ผู้เขียน หัวข้อ: ส่งงานCMS/LMS/LCMS  (อ่าน 2075 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

chutikrgn

  • บุคคลทั่วไป
ส่งงานCMS/LMS/LCMS
« เมื่อ: วันที่ 27 พฤษภาคม 2010, 10:43:27 »
นางสาวชุติกาญจน์  ประสารวรณ์  เลขที่39  ชั้นม.5/4
CMS/LMS/LCMS

ตัวอย่างเว็บที่เกี่ยวข้องกับ LCMS http://www.thungsong.ac.th/lcms/about.php?lang=th

ตัวอย่างเว็บที่เกี่ยวข้องกับ LMS http://www.dek-d.com/chat/

ตัวอย่าง เว็บที่เกี่ยวข้องกับ CMS http://www.tnt.co.th/website/thai/cms/index.php
ความ หมาย ความแตกต่าง ของ CMS LMS และLCMS
CMS หมายถึง
CMS คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์ โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์(Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์(เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์(เช่น MySQL) ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ(Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า(Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซ ต์นั้นๆ
ที่มา http://www.mindphp.com/modules.php?name=News&file=article&sid=51
LMS หมายถึง
LMS คือเน้นที่การใช้เพื่อบริหารจัดการการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนปกติและใน ห้องเรียนเสมือน เพื่อช่วยให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ WBI เน้นการนำเสนอเนื้อหาของรายวิชาทางเว็บ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และทบทวนได้ตามศักยภาพของผู้เรียน Virtual Classroom เน้นการจัดกิจกรรมในเว็บที่จำลองกิจกรรมต่างๆ ให้เหมือนหรือใกล้เคียงกับห้องเรียนปกติLMS ย่อมาจาก Learning Management System เป็นระบบที่ใช้บริหารจัดการการเรียนรู้ที่อำนวยความสะดวกในการจัดกลุ่ม เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ การสื่อสารโต้ตอบระหว่างผู้สอน (Instructor/Teacher) กับผู้เรียน(Student) รวมทั้งการสร้างแบบทดสอบ การทดสอบและการประเมินผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมที่ใช้สร้างระบบ LMS
ที่มา http://www.pochanukul.com/?p=44


LCMS หมายถึง
LCMS (Learning Content Management System ) คือระบบจัดการเนื้อหาการเรียนรู้ พัฒนามาจากระบบการเรียนรู้ 2 ระบบ คือ
1) ระบบการจัดการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS) ซึ่งมีความสามารถในการนำเนื้อหาการเรียนรู้ มารวมกันเป็นกลุ่ม ๆ เรียกว่า Course แล้วนำเข้าสู่ระบบ
2) ระบบบริหารจัดการเนื้อหา (Content Management System: CMS)
จุดเด่นของระบบ คือสามารถสร้าง และจัดเก็บข้อมูลเมื่อนำความสามารถของทั้ง 2 ระบบมาผนวกเข้าด้วยกัน แล้วพัฒนาต่อจนเกิด LCMS โดยมีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ คือระบบสามารถสร้างจัดเก็บ นำมา ใช้ใหม่ จัดการและเผยแผ่เนื้อหา จากฐานข้อมูลของเนื้อหาทั้งหมด ซึ่งประกอบไปด้วย Course,Learning object, Metadata and Repository
สรุปคือ LCMS ช่วยให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ อย่าง Learning object แล้วนำมาประกอบขึ้นใหม่เป็นเนื้อหาที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนแต่ ละบุคคล เหมือนกับปรัชญาการผลิตเรื่อง Just-in-time กล่าวคือส่งความรู้ในปริมาณที่เพียงพอให้ถูกบุคคล ทันเวลาเหมาะสมกับการใช้งาน แต่ระบบสามารถจัด Learning object ได้ต้องให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนการเข้าเรียน แล้วนำไปวิเคราะห์หา learning path สรุปการทำงานของระบบจัดการเนื้อหาการเรียนรู้
ที่มา http://nongna005.multiply.com/journal/item/16


ความแตกต่าง ของ CMS LMS และLCMS
CMS คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์ โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์(Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ
LMS คือเน้นที่การใช้เพื่อบริหารจัดการการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนปกติและใน ห้องเรียนเสมือน เพื่อช่วยให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ WBI เน้นการนำเสนอเนื้อหาของรายวิชาทางเว็บ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และทบทวนได้ตามศักยภาพของผู้เรียน Virtual Classroom
LCMS สามารถสร้าง และจัดเก็บข้อมูลเมื่อนำความสามารถของทั้ง 2 ระบบมาผนวกเข้าด้วยกัน แล้วพัฒนาต่อจนเกิด LCMS โดยมีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ คือระบบสามารถสร้างจัดเก็บ นำมา ใช้ใหม่ จัดการและเผยแผ่เนื้อหา จากฐานข้อมูลของเนื้อหาทั้งหมด

