ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มา ประเภท และแนวโน้ม Socaial Network  (อ่าน 3572 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

plaza

  • บุคคลทั่วไป
ที่มา ประเภท และแนวโน้ม Socaial Network
« เมื่อ: วันที่ 08 มิถุนายน 2011, 10:17:36 »
 [PZ01] [PZ02] :newe12: :yoyo_89:

             ในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต กำลังเป็นที่นิยมและมีผลกระทบในทุกๆด้านในปัจจุบัน ทำให้ทุกคน ทุกสังคมต้องมีการปรับตัว และพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงในโลกของการสื่อสาร และการพัฒนาของโลกเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web; WWW) จากยุคแรก คือ Web 1.0 ซึ่งมีลักษณะเป็น Static Web คือมีการนำเสนอข้อมูลทางเดียว (one-way communication) ด้วยการแปลงข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่รอบตัวเราให้อยู่ในรูปของดิจิตอล (Digital) เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือการโฆษณาตามหน้าเว็บไซต์ โดยผู้ใช้สามารถอ่านได้ แต่ไม่สามารถเข้าร่วมในการสร้างข้อมูลได้แต่เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคที่ 2 ของเทคโนโลยีคือ WWW หรือ Web 2.0 เป็นยุคที่ทำให้อินเทอร์เน็ตมีศักยภาพในการใช้งานมากขึ้น เน้นให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ (Co- Creation) ลงบนเว็บไซต์ร่วมกันและสามารถโต้ตอบกับข้อมูลที่อยู่บนเว็ปไซท์ได้ (Interactivity) มีลักษณะเป็น Dynamic Web ที่ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหา (Content) แลกเปลี่ยน และกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อแบ่งปันถึงกันได้ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร จะเห็นได้ว่า Web 2.0 เป็นยุคของการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงการรับส่งอีเมล์ (E-mail) รูปภาพ หรือการดาวน์โหลดข้อมูลผ่าน Search Engine หรือใช้เว็บบอร์ด (Web board) ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเท่านั้น Web 2.0 ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ (Relationship) ระหว่างผู้ใช้ในกลุ่มต่างๆ จนเกิดเป็นเครือข่ายทางสังคม (Social Network) บนโลกออนไลน์ที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด กลายเป็นสังคมเสมือนจริง (Virtual Communities) ซึ่งเป็นสังคมหนึ่งในโลกของอินเทอร์เน็ต ที่ปัจจุบันยังคงผูกพันและซ้ำซ้อนกับการดำเนินชีวิตของผู้คนในโลกของความเป็นจริง

             จุดกำเนิดของ Web 2.0 และการพัฒนาก้าวผ่านเข้าสู่ยุค Web 3.0 หรือ Semantic Web ทำให้กระแสความนิยมขอ Social Network มีการเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นไปตามผลการสำรวจของประเทศสหรัฐอเมริกาที่พบว่า มีผู้เข้าใช้บริการ Social Network เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และมีแนวโน้มของผู้ใช้บริการทั่วโลกมากกว่า 1,200 ล้านคน ปัจจุบัน Social Network Website ต่าง ๆ ก็มีการพัฒนา และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์เชิงสังคมกันมากขึ้น ทั้งเว็บไซต์ในตระ...ลของ Wiki, YouTube, Hi5, My space Face book และอีกมากมาย ซึ่งในแต่เว็บไซต์จะมีลักษณะเฉพาะสำหรับการใช้งานแตกต่างกันออกไปโดยเว็บไซต์ที่มีจำนวนผู้เข้าชมสูงสุดทั่วโลกในขณะนี้คือ My space รองลงมา คือ Facebook และ Orkut แต่ถ้าดูจากจำนวนสมาชิกในเว็บไซต์ ผลการสืบค้นข้อมูลในปี 2008 จะเห็นว่า Facebook เป็นเว็บที่มีจำนวนสมาชิกสูงสุดถึง 90 ล้านคน รองลงมาคือ Hi5 80 ล้านคน Friendster 75 ล้านคน Myspace 72 ล้านคน และ LinkedIn 5ล้านคน

              สำหรับกระแสความนิยมของ Social Network ในประเทศไทยนั้น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC) ได้ทำการสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยผ่านออนไลน์ จำนวน 14,809 คน ในช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน 2551 ที่ผ่านมา พบว่า Hi5 เป็นเว็บที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มีผู้ใช้งานสูงถึง 47.5% เฉลี่ย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ และ 69.7% มีบล็อก (Blog) เป็นของตัวเอง ส่วนวิกีพีเดีย (Wikipedia) เป็นเว็บไซต์ที่มีการใช้งานรองลงมาคือ 14.4% You Tube 12.6% และMyspace 3.8% ตามลำดับ จากข้อมูลทางสถิติเบื้องต้น เราคงต้องยอมรับว่า Hi5 เป็น Social Network Website ที่ติดอันดับของโลกรวมถึงในสังคมไทยเรา ดังนั้นเราคงต้องจับตามองกันต่อไปในฐานะที่เป็นสื่อสองคมบนสังคมออนไลน์และมีผลกระทบมากมายซึ่งผู้ใช้ในสังคมควรต้องรู้ให้เท่าทัน

