟัน ถ้ามีบาดแผลหรือถลอกที่ผิวหนังให้ทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำอุ่นทันที
เกร็ดเลือดช่วยทำให้เลือดหยุดไหลหลังจากได้รับบาดเจ็บ จำนวนเกร็ดเลือดอาจจะลดลง เนื่องจากเคมีบำบัด ในกรณีนี้แผลบาดหรือแผลฟกซ้ำอาจเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าปกติ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับจำนวนเกร็ดเลือดต่ำห้ามใช้ยาโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

ผมร่วง
ปกติอาการผมร่วงจะเป็นชั่วคราว ผมอาจเริ่มขึ้นระหว่างการรักษาบางครั้งผมที่ขึ้นใหม่มีสี และสภาพของเส้นผมต่างไปจากเดิม การทำให้หนังศีรษะเย็นลงก่อนหรือหลังการให้เคมีบำบัด ช่วยป้องกันหรือลดอาการผมร่วงของผู้ป่วยบางคนปรึกษาแพทย์ว่าการทำให้หนังศีรษะเย็นเหมาะสมหรือไม่

อาการข้างเคียงอื่น ๆ
ผุ้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างสม่ำเสมอถึงการเปลี่ยนแปลงของอาการที่เกิดขึ้น เช่น รอบประจำเดือนเปลี่ยนไป ความรู้สึกเฉพาะแห่งคล้ายมีของเหลวคั่งหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ ที่แสดงว่ามีอาการติดเชื้อ หรือมีเลือดไหล
- อุณหภูมิร่างกายเกิน 100 องศาฟาเรนไฮต
- หนาวสั่น สั่น มีเหงื่อออกเวลากลางคืน
- อาการไออย่างรุนแรง หรือคออักเสบ
- คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เป็นระยะเวลานานและควบคุมไม่ได้
- เวลาปัสสาวะมีอาการปวดแสบ
- ปัสสาวะมีเลือดปน
- เลือดออกที่เหงือก หรือจมูก หรือมีอาการเขียวช้ำ

ห้ามใช้ยาทุกชนิดรวมทั้งแอสไพริน เพื่อบรรเทาอาการไข้ และให้ปรึกษาแพทย์


กลับ<wbr>หน้า<WBR>สารบัญ<WBR><WBR>