ผู้เขียน หัวข้อ: ลักษณะโดยทั่วไปของ Social Network  (อ่าน 10537 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ครูสุรพล กิ่มเกลี้ยง

  • โลกที่สดใส อยู่ในใจทุกๆคน :)
  • Administrator
  • *****
  • กระทู้: 514
  • ยิ้ม ทำให้มีความสุข :)
    • ดูรายละเอียด
    • ศูนย์คอมพิวเตอร์และเครือข่ายวารินชำราบ
ลักษณะโดยทั่วไปของ Social Network
« เมื่อ: วันที่ 08 มิถุนายน 2011, 09:56:04 »
 :newe1: :newe3: [PZ04] [PZ06]

ลักษณะทั่วไปของ Social Network
Social Network หรือเรียกว่า “เครือข่ายสังคม” “เครือข่ายมิตรภาพ” “กลุ่มสังคมออนไลน์” คือ บริการผ่านเว็บไซต์ที่เป็นจุดโยงระหว่างบุคคลที่มีเครือข่ายสังคมของตัวเองผ่านเน็ตเวิร์ค internetรวมทั้งเชื่อมโยงบริการต่างๆ เช่น เมสเซ็นเจอร์ เว็บบอร์ด บล็อก ฯลฯ เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีก็กลุ่มย่อย เช่น กลุ่มคนขี่จักรยานเสือภูเขา โดยคนที่ลงทะเบียนสมัครจะกรอกข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ อัลบั้มรูป โดยเชื่อมเครือข่ายสังคมและเครือข่ายมิตรภาพเข้าด้วยกัน ด้วยการแชร์รูป แชร์ไฟล์  ซึ่งเราจะเรียกเว็บไซต์เหล่านี้ว่า SNS (Social Network Sites)

เว็บไซต์อย่าง MySpace, Hi5, Facebook ภาษาในโลกออนไลน์ยุค Web2.0 เค้าจะเรียกกันว่า “Social Networking”  ซึ่ง Social Networking นี้ เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบของสังคมประเภทหนึ่ง ที่มาออนไลน์อยู่บนอินเตอร์เน็ต (หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นสังคมเสมือน “Virtual Communities) หรืออาจจะเรียกว่า Online Community โดยที่สังคมที่เราใช้ชิวิตตอนนี้จะเรียกว่า Offline (ให้มันคู่กัน)
       สังคมดังกล่าว มีการขยายตัวแบบ Network หรือเครือข่าย (บางท่านอาจจะคุ้นเคยกับ Amway ซึ่งนั่นก็เป็น Network แบบหนึ่งเช่นกัน คือ มีการขยายตัวแบบต่อๆกันไป)          Social Networking เป็นสังคมที่เราสามารถรู้จักเพื่อนๆของเพื่อน และทำให้เป็นเพื่อนของเราได้ อีกด้านหนึ่ง เพื่อนของเรา อยากรู้จักเพื่อนๆของเรา  ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยเป็นการรู้จักกันต่อไปเป็นทอดๆ คล้ายเครือข่ายใยแมงมุม ที่โยงกันไปมาได้ แต่การที่จะสร้าง Social Networking นี้ไม่ง่าย ที่จะประสบความสำเร็จ  เพราะเบื้องหลังการมีสังคมประเภท Social Networking มันมีอะไรมากกว่านั้น
               หลักการพื้นฐานของสังคมทั่วไป ที่จะทำให้สังคมนั้นๆ น่าอยู่ อยู่ได้นานๆ และขยายตัวได้ มีการเจริญเติบโตตามสมควร นั่นคือ พื้นฐานของการให้และรับ (Give&Take) การแบ่งปัน (Sharing & Contribution) เป็นหลักการพื้นฐานของจิตวิทยาด้านสังคม (Social Psychology) และสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์
              Peter Kollock ได้ให้กรอบจำกัดความเรื่อง แรงจูงใจในการ Contribute ใน Online Communities มีอยู่ 4 เหตุผล คือ   
              1.) Anticipated Reciprocity  การที่คนๆ หนึ่งได้ให้ข้อมูล ความรู้ กับ Online Community นั้นบ่อยๆ มีแรงจูงใจมาจากการที่คนๆ นั้น เอง ก็ต้องการจะได้รับข้อมูล ความรู้ อื่นๆ กลับคืนมา  เช่น นาย roch มาโพสต์ข้อความตอบกระทู้บ่อยๆใน tlcthai.com จนคนรู้จัก มีความคุ้นเคยกัน ถ้ามีการถามกระทู้ใน tlcthai.com กระทู้ของนาย roch จะมีคนมาโพสต์ตอบเร็วกว่ากระทู้ของคนอื่นที่เป็นคนแปลกหน้ามาโพสต์
         2.) Increased Recognition  ความต้องการมีชื่อเสียง และเป็นที่จดจำของคนใน Online Community นั้นๆ เช่น การให้คะแนน ให้ดาว คนที่ตอบคำถามเก่งๆใน Community ทำให้คนคนนั้นดูมียศเหนือกว่าคนอื่น   
         3.) Sense of efficacy  ความรู้สึกภาคภูมิใจ คนที่ Contribute อะไรแล้วเกิด Impact กับ Community นั้น ย่อมทำให้คนๆนั้นมีความภาคภูมิใจ เช่น นาย pojinban ตั้งกระทู้ใน tlcthai.com และมีคนเข้ามาโพสต์ตอบตามมาเป็นหมื่นๆคน ย่อมรู้สึกดีกว่าตั้งกระทู้แล้วไม่มีคนเข้ามาตอบเลย         
         4.) Sense of Community  เช่น การมีปฏิสัมพันธ์กันหรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างคนในสังคมนั้นๆ เหมือนมีคนมาตั้งกระทู้หรือเขียนบทความอะไร เรามาอ่านเจอเข้าก็คันไม้คันมือ อยากแสดงความคิดเห็นของตัวเอง การที่ความคิดคนหนึ่ง มีอิทธิพลเหนือคนกลุ่มหนึ่ง หรือ การมีอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างร่วมกัน เช่น การรวมตัวกันเพื่อแสดงพลังทางการเมือง หรือ การรวมตัวกันเพื่อแสดงออกอะไรบางอย่างบน Online Community

 :yoyo_89: :newe12: :newe10: