แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - ครูสุรพล กิ่มเกลี้ยง

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
91
 
:yoyo_71: :newe10: :l21: :l7: :yoyo_89: :newe12:
 [PZ01] [PZ02] [PZ03] [PZ04]

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีเครือข่าย มีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน และ
หากใช้เครือข่ายในทางที่สร้างสรรค์ ยิ่งเป็นเครือข่ายออนไลน์ ที่สามารถรวมกลุ่ม ร่วมกันได้ทั่วโลก
แทบไม่มีข้อจำกัด จะยังประโยชน์หรือคุณค่ามากน้อยเพียงใด ก็อยู่ที่ ผู้ใช้แล้ว...

ครูสุรพล  กิ่มเกลี้ยง

 >:D >:D >:D >:D >:D

93
รายวิชา เว็บไซต์ CMS / ย้ายแล้ว: รายงานตัว
« เมื่อ: วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2011, 07:47:35 »

94
เป็นผลงานที่ผ่านตา กรรมการในระดับ รางวัล ชนะเลิศ อันดับ 1 ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระดับ อาชีวะมาแล้ว หัวข้องาน "สามัคคี รวมใจไทย เป็นหนึ่งเดียว"


ดูเป็นแนวทาง


ฝากเป็นข้อคิด

"อย่าคิดว่า เราทำไม่ได้ โดยที่ยังไม่ได้ลงมือทำ เต็ม 100"
"เก่งไม่กลัว กลัวแต่ไม่เก่งจริง"
"หากไม่มีพรสวรรค์ แต่เรายังมี พรแสวง"

 ;D ;D ;D ;D ;D

ครูสุรพล


 ;0 ;0 ;0 ;0 ;0

95
บูรณาการกราฟิกกับงานแอนิเมชั่น

<a href="http://ict.warin.ac.th/images/ta3.swf" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://ict.warin.ac.th/images/ta3.swf</a>

96
รายวิชา งานกราฟิค( ม.4, ม.5 และ ม.6 ) / Work1
« เมื่อ: วันที่ 11 พฤศจิกายน 2010, 08:32:08 »
การตัดต่อและย้ายภาพ
คำอธิบาย

กรุณาที่ที่

www.warin.ac.th/ict1


โดยดาวน์โหลดภาพต้นแบบตามที่ระบุมาดำเนินการหรือ



แล้วนำส่งเข้าระบบโดยแนบไฟล์ให้เรียบร้อย

97
คำสั่งยูนิกส์ Command Line (Linux ตอนที่1)

ls
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับ dirของDOS) มากจากคำว่า list
รูปแบบคำสั่ง ls [option] [file]
option ที่มักใช้กันใน ls คือ
-l จะแสดงผลลัพธ์แบบ Long Format ซึ่งจะแสดง Permission ของแฟ้มด้วย
-a จะแสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมด
-F จะแสดง / หลัง Directory และ * หลังแฟ้มข้อมูลที่ execute ได้
ตัวอย่างการใช้งาน  ls –l     ls -al     ls -F

adduser
คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน adduser -g (group) -d (Directory) (User)
ตัวอย่าง adduser -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root

useradd
คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux (ใช้เหมือนกับคำสั่ง adduser)
รูบแบบการใช้งาน useradd -g (group) -d (Directory) (User)
ตัวอย่าง useradd -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root

userdel
คำสั่งลบ User ออกจากระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน userdel [option] (Username)
ตัวอย่าง userdel -r root user1 ลบ User ชื่อ Login คือ User1 และ -r คือให้ลบ Home Directoryของ User1 ด้วย
passwd
คำสั่งกำหนดและแก้ไขรหัสผ่านของ User ของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน passwd [Username]
ตัวอย่าง passwd user1 (กำหนดรหัสผ่านให้ User1 ถ้าไม่พิมพ์ ชื่อ User ระบบUnixจะหมายความว่าแก้ไขรหัสผ่าน
ของคนที่Loginเข้ามา)

alias
คำสั่งกำหนดคำสั่งย่อของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่ง SETในDOSแต่สามารถใช้เปฝ้นคำสั่ง RUNได้)
รูบแบบการใช้งาน alias [ชื่อใหม่=ข้อความ]
ตัวอย่าง alias copy=cp กำหนดให้พิมพ์ copy แทนคำสั่ง cpได้

