เกล็ดของผีเสื้อ
เกล็ดปีกของผีเสื้อมี 2 ลักษณะด้วยกันคือ เกล็ดที่ไม่มีเม็ดสีแต่เป็นสันนูนขึ้นมา
เมื่อสะท้อนแสงจะเกิดสีรุ้งแวววาว และเกล็ดที่มีเม็ดสีอยู่ภายใน เม็ดสีภายในเกล็ดนี้เกิดได้ทั้งจากสารเคมีที่ผีเสื้อสร้างขึ้นเองและสารเคมีที่แปรรูปจากสารอาหารที่หนอนผีเสื้อกินเข้าไป
เกล็ดสีเมื่อมองเกล็ดด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นเพียงฝุ่นสี และบอบบางมากเพียงสัมผัสด้วยปลายนิ้วเบา
ๆ ก็จะหลุดติดมือมาทันที
สารที่ทำให้เกิดเม็ดสีต่าง ๆ ในเกล็ดคือ
1. เทอรีน (pterrin) เป็นสารที่แปรรูปมาจากกรดยูริก ในวงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่
มีสีส้มและสีแดง สีแดงเมื่อสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศจะซีดลงเรื่อย ๆ
2. ฟลาโวน (flavone) เป็นสารที่ผีเสื้อสร้างขึ้นเองไม่ได้
ต้องได้รับมาจากพืชที่กินเข้าไปในระยะตัวหนอน ทำให้มีสีขาวจนถึงสีเหลือง
พบในวงศ์ผีเสื้อสีตาลและวงศ์ผีเสื้อบินเร็วบางชนิด
3. เมลานิน (melanin) มีสีดำเป็นเม็ดสีแบบเดียวกับคนและสัตว์ทั่วไป
ส่วนสีเขียวและสีม่วงฟ้าเกิดจากเกล็ดที่ไม่มีสี เมื่อแสงส่องผ่านเยื่อบาง
ๆ หลายชั้นของแผ่นปีกจะสะท้อนออกเป็นสีดังกล่าว
โดยเกรียงไกร สุวรรณภักดิ์ สารคดีผีเสื้อ 2540