ประเภทของ Opensource LMS

          Open Source คือ ซอฟต์แวร์ที่ให้ไปพร้อมกับซอร์สโค้ด ซอร์สโค้ด คือ ซอฟต์แวร์ต้นฉบับ โดยจะต้องสามารถอ่านเข้าใจ และอยู่ในรูปแบบที่สามารถปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมได้ ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ Open Source มีอิสระในการนำไปใช้ นำไปแจกจ่าย และปรับปรุงแก้ไข โดยจะคิดค่าใช้จ่ายหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการอนุญาต

Open Source Initiative (OSI) ได้นิยาม ขอบเขตของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สไว้ดังนี้
          1. อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ได้อย่างเสรี (Free Redistribution) ไลเซนต์จะต้องไม่จำกัดในการขาย หรือแจกจ่ายให้กับผู้อื่น โดยไม่มีการบังคับว่าต้องจ่ายค่าธรรมเนียม (Royalty Fee) ให้กับเจ้าของซอฟต์แวร์ต้นฉบับ
          2. ให้มาพร้อมกับซอฟต์แวร์ต้นฉบับ (Source Code) โปรแกรมต้องให้มาพร้อมกับ Source Code หรือถ้าไม่ได้ให้มาพร้อมโปรแกรมจะต้องมีช่องทางที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้า ถึง Source Code ได้โดยไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และ Source Code ที่ให้มาจะต้องอยู่ในรูปแบบที่นำไปปรับปรุงแก้ไขได้
          3. อนุญาตให้สร้างซอฟต์แวร์ใหม่โดยต่อยอดจากซอฟต์แวร์ต้นฉบับ (Derived Works) ไลเซนต์ของซอฟต์แวร์ต้องอนุญาตให้สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไข และสร้างซอฟต์แวร์ใหม่ โดยซอฟต์แวร์ตัวใหม่จะต้องมีไลเซนต์เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ต้นฉบับ
          4. ต้องไม่แบ่งแยกผู้พัฒนาออกจากซอฟต์แวร์ต้นฉบับ (Integrity of the Author's Source Code) ไลเซนต์อาจจะไม่ได้ให้ไปพร้อมซอสโค้ดในรูปแบบที่สามารถแก้ไขได้ ในกรณีที่มีการกำหนดว่าจะให้ซอร์สโค้ดเฉพาะส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม (patch files) เพื่อใช้ในการคอมไพล์โปรแกรมเท่านั้น ไลเซนต์ใหม่จะต้องกำหนดให้ชัดว่าสามารถแจกจ่ายได้หลังจากแก้ไขซอร์สโค้ดแล้ว โดยไลเซนต์ใหม่อาจจะต้องทำการเปลี่ยนชื่อ หรือเวอร์ชั่นให้แตกต่างจากซอฟต์แวร์ต้นฉบับ
          5. จะต้องไม่เลือกปฏิบัติเพื่อกีดกันบุคคล หรือกลุ่มบุคคล (No Discrimination Against Persons or Groups) ไลเซนต์จะต้องไม่เลือกปฏิบัตเพื่อกีดกันการเข้าถึงซอฟต์แวร์ของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
          6. จะต้องไม่จำกัดการใช้เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น (No Discrimination Against Field of Endeavor) ไลเซนต์จะต้องไม่จำกัดการใช้สำหรับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น จะต้องไม่จำกัดการใช้งานเฉพาะในเชิงธุรกิจ หรือในการทำวิจัยเท่านั้น
          7. การเผยแพร่ไลเซนต์ (Distribution of License) สิทธิ์ที่ให้ไปกับโปรแกรมจะต้องถูกบังคับใช้กับทุกคนที่ได้รับโปรแกรมเท่า เทียมกัน โดยไม่จำเป็นต้องใช้ไลเซนต์อื่นๆ ประกอบ
          8. ไลเซนตของซอฟต์แวร์จะต้องไม่ขึ้นกับไลเซนต์ของผลิตภัณฑ์ (License Must Not be Specific to a Product) หมายความว่า ถ้าซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สถูกนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ไลเซนต์ของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สจะต้องไม่ต้องไม่ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์ใด ซอฟต์แวร์หนึ่งในผลิตภัณฑ์ตัวนั้น
          9. ไลเซนต์ของซอฟต์แวร์จะต้องไม่จำกัดไลเซนต์ของซอฟต์แวร์อื่น (License Must Not Restrict Other Software) ไลเซนต์ของซอฟต์แวร์ที่รวมในมีเดียเดียวกันจะต้องไม่ถูกบังคับให้เป็นโอ เพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ด้วย
          10. ไลเซนต์จะต้องไม่ผูกติดกับเทคโนโลยี (License Must Be Technology-Neatral)