bash
คำสั่งเรียกใช้ Bourne again shellของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน bash
ตัวอย่าง bash [Enter] ( เรียกใช้ Bourne again shell)

bc
คำสั่งเรียกใช้โปรแกรมคำนวณเลขของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน bc [-lwsqv] [option] [file]
ตัวอย่าง bc [Enter] 1+2 [Enter] 1^2 [Enter] a=3 [Enter] b=4 [Enter] a*b [Enter] x=2;y=5;x+y[Enter] [Ctrl-d] เพื่อออก
หมายเหตุ:คำสั่งนี้จะใช้ได้ต้องInstall Packet ลงไปก่อน

cp
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับสำเนาแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับcopyของDOS) มาจากคำว่า copy
รูปแบบคำสั่ง cp source target
ตัวอย่างการใช้งาน #cp test.txt /home/user1

cal
คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน cal
ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน)
cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน)

cat
คำสั่งแสดงข้อความในFileของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cat
ตัวอย่าง cat /home/user1 | more อ่านข้อมูลจากไฟล์/home/user1ถ้ายาวเกินหน้าให้หยุดทีละหน้าจอ

C Compiler
คำสั่งCompile ภาษาCของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cc [filename]
ตัวอย่าง cc /home/user1/industry.c จะสั่งให้ระบบCompile ภาษาC ไฟล์ชื่อ industry.c ที่ Directory /home/user1

cd
คำสั่งChange Directoryของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งCDของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cd [directory]
ตัวอย่าง cd /etc [Enter]ไปDirectory etc
cd ..[Enter] ย้ายไปDirectoryอีก1ชั้น

chfin
คำสั่งChange your finger informationของระบบ Unix,Linux (เป็นการกำหนดข้อมูลของUser
เช่น ชื่อเต็ม ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์)
รูบแบบการใช้งาน chfn [username]
ตัวอย่าง chfn User1 กำหนดรายละเอียดUser1

chgrp
คำสั่งChange Groupของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chgrp [-chfRv] (Group) (File)
ตัวอย่าง chgrp root /root/* เปลี่ยนGroupให้กับไฟล์ทุกไฟล์ในไดเรคทอรี่ /root ให้เป็น Group root

chmod
คำสั่งChange Modeของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนสิทธิการเข้าถึงไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chmod [สิทธิ] (File)
ตัวอย่าง กำหนดสิทธิให้กับไฟล์ชื่อtest คือ chmod 754 test หรือ chmod go +r-w testให้กับไฟล์ทุกไฟล์ chmod o-r *
ตัวเลขMode rwx = 7 ; rw - =6 ; r-x =5 ; r- - = 4 ; - wx = 3 ; - w - = 2 ; - - x = 1 ; - - = 0
การกำหนดสิทธิกำหนดได้2ลักษณะคือ
1.กำหนดโดยใช้อักษรย่อกลุ่ม
2.ใช้รหัสเลขฐาน2แทนสิทธิ (1 คืออนุญาต)
กลุ่มผู้ใช้ User Group Other = ugo เช่น go-r-w+x คือกลุ่ม และคนอื่นไม่มีสิทธิอ่านเขียนแต่Runได้
สิทธิ์การใช้ -rwx rwx rwx = Read Write Execute
รหัสเลขฐาน 111 101 100 = 754 คือเจ้าของไฟล์ใช้ได้ครบ คน Group เดียวกันอ่านExecuteได้นอกนั้นอ่านได้อย่างเดียว

chown
คำสั่งChange Ownerของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chown [ซื่อเจ้าของไฟล์] (ชื่อFile)
ตัวอย่าง chown user1 filename คือเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ชื่อ filename เป็นUser1
chown -R user1.root dirname คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname.

chsh
คำสั่งchshของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนShell ให้ User)
รูบแบบการใช้งาน chsh [Username]
ตัวอย่าง chsh user1 [Enter] /bin/bash [Enter]

clear
คำสั่งclearของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบข้อความบนจอภาพ คล้ายกับคำสั่ง clsใน dos)
รูบแบบการใช้งาน clear
ตัวอย่าง clear [Enter]

cal
คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน cal
ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน)
cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน)

mesg
mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminal
mesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้
mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้

date
ใช้แสดง วันที่ และ เวลา
ตัวอย่าง date 17 May 2004

df
คำสั่งdf ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์)
รูบแบบการใช้งานdf [option] [file]
ตัวอย่าง df [Enter]

dmesg
คำสั่งdmesgของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงผลเหมือนตอน Boot)
รูบแบบการใช้งาน dmesg
ตัวอย่าง dmesg | more [Enter]
หมายเหตุ คำสั่งนี้ ใช้ตรวจสอบ เมื่อเกิดปัญหา เช่น Linux ไม่รู้จัก Driver CD-Rom หรือปัญหาอื่นๆ

echo
คำสั่งechoของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงข้อความ เหมือนกับ ECHOของDOS)
รูบแบบการใช้งาน echo (ข้อความที่ต้องการให้แสดงผล)
ตัวอย่าง echo my name is user1
echo Hello > /dev/tty2 ส่งข้อความ Hello ไปออกจอเทอร์มินอลที่2
ed
คำสั่ง ed ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file เหมือนกับคำสั่ง edlinของDOS)
รูบแบบการใช้งาน ed (fileName)
ตัวอย่าง ed /home/user/test (ออกกดq)
สำหรับคนที่ไม่ถนัดคำสั่งนี้แนะนำให้ใช้คำสั่ง picoหรือvi หรือemacsแทนได้เช่นกัน

emacs
คำสั่ง emacs ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file )
รูบแบบการใช้งาน emacs (fileName)
ตัวอย่าง emacs /home/user/test (help กด Ctrl - h ; ออกกด Ctrl - x Ctrl - c)

exit
คำสั่ง exit ของระบบ Unix,Linux (ออกจากระบบยูนิกส์ )
รูบแบบการใช้งาน exit
ตัวอย่าง exit

finger
คำสั่ง finger ของระบบ Unix,Linux (แสดงชื่อUserที่กำลังLoginเข้ามาแต่คำสั่ง Whoจะให้รายละเอียดดีกว่า)
รูบแบบการใช้งาน finger [username]
ตัวอย่าง finger user1 แสดงชื่อและรายละเอียด user1

fsck
คำสั่ง fsck ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่ง ตรวจสอบและซ่อมแซม Linux file system เหมือนกับ
คำสั่งScandisk ของDos)
รูบแบบการใช้งาน fsck [option]
ตัวอย่าง /sbin/fsck -a /dev/hd1

ftp
คำสั่ง ftp ของระบบ Unix,Linux (เป็นโปรแกรมรับ-ส่งไฟล์ )
รูบแบบการใช้งาน ftp (IP or Name of FTP Server )
ตัวอย่าง ftp 132.209.1.2 [Enter]

Login:anonymous , Password: Username@YourDomain.com
คำสั่งที่เกี่ยวข้อง ls - ดูไฟล์ ; pwd -ดูdir. ที่อยู่ ;cd - เปลี่ยน dir ;lcd - เปลี่ยน local dir ;mput* -ส่งไฟล์ ;mget – รับ
ไฟล์ ;bye - ออก

grep
คำสั่ง grep ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้ค้นหาตามเงื่อนไข )
รูบแบบการใช้งาน grep (option)
ตัวอย่าง grep -i ftp /etc/test ค้นหาบรรทัดที่มีคำว่า "ftp"ไม่สนใจพิมพ์เล็ก-ใหญ่ จาดไฟล์ /etc/test

groupadd
คำสั่ง groupadd ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเพิ่มรายชื่อกลุ่มของ User)
รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName )
ตัวอย่าง #groupadd staff สร้างกลุ่มของ User ชื่อ Staff เพิ่มให้ระบบ

groupdel
คำสั่ง groupdel ของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบรายชื่อกลุ่มของ User)
รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName )
ตัวอย่าง #groupdel staff ลบกลุ่มของ User ชื่อ Staffออกจากระบบ

gzip/gunzip
คำสั่งgzip/gunzipของระบบ Unix,Linux (เป็นการบีบอัดไฟล์หรือขยายบีบอัดไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน gzipหรือgunzip (-cdfhlLnNrtv19 ) [file]
ตัวอย่าง #gzip -9vr /home/samba/* บีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ ในSub /home/samba จะเปลี่ยนเป็นนามสุกล .gz
#gunzip -dvr /home/samba/* คลายการบีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ที่สกุล .gz ในSub /home/samba

halt
คำสั่ง halt ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้เครื่องหยุดทำงาน)
รูบแบบการใช้งาน halt [-n] [-w] [-d] [-f] [-I] [-p]
ตัวอย่าง #halt
คำสั่งที่เกี่ยวข้อง คือ Shutdown ; init0 , reboot