              รูปแบบการสื่อสารในลักษณะสังคมเครือข่ายที่เรานิยมเรียกกันว่า Community Network หรือSocial Network กำลังได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในฐานะผู้ใช้ทั่วไปและองค์กรธุรกิจ เพราะเป็นสังคมออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้เข้าไปใช้เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว บทความ รูปภาพ ผลงาน พบปะ แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความสนใจร่วมกัน และกิจกรรมอื่น ๆ รวมไปถึงเป็นแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ผู้ใช้สามารถช่วยกันสร้างเนื้อหาขึ้นได้ตามความสนใจของแต่ละบุคคล

              Social Networking มีจุดเริ่มต้นจากเว็บไซต์ Classmates.com (1995) และเว็บไซต์ SixDegrees.com(1997) ซึ่งเป็นเว็บที่จำกัดการใช้งานเฉพาะนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนเดียวกันเพื่อสร้างประวัติ ข้อมูลติดต่อสื่อสาร ส่งข้อความ และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สนใจร่วมกันระหว่างเพื่อนในลิสต์เท่านั้น ต่อมาเว็บไซต์Epinions.com (1999) ซึ่งเกิดขึ้นจากการพัฒนาของ Jonathan Bishop โดยได้เพิ่มในส่วนของการที่ผู้ใช้สามารถควบคุมเนื้อหาและติดต่อถึงกันได้ไม่เพียงแต่เพื่อนในลิสต์เท่านั้น นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ SocialNetworking ทั้งหลายที่ก่อกำเนิดต่อมาในยุคปัจจุบัน เช่น MySpace, Google, Facebook เป็นต้นเนื่องจากมีเว็บไซต์ในลักษณะ Social Network เป็นจำนวนมากมาย จึงเป็นการยากที่จะจำแนกประเภทของ Social Network ได้อย่างเจาะจงชัดเจน หากจะลองจัดเข้าหมวดหมู่ตามที่เราพบเห็นทั่วไป อาจแบ่งได้ 6 ประเภท ดังนี้
1.   ประเภทแหล่งข้อมูลหรือความรู้ (data/knowledge) ที่เห็นได้ชัดเจนเช่น wikipedia, google, earth, answers, digg, bittorrent ฯลฯ เป็นต้น
2.   ประเภทเกมส์ออนไลน์ (online games) ที่นิยมมาก เช่น SecondLife, Audition, Ragnarok,Pangya ฯลฯ เป็นต้น
3.   ประเภทสร้างเครือข่ายทางสังคม (community) เพื่อเป็นการหาเพื่อนใหม่ สร้างและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน เช่น Hi5, Facebook, MySpace, MyFriend ฯลฯ เป็นต้น
4.   ประเภทฝากภาพ (photo management) สามารถฝากภาพออนไลน์ได้โดยไม่เปลืองฮาร์ดดิสก์ส่วนตัว อีกทั้งยังสามารถแชร์ภาพหรือซื้อขายภาพกันได้อย่างง่ายดาย เช่น Flickr, Photoshop Express, Photobucket ฯลฯ เป็นต้น
5.   ประเภทสื่อ (media) ไม่ว่าจะเป็นฝาก โพสท์ หรือแบ่งปันภาพ คลิปวีดีโอ ภาพยนตร์ เพลงฯลฯ เช่น YouTube, imeem, Bebo, Yahoo Video, Ustream.tv ฯลฯ เป็นต้น
6.   ประเภทซื้อ-ขาย (business/commerce) เป็นการทำธุรกิจทางออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากเช่น Amazon, eBay, Tarad, Pramool ฯลฯ แต่เว็บไซต์ประเภทนี้ยังไม่ถือว่าเป็น Social Network ที่แท้จริง เนื่องจากมิได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการแชร์ข้อมูลกันได้หลากหลาย นอกจากการสั่งซื้อและคอมเมนท์สินค้าเป็นส่วนใหญ่
7.   ประเภทอื่น ๆ คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการคอนเทนท์ซึ่งไม่สามารถจัดเข้าใน 6 ประเภทได้ นั่นเอง

