ผู้เขียน หัวข้อ: โซเซียลมีเดียเส้นทางสื่อสารใหม่ของสื่อสารสาธารณะ  (อ่าน 6958 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

plaza

  • บุคคลทั่วไป
โซเซียลมีเดียเส้นทางสื่อสารใหม่ของสื่อสารสาธารณะ
Posted on April 29, 2011 by smartkurve


มติชน

เมื่อวันศุกร์ที่ 22 เม.ย. 2554 ที่โรงแรมโฟร์วิงส์ เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group: MWG)ได้จัดงานเสวนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Media Advocacy Training on Social Media for Migrant Working Group”โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ Social Media ขององค์กรไม่แสวงหากำไร และการอบรมเรื่องการใช้ Social Media 4 PR หรือ การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการประชาสัมพันธ์การสื่อสาร เพื่อเป็นการเปิดเผยกลยุทธ์และเทคนิคในการโซเชียลมีเดียและเครื่องมือเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด

ในการพูดคุยหัวข้อ “ความสำคัญของโซเซียลมีเดีย (Socia Media) กับการสื่อสารสาธารณะ” มีวิทยากรอบรมให้ความรู้คือ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการสำนักข่าวประชาไท และสมบัติ บุญงามอนงค์ เว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์เพื่อสังคมหลายแห่งและอดีตประธานกรรมการมูลนิธิ กระจกเงา

สมบัติ บุญงามอนงค์ ได้อธิบายว่าพัฒนาการการเผยแพร่ความรู้เริ่มจากข้อมูล ในอดีตประเทศจีนมีจองหงวนคัดตัวอักษรเพื่อสืบต่อหนังสือหรือองค์ความรู้ (Information) ยิปซีเป็นคนเดินทางเป็นผู้รู้และอธิบายเพราะเห็นโลกกว้าง (Vistion) การเห็นโลกกว้างขึ้น คือ Vision และ ส่งต่อไปได้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ การถ่ายทอดข้อมูลสู่วงกว้าง เริ่มตั้งแต่การมีเครื่องพิมพ์ ทำให้มีการพิมพ์หนังสือ สิ่งพิมพ์ และทำให้คนเข้าถึงความรู้ได้มากขึ้น ดังนั้นจึงเริ่มมีความรู้สาธารณะมากขึ้น “Time ยกย่องว่าหนังสือเป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่มีอิทธิพลกับมนุษย์มากที่สุดในโลก”

ต่อ มาหลังจากที่มีพัฒนาวิทยุขึ้น ซึ่งเริ่มแรกส่วนใหญ่ถูกใช้งานโดยรัฐสามารถสื่อสารไปสู่ประชาชนซึ่งเป็นการ สื่อสาร one way (อยู่ ภายใต้การควบคุมของรัฐ) จากวิทยุพัฒนามาเป็นภาพยนตร์ และต่อมาคือโทรทัศน์ อนาล็อก และมีดาวเทียม ส่งสัญญาณแบบดิจิตอล พัฒนาการไปสู่โทรศัพท์ การติดต่อกันทางจดหมายและแฟกซ์ การผลิตข้อมูลลงสู่ CD ระบบ การผลิตแบบดิจิตอล ทำให้ต้นทุนการการผลิตสื่อและทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยน แบบนี้ถูกกว่าการพิมพ์ออกมาเป็นสื่อสิ่งพิมพ์แบบเดิม ด้วยเทคโนโลยีทำให้สามารถผลิตได้มากด้วยต้นทุนที่ไม่สูง

การ ปฏิวัติรูปแบบการสื่อสารครั้งใหญ่ คือ การมี คอมพิวเตอร์บุคคล (Personal computer: PC) การสื่อสารทางอีเมล การมีโทรศัพท์มือถือ หลังจากนั้นมี modem มี internet จึงกลายเป็น ICT (Informational communication Technology) เป็นการสื่อสารข้ามเวลาและระยะทาง “เทคโนโลยีพัฒนา ทำให้ระบบการสื่อสารเปลี่ยน คนเปลี่ยนสังคมเปลี่ยน”

บทบาทของ NGO คือเป็นผู้ผลิต information ข้อมูล จึงต้องเข้าใจการใช้ผลผลิตนี้ และวิธีการถ่ายทอดส่งต่อความรู้ออกไป ขายความคิด แนวคิดแนวทาง New Media: วิทยุชุมชน อินเตอร์เน็ต Social Network
ประเด็นฉุกคิดต่อไป คือ บทเรียนจากการนำ New media มาใช้ในงานพัฒนาอย่างไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร นาย สมบัติได้แบ่งปันตัวอย่างการทำงานที่ใช้ New media มาเป็นตัวช่วยเร่งระดมอาสาสมัครในกิจกรรมต่างๆ ของมูลนิธิกระจกเงา ซึ่งสามารถดึงคนมาได้มากและทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น

จีรนุช เปรมชัยพร ได้กล่าวถึงประเด็นประสบการณ์การทำงานด้านสื่อ โดยมีพื้นฐานการทำงานเรื่องการสื่อสารทางสังคมที่เน้นเกี่ยวกับโรคเอดส์ มาก่อน (เกี่ยวกับการเข้าถึงข่าวสารข้อมูล Access ให้ กับผู้ที่เกี่ยวข้อง) การป้องกัน และให้เกิดการยอมรับผู้ติดเชื้อ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นด้านสื่อสารจากจุดนั้น เพื่อสื่อสารไปสู่สาธารณะเป็นแผนกกระแสเสียง โดยมีแนวคิดว่าความสำเร็จในการสื่อสารต้องให้ความสำคัญและจริงจังไม่ใช่เป็น เพียงแผนกหนึ่งขององค์กร แต่เป็นการนำการสื่อสารออกไปสู่ความเข้าใจสู่สังคมให้ได้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสื่อสารและทำให้การทำงานแตกต่างกันไปถูกพิจารณาด้วย คำถามพื้นฐานเหล่านี้ได้แก่

+ สื่อสารกับใคร ใครเป็นผู้รับสารและมีเครื่องมืออะไรบ้างที่กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงได้
+ เป้าหมายการสื่อสารกับสาธารณะคืออะไร เช่น เพื่อให้เกิดการตระหนักในสังคม
+ อะไรเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร

ใน ความคิดเห็นและจากประสบการณ์การทำงานของ”จิ๋ว” ช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีพลังมากที่สุด คือการสื่อสารระหว่างบุคคล แต่ใช้กำลังคนและงบประมาณเยอะจึงต้องคิดถึงความคุ้มค่าของการลงทุน ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่าง New Media กับ Social Media คือ

New Media เป็น ความใหม่ของรูปแบบการสื่อสารที่ไม่ติดกรอบเดิม มีการกระจายตัวไม่ถูกครอบคลองด้วยอำนาจเนื่องจากเทคโนโลยีมีการกระจาย และเปิดโอกาสให้คนเข้าไปเป็นเจ้าของโดยไม่ต้องอาศัยทุนและอำนาจที่มาก ตัวอย่างเช่น วิทยุชุมชน มีรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากรูปแบบทางการของการสื่อสารทางวิทยุแบบเก่า อินเตอร์เน็ตผู้เข้าถึงได้มากขึ้น โดยที่ไม่ต้องใช้ทุนสูง Social Media เป็นสื่อที่ต้องอาศัยเครือข่ายทางสังคมเพื่อให้เกิดพลังเพิ่มเติม เช่น Facebook, YouTube, Twitter ซึ่งเป็นคนเล็กๆ รวมกันเกิดพลังที่อาจทำให้ส่งกระแสสู่สังคมได้

ส่วนการใช้ social media เป็นเครื่องมือเสริมจากเว็บไซด์หลัก เพื่อนำคนเข้ามาสู่เครื่องมือหลักให้ได้ Social media อาศัย พลังของสังคมในการทำให้สื่อโตขึ้น มีการเชื่อมโยงของสื่อแบบเครือข่ายทางสังคม เป็นโอกาสสำหรับคนตัวเล็ก ๆ ที่เชื่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงสังคม ในการทำสื่อออนไลน์ social network เหล่านี้เป็น Sticky Net เป็นเทคนิควิธีการเพื่อให้มีโอกาสเชื่อมต่อกันได้มากขึ้น ในสิ่งที่คนใช้อยู่ตลอดเวลาและสามารถใช้ผ่านมือถือได้ด้วย Social Media เป็นสิ่งที่ผูกผู้ใช้ให้ติดกับเครื่องมือนั้น ดังนั้นผู้ผลิตข้อมูลจึงควรนำข้อมูลไปติดไว้กับเครื่องมือ Social Media ที่ผู้คนเขาใช้ เช่น นักข่าวพลเมือง สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว ด้วยกล้องมือถือ และส่งเข้า twitter ได้ ซึ่งอาจถือได้ว่า twitter เป็นวิทยุส่วนตัว ลักษณะคือ รวดเร็ว ทันต่อกระแส ซึ่งสามารถเช็คข่าวสารได้อย่างรวดเร็วก่อนสื่ออื่นๆ

ทั้งนี้ Twitter ต่างกับ Facebook เพราะรวดเร็วกว่า ส่วน Facebook มีความหลากหลายกว่า Twitter สามารถ เข้าถึงคนที่ใช้โทรศัพท์เนื่องจากมีเลขหมายเป็นสองเท่าของประชากร ซึ่งการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีเพียง 27 เปอร์เซ็นต์ดังนั้นการสื่อสารผ่านโทรศัพท์จึงดีกว่า

และในการใช้ Social Media ต้องระวังอย่าได้ใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้กลายเป็น spam (โฆษณา/เมลขยะออนไลน์ ที่ผู้รับไม่ต้องการรับ) ควรคำนึงถึงการสื่อสารระหว่างบุคคล ที่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างบุคคล หากมีการใช้มากเกินไปคนอาจจะเบื่อหน่าย เพราะ Social Media ไม่ ใช่การสื่อสารทางเดียว ต้องใช้เหมือนกับเราพูดคุยระหว่างบุคคล การใช้ในเวลาที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่อกันจะทำให้ได้ประสิทธิภาพมากกว่า ดังนั้นควรคำนึงถึงการนำเครื่องมือมาส่งข้อมูลให้ถูกเวลา แลกเปลี่ยนกับคน โดยทั้งนี้ต้องใช้ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล (inter personal communication) ด้วย

ในหัวข้อ Social Media 4 PRนำเสวนาโดย ชีพธรรม คำวิเศษณ์ สื่อสารมวลชนผู้เชียวชาญด้าน e-Business กล่าวว่าเทคนิคประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดีย (Social Media for public relation: PR) นั้นควรคำนึงถึง การติดต่อสื่อสารกับผู้สื่อข่าวการติดต่อผ่านช่องทางต่างๆ (เบอร์โทร, อีเมล) และการเขียนข่าวอย่างไรให้ผู้สื่อข่าวสนใจเพื่อนำไปเสนอหน้าสื่อหลัก รวมถึงการเลือกช่องทางการสื่อสาร (PR Channel) ให้เหมาะสม เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต แมกกาซีน รวมถึงการจัดการแถลงข่าว (Press conference) ที่ต้องสร้างความน่าสนใจดึงคนมาร่วม