history
คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการดูประวัติการใช้คำสั่งในCommand line คล้ายกับ
การกดF7ในDOSคือเรียกใช้คำสั่งDos key)
รูบแบบการใช้งานhistory [n] [-r wan [filename] ]
ตัวอย่าง #history 20 ดูคำสั่งที่เพิ่งใช้ไป20คำสั่งที่แล้ว

ifconfig
คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบกำหนดค่าNetworkของLan Card)
รูบแบบการใช้งาน ifconfig [option]
ตัวอย่าง #ifconfig

ipchains
คำสั่ง ipchains ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall)
รูบแบบการใช้งาน ipchains [parameter] command [option]
ตัวอย่าง #ipchains -L ดูสถานะการ Set IPchainsในปัจจุบัน

jobs
คำสั่ง jobs ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall)
รูบแบบการใช้งาน jobs
ตัวอย่าง #sleep 20 & jobs

kill
คำสั่ง kill ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับยกเลิก Process)
รูบแบบการใช้งาน kill [option] (process ID)
ตัวอย่าง ps -A ดูหมายเลขที่ช่อง PIDของProcess ที่ต้องการลบ
Kill -9

login
คำสั่ง login ของระบบ nnn แทนnnnด้วยหมายเลขPID -9 คือบังคับฆ่าให้ตาย
Unix,Linux (เป็นคำสั่งการเข้าระบบหรือเปลี่ยน User Login) รูบแบบการใช้งาน login [fp] (UserName)
ตัวอย่าง #login:root

mkdir
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า make directory
รูปแบบของคำสั่งmkdir mkdir [option] [file]
โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ
-m จะทำการกำหนด Permissioin (ให้ดูคำสั่ง chmod เพิ่มเติม)
-p จะทำการสร้าง Parent Directory ให้ด้วยกรณีที่ยังไม่มีการระบุ directory ในที่นี้อาจเป็น relative
หรือ absolute path ก็ได้
ตัวอย่าง
mkdir /home
mkdir -p -m755 ~/้home/user1

mv
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการย้ายแฟ้มข้อมูลและ Directory รวมถึงการเปลี่ยนชื่อด้วย (ในทำนองเดียวกับ dos)
มาจากคำว่า move
รูปแบบคำสั่ง mv source target
ตัวอย่าง mv *.tar /backup
mv test.txt old.txt
mv bin oldbin

more
คล้ายกับคำสั่ง cat ไม่เหมาะกับการดูข้อมูลที่มีความยาวมากๆ ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนา more ขึ้น
เพื่อช่วยให้สามารถดูข้อมูลที่มีขนาดยาวได้เป็นช่วงๆ
รูปแบบคำสั่ง more file
ภายในโปรแกรม more จะมีคำสั่งเพื่อใช้งานคราวๆ ดังนี้
= แสดงเลขบรรทัด
q ออกจากโปรแกรม
เลื่อนไปยังหน้าถัดไป เลื่อนไปยังบรรทัดถัดไป
h แสดง help
ตัวอย่าง more test.txt

man
คำสั่ง man ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งแสดงข้อความ อธิบายการใช้คำสั่ง)
รูบแบบการใช้งานman (Command)
ตัวอย่าง #man ls
หมายเหตุ เมื่อต้องการออก กด q ;-b|-k|-m]
โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ
-b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte
-k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte
-m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyte
ตัวอย่าง free     free –b  free -k

pwd
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดง Directory ปัจจุบัน (ในทำนองเดียวกับการพิมพ์ cd บน DOS) มาจากคำว่า print work directory
รูปแบบคำสั่ง / ตัวอย่าง pwd

uname
คำสั่งแสดง ชื่อและรุ่นของ OS ชื่อและรุ่นของ cpu ชื่อเครื่อง
ตัวอย่าง uname -a

hostname
คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่
ตัวอย่าง hostname

tty
แสดงหมายเลข terminal ที่ใช้งานอยู่
ตัวอย่าง tty

id
ใช้แสดงชื่อและกลุ่มมของผู้ใช้งาน
ต้วอย่าง id

ที่มา : ensthai.com

=============================

ls     ใช้ลิสต์ดูข้อมูล
ls   -al    ใช้ลิสต์ดูข้อมูลแบบละเอียด
pwd    ดูพาทที่อยู่ในปัจจุบัน
cd  /etc    เข้าไปในห้อง etc
cd ..    ถอยกลับ 1 ระดับ
cd \    กลับไดเร็กทอรีหลัก
mkdir  data1
mkdir  sys    สร้างไดเร็กทอรี data1
สร้างไดเร็กทอรี sys
rm -rm data1    ลบไดเร็กทอรี data1
     