               พลังของเครือข่ายสังคม (Power of Social Network) อิทธิพลของ Social Network ได้สร้างปรากฏการณ์ให้เห็นเชิงประจักษ์ทั้งด้านบวกและด้านลบมา อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Hi5 หรือ MySpace และ Facebook ที่คนไทยอาจจะไม่คุ้นเคยด้วยข้อจำกัดเรื่องการ สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ซึ่งก็สร้างปรากฏการณ์ให้ “บารัค โอบามา” ได้เป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของ สหรัฐอเมริกาไปเรียบร้อยแล้วเมื่อปลายปี 2551 นั่นเป็นเพราะเขารู้จักการใช้สื่อใหม่ (new media) ให้เกิดประโยชน์และมีการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้รับสารได้เป็นอย่างดี หรืออย่าง YouTube เว็บไซต์ที่เปิดโอกาสให้คนทั้งโลก และนักการตลาดได้ใช้เป็นแหล่งแพร่คลิปวีดิโอไปสู่คนทั่วโลก ทำให้เราได้พบเห็นเหตุการณ์แปลกใหม่หรือเรื่องมหัศจรรย์ต่าง ๆ จากคลิปทั่วทุกมุมโลก

               จากการแตกกระจายตัวของสื่อดิจิทัล (Digital media fragmentation) ที่สามารถผลิตได้อย่างรวดเร็วและส่งต่อกันได้อย่างง่ายดาย จึงเป็นผลให้สำนักข่าวต่างประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น CNN, BBC ได้อ้างอิงข่าวสารและภาพเคลื่อนไหวจากเครื่อข่ายทางสังคมเช่น YouTube (www.youtube.com) ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยนักข่าวของตนเอง ด้วยการรายงานข่าวแบบ Real time บนเว็ปไซท์และกระจายข่าวสารผ่าน Blog ของสมาชิกทั่วโลก จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในด้านภาพลักษณ์เชิงลบต่อสังคมโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และจะเป็นการจารึกประวัติศาสตร์ของชาติไว้ในรูปแบบดิจิทัลอย่างมิอาจลบเลือนได้เช่นกัน

               แนวโน้มของ Social network ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสังคมอย่างชัดเจน คือ การพัฒนาระบบเว็ปไซท์ของสำนักข่าวต่างๆให้เป็นพื้นที่สาธารณะมากขึ้น เช่น เว็ปไซท์ iReport ของ CNN (www.ireport.com) โดยจากเดิมผู้บริโภคสื่ออย่างพวกเราเป็นผู้นั่งอยู่เฉยๆ รอรับข้อมูลข่าวสารที่ผ่านการกลั่นกรอง คัดเลือกจากนักข่าวหรือกองบรรณาธิการข่าว กลายสภาพเป็นผู้ที่สามารถเขียนหรือนำเสนอข้อมูลข่าวสาร เปิดประเด็นข่าว รวมทั้งแสดงความคิดเห็นกลับไปยังสื่อหรือส่งสารไปถึงนักข่าว ขณะเดียวกันยังสามารถส่งข้อมูลข่าวสารไปยังสาธารณชน(Public) หรือชุมชน (Community) ได้ร่วมรับรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันอีกด้วย หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพจากคนอ่านข่าว ฟังข่าว ดูข่าว เป็นนักข่าว นักวิเคราะห์ และนักวิจารณ์ โดยปรากฏการณ์ลักษณะนี้กำลังกลายเป็นแนวโน้มใหม่ของแวดวงสื่อสารมวลชนทั่วโลก ซึ่งนักวารสารศาสตร์ยุคใหม่ เรียกปรากฏการณ์การรับสาร ส่งสาร และการสร้างข่าวสารในลักษณะนี้ว่า “วารสารศาสตร์พลเมือง (CitizenJournalism)”

              จากสถานการณ์ความไม่สงบที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในประเทศของเราขณะนี้ มีข้อสังเกตุจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ เช่น การปลุกระดมชึ􀃊นำมวลชนให้ต่อต้านอำนาจรัฐจากแกนนำที่อยู่นอกประเทศด้วยเทคโนโลยี VDO Link ด้วยการใช้การสื่อสารผ่านระบบ Broadband Internet การรายงานเหตุการณ์และการกระจายข่าวสารที่เกิดขึ้นในรูปแบบดิจิทัล (VDO clip) สู่เว็ปไซท์สังคมเครือข่าย (Social network)อย่างเช่น YouTube และ Blog ต่างๆอย่างทันที่ทันใดจากประชาชนผู้เห็นเหตุการณ์ที่บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมถึงการสื่อสารในกลุ่มประชาชนที่ใช้อินเทอร์เน็ตในเรื่องที่เกี่ยวข้องผ่านสังคมเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Hi5 หรือ IM (Instant Messaging) เป็นต้น จนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความมั่นคงของชาติอย่างทันทีทันใด (Real time)

 :newe9: :yoyox32: :newe11: :l52: