ผู้เขียน หัวข้อ: ส่งงานcms lms lcms  (อ่าน 2382 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ahucha54

  • บุคคลทั่วไป
ส่งงานcms lms lcms
« เมื่อ: วันที่ 27 พฤษภาคม 2010, 10:52:52 »
นาย อนุชา ประสพบุญ เลขที่12 ชั้น5/4

ความ หมาย ความแตกต่าง ของ CMS LMS และLCMS
CMS หมายถึง
CMS คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์ โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์(Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์(เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์(เช่น MySQL) ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ(Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า(Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซ ต์นั้นๆ
ที่มา http://www.mindphp.com/modules.php?name=News&file=article&sid=51
LMS หมายถึง

LMS คือเน้นที่การใช้เพื่อบริหารจัดการการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนปกติและใน ห้องเรียนเสมือน เพื่อช่วยให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ WBI เน้นการนำเสนอเนื้อหาของรายวิชาทางเว็บ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และทบทวนได้ตามศักยภาพของผู้เรียน Virtual Classroom เน้นการจัดกิจกรรมในเว็บที่จำลองกิจกรรมต่างๆ ให้เหมือนหรือใกล้เคียงกับห้องเรียนปกติLMS ย่อมาจาก Learning Management System เป็นระบบที่ใช้บริหารจัดการการเรียนรู้ที่อำนวยความสะดวกในการจัดกลุ่ม เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ การสื่อสารโต้ตอบระหว่างผู้สอน (Instructor/Teacher) กับผู้เรียน(Student) รวมทั้งการสร้างแบบทดสอบ การทดสอบและการประเมินผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมที่ใช้สร้างระบบ LMS
ที่มา http://www.pochanukul.com/?p=44

LCMS หมายถึง

LCMS (Learning Content Management System ) คือระบบจัดการเนื้อหาการเรียนรู้ พัฒนามาจากระบบการเรียนรู้ 2 ระบบ คือ
1) ระบบการจัดการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS) ซึ่งมีความสามารถในการนำเนื้อหาการเรียนรู้ มารวมกันเป็นกลุ่ม ๆ เรียกว่า Course แล้วนำเข้าสู่ระบบ
2) ระบบบริหารจัดการเนื้อหา (Content Management System: CMS)
จุดเด่นของระบบ คือสามารถสร้าง และจัดเก็บข้อมูลเมื่อนำความสามารถของทั้ง 2 ระบบมาผนวกเข้าด้วยกัน แล้วพัฒนาต่อจนเกิด LCMS โดยมีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ คือระบบสามารถสร้างจัดเก็บ นำมา ใช้ใหม่ จัดการและเผยแผ่เนื้อหา จากฐานข้อมูลของเนื้อหาทั้งหมด ซึ่งประกอบไปด้วย Course,Learning object, Metadata and Repository
สรุปคือ LCMS ช่วยให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ อย่าง Learning object แล้วนำมาประกอบขึ้นใหม่เป็นเนื้อหาที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนแต่ ละบุคคล เหมือนกับปรัชญาการผลิตเรื่อง Just-in-time กล่าวคือส่งความรู้ในปริมาณที่เพียงพอให้ถูกบุคคล ทันเวลาเหมาะสมกับการใช้งาน แต่ระบบสามารถจัด Learning object ได้ต้องให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนการเข้าเรียน แล้วนำไปวิเคราะห์หา learning path สรุปการทำงานของระบบจัดการเนื้อหาการเรียนรู้
ที่มา http://nongna005.multiply.com/journal/item/16


ความแตกต่าง ของ CMS LMS และLCMS
CMS คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์ โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์(Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ
LMS คือเน้นที่การใช้เพื่อบริหารจัดการการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนปกติและใน ห้องเรียนเสมือน เพื่อช่วยให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ WBI เน้นการนำเสนอเนื้อหาของรายวิชาทางเว็บ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และทบทวนได้ตามศักยภาพของผู้เรียน Virtual Classroom
LCMS สามารถสร้าง และจัดเก็บข้อมูลเมื่อนำความสามารถของทั้ง 2 ระบบมาผนวกเข้าด้วยกัน แล้วพัฒนาต่อจนเกิด LCMS โดยมีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ คือระบบสามารถสร้างจัดเก็บ นำมา ใช้ใหม่ จัดการและเผยแผ่เนื้อหา จากฐานข้อมูลของเนื้อหาทั้งหมด
    