การจัดการไฟล์และไดเร็กทอรี    
การสร้างไฟล์
วิธีที่ 1    
cat > admin.sh
xxxxxxxxx พิมพ์ข้อความที่ต้องการ
กด Crtl+D เพื่อบันทึกและออก
   สร้างไฟล์ชื่อว่า admin.sh
cat admin.sh    ดูรายละเอียดในไฟล์ admin.sh
cat  /etc/passwd    ดูรายละเอียดในไฟล์ passwd ในไดเร็กทอรี etc
cat >> admin.sh
พิมพ์ข้อความที่ต้องการ
กด Crtl+D เพื่อบันทึกและออก    พิมพ์ข้อความต่อท้ายไฟล์ admin.sh
     
วิธีที่ 2    
vi  member.txt
กดปุ่ม i เพื่อแทรก
พิมพ์ข้อความที่ต้องการ
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
กดปุ่ม ESC
กดปุ่ม
: wq    บันทึกและออก
:w       บันทึก
:q        ออกไม่บันทึก
:wq!    บันทึกไฟล์ที่เป็น read-only

   
     
cp member.txt   member2.txt    คัดลอกไฟล์ member.txt เป็น member2.txt
cp member.txt  /sys    คัดลอกไฟล์ member.txt ไว้ในไดเร็กทอรี sys
mv member.txt  /sys    ย้ายไฟล์ member.txt ไว้ในไดเร็กทอรี sys
rm member2.txt    ลบไฟล์ member2.txt
     
history    ดูประวัติการใช้คำสั่ง
cat /root/.bash_history    ไฟล์เก็บคำสั่งการทำงาน
 
การบริหารบัญชีผู้ใช้    
การสร้างกลุ่มผู้ใช้    
# groupadd  staff       สร้างกลุ่มผู้ใช้ชื่อว่า staff
# groupadd  std    สร้างกลุ่มผู้ใช้ชื่อว่า std
# cat  /etc/group    ดูชื่อกลุ่มผู้ใช้ที่สร้างแล้ว
     
การเพิ่มบัญชีผู้ใช้    
# useradd  arnut  -g  staff    เพิ่มผู้ใช้ชื่อ arnut ไว้ในกลุ่ม staff
# useradd  bee  -g  std    เพิ่มผู้ใช้ชื่อ bee ไว้ในกลุ่ม std
# passwd  arnut [enter]
xxxx ป้อนรหัสผ่าน
xxxx ยืนยันรหัสผ่าน    กำหนดรหัสผ่านให้ผู้ใช้ชื่อ arnut
# cat  /etc/passwd
   ดูรายชื่อผู้ใช้ที่เพิ่มแล้ว
# cat   /etc/shadow    ไฟล์เก็บรหัสผ่าน
# ls  /home    ดูห้องเก็บข้อมูลผู้ใช้
การเพิ่มผู้ใช้แบบพิเศษ
# useradd  -g  hrd  -s  /bin/false -c "Mr.Peter" peter

hrd เป็นชื่อกลุ่ม
perter เป็นชื่อบัญชีผู้ใช้

   
การลบบัญชีผู้ใช้ออกจากระบบ    
# userdel  arnut    ลบบัญชีผู้ใช้ชื่อ arnut ไม่ลบ home directory
# userdel  -r  arnut    ลบบัญชีผู้ใช้ชื่อ arnut ลบ home directory ด้วย
     
การเปลี่ยนโหมดไฟล์    
# ls -al    ดูรายละเอียดโหมดไฟล์
-
   
rwx
   
rwx
   
rwx
   
u
   
g
   
o

- เป็นไฟล์หรือไดเร็กทอรี
r = read อ่านได้
w = write เขียนได้
x = Execute คอมไพล์ได้
u = user เจ้าของไฟล์ (Owner)
g = group บุคคภายในกลุ่ม
o = other บุคคลภายนอก
a = ugo    มีทั้งหมด 10 หลัก
สามารถทำได้ 2 รูปแบบ    
แบบที่ 1 การอ้างจากกลุ่มโดยตรง

   
chmod  ug+x test1.pl    เพิ่มสิทธิให้เจ้าของไฟล์และบุคคลในกลุ่มสามารถคอมไพล์ได้
chmod a+x test1.pl    ให้ทุกคนสามารถรันไฟล์ได้
     
