• Welcome to กระดานข่าว...โรงเรียนวารินชำราบ.
 

อ่านแล้วปลงครับ ทำใม นร. ป.2-ป.51,ม.2 อ่านหนังสือไม่ออกเพียบ

เริ่มโดย plaza, วันที่ 22 กรกฎาคม 2010, เวลา 07:12:26 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

plaza

 :) :) :) :) :) :)

นักเรียน"ป.2-ป.5,ม.2" ต้องปรับปรุงอื้อ เด็กไม่ผ่านประเมินเพียบ วิชาภาษาไทย-คณิต


.....

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) ด้านการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ เปิดเผยผลการประชุมคณะอนุกรรมการ เมื่อเร็วๆ นี้ว่า คณะอนุกรรมการชุดนี้มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนคนไทยได้ เข้ารับการศึกษาที่มีคุณภาพและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองจะไม่เน้นการให้การศึกษาเฉพาะเด็กที่ อยู่ในโรงเรียนเท่านั้น แต่จำเป็นจะต้องเริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงเยาวชนที่ตกหล่นในระบบการ ศึกษา เด็กที่อยู่นอกโรงเรียน แรงงานนอกระบบ ซึ่งทุกภาคส่วนพยายามเสนอช่องทางที่จะให้การศึกษาแก่คนเหล่านี้ โดยเฉพาะการให้การศึกษากับพ่อแม่ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะปูพื้นฐานของการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก ที่ต้องได้รับการอบรมดูแลอย่างดีและต่อเนื่อง อีกทั้งการพัฒนาระบบและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ต้องพัฒนารูปแบบการจัดการ เรียนรู้ทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบ และตามอัธยาศัย ทั้งนี้ จะมีการทดลองนำแนวคิดที่มีความหลากหลายจากคณะทำงานลงไปปฏิบัติจริงใน 5 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ อุดรธานี นครสวรรค์ และนครศรีธรรมราช โดยอาศัยความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงาน

"การนำข้อเสนอแนะลงสู่การปฏิบัติจะทำให้รู้ว่า สามารถจัดการเพิ่มโอกาสและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพกับคนทุกคนในพื้นที่นั้นๆ ได้หรือไม่ โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นผู้ดำเนินการภายใน 6 เดือน ซึ่งน่าจะพบข้อเสนอบางอย่างหลังจากที่ได้ทดลองปฏิบัติจริง และจะนำผลที่ได้ดังกล่าวมาถอดเป็นบทเรียนและจัดทำเป็นข้อเสนอแนะในเชิง นโยบายต่อไป" คุณหญิงกษมากล่าว และว่า สำหรับเรื่องหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับตัวผู้ เรียนเป็นหลัก ทั้งหลักสูตร วิธีประเมิน วิธีเทียบโอน ต้องไม่มีรูปแบบเดียว แต่ต้องมีทางเลือกที่หลากหลาย เพราะคนที่ตกหล่นที่อยู่นอกระบบการศึกษาเหล่านั้นจะมีความพร้อมและความถนัด ที่ไม่เหมือนกัน ถ้าไปจัดการศึกษารูปแบบเดียวก็จะทำให้ได้กลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว เพราะฉะนั้น จึงต้องเน้นความยืดหยุ่น ความหลากหลาย และการผสมผสานการเรียนในระบบ นอกระบบที่มีหลักสูตร และการเรียนตามอัธยาศัย ที่สามารถนำมาเทียบโอนกันได้

รายงานข่าวจาก สพฐ.แจ้งว่า จากข้อมูลการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการนำเสนอข้อมูลการประเมินผลการทดสอบนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัด สพฐ.ทั่วประเทศ ซึ่งได้มีการรายงานผลการประเมินเบื้องต้นมาแล้วดังนี้


ในระดับชั้น ป.2 มีเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งผลการประเมินมาแล้ว 75 เขตพื้นที่ฯ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีนักเรียนเข้ารับการประเมิน 199,341 คน มีนักเรียนที่ทำได้คะแนนระดับดี 15.35% หรือ 30,598 คน ระดับพอใช้ 70.55% หรือ 140,635 คน และต้องปรับปรุง 14.10% หรือประมาณ 21,807 คน และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนเข้ารับการประเมิน 199,341 คน มีนักเรียนทำได้คะแนนระดับดี 18.76% หรือประมาณ 37,396 คน ระดับพอใช้ 65.91% หรือประมาณ 131,385 คน และระดับปรับปรุง 15.33% หรือประมาณ 30,558 คน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีเขตพื้นที่การศึกษาส่งผลการประเมินเข้ามาแล้ว 42 เขตพื้นที่ฯ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนเข้ารับการประเมินผล จำนวน 109,508 คน มีนักเรียนทำได้คะแนนระดับดี 17.20% หรือประมาณ 18,835 คน ระดับพอใช้ 61.91% หรือประมาณ 67,884 คน และระดับปรับปรุง 20.81% หรือประมาณ 22,788 คน และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนเข้ารับการประเมินผล จำนวน 109,508 คน มีนักเรียนทำได้คะแนนระดับดี 12.96% หรือประมาณ 14,192คน ระดับพอใช้ 73.64% หรือประมาณ 80,641 คน และระดับปรับปรุง 13.39% หรือประมาณ 14,663 คน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส่งผลการประเมินมาแล้ว 40 เขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนเข้ารับการประเมินผล จำนวน 129,277 คน มีนักเรียนทำคะแนนได้ในระดับที่ต้องปรับปรุง 11.27% หรือประมาณ 14,569 คน และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนเข้ารับการประเมินผล จำนวน 129,277 คน มีนักเรียนทำคะแนนได้ในระดับที่ต้องปรับปรุง 6.99% หรือประมาณ 9,036 คน


ที่มา มติชนออนไลน์ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553