 
ประเภทของ CMS
 

    1.  เว็บท่า

    ผู้คนมักจะสับสนว่า เว็บท่า หรือ พอร์ทัล (portal) คือระบบจัดการเนื้อหาของเว็บ แต่จริงๆแล้ว เว็บท่าเป็น CMS ประเภทที่รวมระบบจัดการเนื้อหาเว็บที่เน้นการทำเว็บทั่วไปเป็นหลัก โดยที่ผู้ใช้ระบบเว็บท่าสามารถปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยได้อย่างง่ายดาย แทนที่จะใช้โปรแกรมออกแบบหน้าตาเว็บอื่น ๆ เช่น ดรีมวีฟเวอร์ โกไลฟ์ หรือไมโครซอฟท์ ฟรอนท์เพจ ที่มีเนื้อหาแบบนิ่ง นอกจากนี้ ยังมีโมดูล หรือคอมโพเนนท์หลากหลายไว้เสริมความสามารถของเว็บท่าอีกด้วย
    ตัวอย่างของ โปรแกรมเว็บท่าที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ Mambo (CMS) Joomla! PhpNuke Postnuke

 

    2. บล็อก
บล็อก หรือ blog ย่อมาจาก weblog เป็นระบบที่ให้ผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิก และได้พื้นที่บล็อกตามที่กำหนด จากนั้นสมาชิกจะสามารถปรับปรุงเนื้อหาในบล็อกของตนได้อย่างง่ายดาย กำลังเป็นที่นิยมของวัยรุ่นในขณะนี้สำหรับเขียนไดอารี่ส่วนตัว เป็นต้น
    ตัวอย่างของโปรแกรมบล็อก ได้แก่ Wordpress


    3. อี-คอมเมิร์ซ
    เป็นโปรแกรมสำหรับบริหารจัดการ การขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ต มีหน้าร้านสำหรับแสดงสินค้า ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าที่ต้องการใส่ตะกร้า และจ่ายเงินได้ภายหลังผ่านทางบัตรเครดิตเป็นต้น
    ตัวอย่างของโปรแกรมอี-คอมเมิซ ได้แก่ PhpShop, osCommerce และ Zen cart (ที่พัฒนาจาก osCommerce)

 

    4. อี-เลิร์นนิง
    เรียกอีกอย่างว่า LMS หรือ ระบบจัดการเนื้อหาเพื่อการเรียนการสอน สามารถอัปโหลดเนื้อหาของรายวิชาขึ้นระบบได้ ให้ผู้ที่เป็นสมาชิกสามารถเข้ามาดูเนื้อหาได้
    ตัวอย่างของโปรแกรมอี-เลิร์นนิง ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ Moodle ATutor Blackboard WebCT

 

    5. แกลลอรีภาพ
เป็นโปรแกรมบริหารจัดการที่เน้นการแสดงภาพเป็นหลัก ผู้ใช้สามารถอัปโหลดภาพขึ้นระบบเพื่อแสดงผลได้
    ตัวอย่างของโปรแกรมแกลลอรีภาพ ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ Coppermine


    6.  กรุ๊ปแวร์
    เป็นโปรแกรมสำหรับการประสานงานร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย มีฟังก์ชันการทำงานสนับสนุนการทำงานร่วมกันของทีมงาน เช่นปฏิทินนัดหมาย อีเมล กลุ่มผู้ทำงาน การบริหารโครงการ การแลกเปลี่ยนไฟล์เอกสาร เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว สามารถรองรับการทำงานในสำนักงานทั่วๆไปได้ถึงร้อยละ 80
    ตัวอย่างของโปรแกรมกรุปแวร์ ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ dotProject eGroupware MoreGroupware phpCollab phpProjekt

 

    7. วิกิ
    เป็นระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บที่มีแนวความคิดใหม่ โดยเปิดกว้างให้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกสามารถแก้ไขเนื้อหาได้ แทบจะทุกส่วนของเว็บ
    ตัวอย่างของโปรแกรมวิกิ ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ มีเดียวิกิ Docuwiki

 

    8 กระดานข่าว
    กระดานข่าว เป็นสถานที่แปะข้อความกระทู้ ในผู้ที่เป็นสมาชิก หรือบุคคลทั่วไปสามารถแสดงความเห็นในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ เป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากทำให้เกิดชุมชนของผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน สามารถมาพูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกันได้
    ตัวอย่างของโปรแกรมกระดานข่าว ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ PhpBB FudForum Invision Power Board vBulletin

 

    9. ไลท์
    เป็นโปรแกรมบริหารจัดงานเนื้อหาเว็บที่เปรียบเสมือนโมดูลย่อยๆ โมดูลเดียวของเว็บท่า เน้นที่การบำรุงรักษาง่าย สามารถลงระบบได้โดยไม่ต้องใช้ฐานข้อมูล แต่เก็บข้อมูลเป็นไฟล์อักขระธรรมดา
    ตัวอย่างของโปรแกรมไลท์ เช่น phpFreeNews Limbo

 

    10. อื่น ๆ
    ตัวอย่างของโปรแกรมระบบจัดการเนื้อหาเว็บอื่นๆ เช่น ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ ปฏิทินออนไลน์ เป็นต้น