แบบที่ 2 แบบเลขฐานสอง    
-
   
rwx
   
rwx
   
rwx
   
u
   
g
   
o
1 = - -x
2 = -w-
3 = -wx
4 = r- -
5 = r-x
6 = rw-
7 = rwx

   
chmod 755 test.pl    เจ้าของไฟล์สามารถทำได้ทุกอย่าง บุคคลในกลุ่มและบุคคลภายนอกสามารถ
chmod 666 config.php    ให้ทุกคนสามารถอ่านและเขียนไฟล์ได้
     
     
การเปลี่ยนชื่อเจ้าของไฟล์    
# chown  bee data    ให้ bee เป็นเจ้าของไดเร็กทอรี data
     
     
การเปลี่ยนกลุ่มผู้ใช้ (Chgre)    
รูปแบบ
chgrp groupname text.txt option
เช่น
chgrp   staff   test1.txt
   
     
     
การจัดการ Process    
# ps   -aux    ดูโปรเซสระบบ
# kill  -9   3452    ตัดโปรเซสหมายเลข 3452 ออกจากระบบ
     
คำสั่งจัดการ Package    
RPM = RedHat Package Management    
rpm  -q httpd    ตรวจสอบแพกเก็จ Apache Web Server ว่าถูกติดตั้งหรือยัง
rpm  -ql httpd |more
หรือ
rpm  -ql httpd |less

    ตรวจสอบแพ็กเกจแบบละเอียด
rpm  -i  mc-version    ติดตั้งแพ็กเกจ
rpm  -ivh  mc-version     ติดตั้งแพ็กเกจ พร้อมดูขั้นตอนติดตั้ง
rpm  -Uvh  httpd-version     อัปเกรดแพ็กเกจ
rpm -ivh --nodeps httpd-version    ติดตั้งแบบไม่สนใจ
     
การติดตั้งไฟล์ .tar.gz
# tar -zxvf ชื่อแพ็กเกจ.tar.gz   < แตกไฟล์
# cd ชื่อแพ็กเกจ  < เข้าไปในไดเร็กทอรี
# ls  < ดูข้อมูล
# ./configure
# make
# make install

หรือสามารถติดตั้งโดยใช้คำสั่ง
# gzip -cd ชื่อแพ็กเกจ.tar.gz | tar xvf  -

===================================

ห้องเก็บข้อมูลต่างๆ ของ Linux
 
/    ไดเร็กทอรีราก
/bin    เก็บคำสั่งที่ต้องการให้ผู้ใช้ใช้งาน
/boot    เก็บแฟ้มที่จำเป็นในการบู๊ต
/dev    เก็บรายชื่ออุปกรณ์
/etc    เก็บค่าคอนฟิกไฟล์ของระบบ
/home    เก็บไดเร็กทอรีของผู้ใช้หลังจากเราเพิ่มผู้ใช้เข้าระบบ
/lib    เก็บไฟล์ไลบารี
/mnt    ที่เก็บข้อมูลชั่วคราวหลังการ mount
/opt    ไดเร็กทอรีเสริม ไว้สำหรับติดตั้งซอฟต์แวร์ทางการค้า
/proc    ไดเร็กทอรีโปรเซสที่กำลังรันอยู่
/root    ไดเร็กทอรีหลักของผู้ดูแลระบบ (root)
/sbin    เก็บคำสั่งของ root
/tmp    เก็บแฟ้มชั่วคราวสำหรับผู้ใช้
/usr    ไดเร็กทอรีนี้จะอ่านได้อย่างเดียว
/var    เก็บเว็บไซต์องค์กร, Mailbox, Log Files ต่างๆ
 
การ Mount อุปกรณ์
การ Mount CD-ROM
# mount  /dev/cdrom   /mnt/cdrom   
# cd  /mnt/cdrom
# ls

การยกเลิกการ Mount CD-ROM
# cd  \
# umount  /dev/cdrom
# eject
----------------------------------------------
การ Mount Floppy Disk
# mount  /dev/fd0   /mnt/floppy
# cd  /mnt/floppy     เข้าใช้งาน
# ls    ตรวจสอบข้อมูล