แนวทางในการนำไปใช้

          LMS เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบอีเลิร์นนิ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการเรื่องการเรียน โดย LMS มีฟังก์ชันการทำงานหลักๆ คือ Registration, Delivery, Tracking, Communication และ Testing ซึ่งจะครอบคลุมถึงการสร้างเนื้อหา และบริหารจัดการเนื้อหา โดยเนื้อหาจะอยู่ในรูปของส่วนที่เรียกว่า Learning Object ทำให้สามารถนำส่วนเหล่านี้มาประกอบเป็นบทเรียนเพื่อสนับสนุนการใช้เนื้อหา ร่วมกัน (shareable) และนำเนื้อหาที่แตกต่างกันมารวมกันเพื่อใช้สำหรับบทเรียนที่แตกต่างกันได้

          สำหรับ LMS นั้นไม่มีองค์กรไหนทำการกำหนดมาตรฐานกลางในการทำงาน ดังนั้นบริษัทผู้ผลิต LMS แต่ละบริษัทจึงให้บริการฟังก์ชันการทำงานของ LMS ที่แตกต่างกันออกไปทำให้เกิดจุดเด่นและจุดด้อยในการเปรียบเทียบการทำงานของ แต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานที่เหมือนกัน คือ Registration, Delivery, Tracking,Communication และ Testing รวมทั้งการสนับสนุนมาตรฐานต่างๆ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับเนื้อหาจากระบบอื่นได้

          ในอนาคตการใช้งาน LMS ในการเรียนการสอน จะต้องสามารถเรียนร่วมกัน และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกัน ในระบบเดียวกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีข้อตกลงร่วมกันในเรื่องของมาตรฐาน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน โดยต้องเริ่มจากการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ตรงกันและร่วมมือกันพัฒนา courseware เพื่อนำมาใช้ร่วมกัน ซึ่งในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ หลายแห่งในประเทศไทย ได้เริ่มให้มีการใช้บทเรียน online เป็นส่วนเสริมในการเรียนการสอน แต่ยังไม่มีหลักสูตร online ที่ผู้เรียนสามารถเรียน online จนจบได้รับปริญญาบัตร ในการพัฒนาบทเรียน online นั้น มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง จะใช้ทรัพยากรของตนเอง แต่เนื่องจากการเรียนบทเรียน online นั้น จะเรียนที่ใดก็ได้ และหลักสูตรของมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ที่เหมือนกัน ก็มีมาตรฐานเดียวกัน หากมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ได้มีการพัฒนาบทเรียน online ร่วมกัน และแต่ละแห่งสามารถนำบทเรียน online ไปใช้ได้ (Shared e-Courseware) ก็จะเป็นการประหยัดทรัพยากรประหยัดค่าใช้จ่ายของแต่ละแห่ง นอกจากนี้ ยังช่วยให้มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา ที่ขาดแคลนอาจารย์ในบางสาขาวิชา สามารถมีบทเรียน online ที่ได้มาตรฐานในสาขาวิชานั้นได้

          จากการศึกษาค้นคว้าที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ระบบการจัดการการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แบ่งผู้ใช้งานออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เรียน(Student) ผู้สอน(Instructor) และผู้ดูแลระบบ(Administrator) ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนักเทคโนโลยีการศึกษาก็คือในส่วนของการพัฒนา เนื้อหาบทเรียนเพื่อนำไปใช้ในระบบ LMS ซึ่งก็ได้แก่การสร้างและพัฒนา Learning Object และ Courseware

          Learning Object เป็นสื่อดิจิตอลที่มีลักษณะเฉพาะคือ เป็นสื่อประสม (multimedia) ที่ออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะ โดยแต่ละเรื่องจะนำเสนอแนวคิดหลักย่อยๆ ผู้สอนสามารถเลือกใช้ Learning Object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย

          Courseware หมายถึงบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งออกแบบแลถผลิตขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็น ฐานในการผลิต มีการใช้สื่อประสม (multimedia) และการโต้ตอบกับนทเรียนในลักษรณะการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) โดยมีผลป้อนกลับไปยังผู้เรียนทันที มีการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้หลาย ทาง มีระบบการวัดผล ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบด้วย           สำหรับความหมาย การทำงาน และประโยชน์ของ Learning Object และ Courseware โดยละเอียดผู้ศึกษาของนำเสนอในโอกาสต่อไป

:thk2