การยกเลิกการ Mount Floppy Disk
# cd  \
# umount  /dev/fd0
-----------------------------------------------
การ Mount Handy Drive
# mkdir  /mnt/handy    สร้างห้องเก็บก่อนเพราะระบบยังไม่ได้สร้างให้
# mount  /dev/sda1  -t  vfat  /dev/handy   กรณีเสียบที่พอร์ต 1
# mount  /dev/sdb1  -t  vfat  /dev/handy   กรณีเสียบที่พอร์ต 2
# cd  /mnt/handy
# ls

การยกเลิกการ Mount Handy Drive
# cd  \
# umount  /dev/sda1

------------------------------------------------------------
การ Mount CD-ROM บน SuSE Linux 9.x
# mkdir   /mnt/cdrom     < สร้างห้องเก็บไฟล์ชั่วคราว ทำครั้งเดียวก็พอ
# mount  /dev/hdd   /mnt/cdrom
# cd  /mnt/cdrom
# cd suse/i586
# ls
---------------------------------------------
การดูรายชื่ออุปกรณ์
# df

=================================================

การปรับแต่ง TCP/IP
1. ไฟล์ hosts
# vi  /etc/hosts
127.0.0.1   localhost.localdomain    localhost
192.168.10.1   www.company1.com   www
 
2. ไฟล์ host.conf
# vi  /etc/host.conf
order host,bind
multi  on                         เพิ่มเข้าไปเอง
 
3. ไฟล์ resolv.conf
# vi  /etc/resolv.conf
search  company1.com
namserver 202.44.144.33          ใส่ DNS ของศูนย์บริการที่ใช้งานอยู่
namserver 202.44.144.34
 
4. ไฟล์ network
# vi  /etc/sysconfig/network
NETWORKING=yes
HOSTNAME=www.company1.com   
GATEWAY=192.168.10.1    หมายเลข Gateway
 
5. ไฟล์ ifcfg-eth0
# vi   /etc/sysconfig/network-scripts/ifcfg-eth0
DEVICE=eth0
BOOTPROTO=static
BROADCAST=192.168.10.255
IPADDR=192.168.10.1     หมายเลขไอพีแอดเดรส
NETMASK=255.255.255.0
NETWORK=192.168.10.0
ONBOOT=yes
 
หลังจากปรับเสร็จหมดแล้วให้พิมพ์คำสั่งตรวจดังนี้
# service  network  restart     รีสต๊าท LAN Card
# service network stop           ปิดการใช้งาน LAN Card
# service network start           เปิดการใช้งาน LAN Card
 
 
 
คำสั่งอื่นอื่นที่เกี่ยวข้อง
# ifconfig   ตรวจสอบ LAN Card
# route    ดูตาราง Routing table
# ifdown  eth0   ปิดการใช้งาน LAN Card
# ifup eth0    เปิดการใช้งาน LAN Card

ping (Package Internet Gopher) ใช้สำหรับทดสอบการเชื่อมต่อเครืองคอมพิวเตอร์ปลายทางว่าเปิดอยู่หรือไม่
# ping 192.168.10.1 < ทดสอบ ip address
# ping www     < ทดสอบ hostname
# ping www.company1.com     < ทดสอบโดเมนเนม
# ping www.yahoo.com   < ทดสอบโดเมนภายนอก
 
การเพิ่ม IP Address บนเครื่อง (LAN Card ใบเดียวมีหลาย IP)
# ifconfig eth0 192.168.10.2  netmask 255.255.255.0  up
# ifconfig    ดูผล

การตรวจสอบหมายเลข MAC Address
# ip link show

98
คู่มือการติดตั้ง โปรแกรม PHP-FUSION 7

เพื่อความสะดวก ครูทำคัดลอก ลงใน Word ให้แล้ว รายละเอียด ค่อยๆ ศึกษา
ใจเย็น หมั่นทำบ่อย เดี๋ยวคล่องเอง

ครู สุรพล

คู่มือชุดนี้ รวมมาจากหลากหลาย เว็บไซต์ บางส่วนครูเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์
ใช้ได้ตั้งแต่ขั้น Basic จนถึง Pro เลยที่เดียว

รายละเอียดอื่นๆ


99
รายวิชา เว็บไซต์ CMS / คู่มือการติดตั้งโปรแกรม PHP-FUSION 7
« เมื่อ: วันที่ 22 มิถุนายน 2010, 20:03:33 »
คู่มือการติดตั้งโปรแกรม PHP-FUSION 7

เพื่อความสะดวก ครูทำคัดลอก ลงใน Word ให้แล้ว รายละเอียด ค่อยๆ ศึกษา
ใจเย็น หมั่นทำบ่อย เดี๋ยวคล่องเอง

ครูสุรพล

  ;D ;D ;D ;D ;D

รายละเอียดอื่นๆ

ดูได้ที่เว็บนี้่

http://www.thai-fusion.net/articles.php


100
รายวิชา เว็บไซต์ CMS / แบบทดสอบก่อนเรียน
« เมื่อ: วันที่ 01 มิถุนายน 2010, 08:32:30 »
ให้นักเรียนดาวน์โหลดแบบทดสอบตามที่แนบไปดำเนินการสืบค้นเพื่อหาคำตอบจาก Internet
โดยตอบลงในเอกสารที่ครูแจกให้ แล้วส่งครูภายหลังการสอบเสร็จทุกคน



 :thk1 :thk2


101
รายวิชา เว็บไซต์ CMS / CMS LMS LCMS ข้อแตกต่าง
« เมื่อ: วันที่ 27 พฤษภาคม 2010, 09:37:16 »
CMS/LMS/LCMS



ตัวอย่างเว็บที่เกี่ยวข้องกับ LCMS http://www.thungsong.ac.th/lcms/about.php?lang=th



ตัวอย่างเว็บที่เกี่ยวข้องกับ LMS http://www.dek-d.com/chat/



ตัวอย่าง เว็บที่เกี่ยวข้องกับ CMS http://www.tnt.co.th/website/thai/cms/index.php



ความหมายของ ระบบการจัดการการเรียนการสอน LMS (Learning Management System)

ที่มา http://www.crma35.com/pop/OpensourceLMS/pages/lms.html
ได้ มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
กิตติพงษ์ พุ่มพวง (2547) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็นระบบจัดการการเรียนผ่านเครือข่าย มีเครื่องมือและส่วนประกอบที่สำคัญ สำหรับผู้สอน ผู้เรียนและผู้ดูแลระบบ ได้แก่ ระบบการจัดการรายวิชา ระบบการจัดการสร้างเนื้อหา ระบบการจัดการผู้เรียน ระบบส่วนการจัดการข้อมูลบทเรียน และระบบเครื่องมือช่วยจัดการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ และจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ การสื่อสาร Chat E-mail Webboard การเข้าใช้ การเก็บข้อมูลและการรายงานผ เป็นต้น

ชัยวรัตน์ ไชยพจน์พานิช (2547) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็นซอฟท์แวร์บริหารจัดการรายวิชาที่รวบรวมเครื่องมือ ซึ่งออกแบบไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ในการจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ใช้งาน 4 กลุ่ม คือ ผู้เรียน (Student) ผู้สอน (Instructor) เจ้าหน้าที่ทะเบียน (Registration) และผู้ดูแลระบบ (Administrator) ซึ่งเครื่องมือและระดับของสิทธิในการเข้าใช้ที่จัดหาไว้ให้จะมีความแตกต่าง กันไปตามแต่การใช้งานของแต่ละกลุ่ม

ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2547)ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าคือระบบที่ได้รวบรวมเครื่องมือหลายๆ ประเภทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนออนไลน์เข้าไว้ด้วยกันโดยมีจุด ประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ใช้ 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และยังครอบคลุมถึงการจัดการ (Main pulation) การปรับปรุง(Modification) การควบคุม(Control) การสำรองข้อมูล(Backup)การสนับสนุนข้อมูล(Support of data) การบันทึกสถิติผู้เรียน (Student records) และการตรวจคะแนนผู้เรียน (Graded material) ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ผ่านเว็บ โดยใช้โปรแกรมอ่านเว็บ (Web browsers) มาตรฐานทั่วไป

ประกอบ คุปรัตน์ (2547) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็นระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในระบบจัดการห้องเรียนเสมือน ทำให้สถาบันการศึกษาหรือแหล่งจัดการเรียนการสอนสามารถให้ผู้เรียนได้มี Login และ Password เพื่อมีสิทธิเข้าเรียน สามารถจัดการเลือกสรรรายวิชาที่จะเรียน มีบันทึกเกี่ยวกับเวลาและข้อมูลการเข้าเรียน และการทำรายงานผลให้กับระบบการศึกษาหรือการฝึกอบรมนั้นๆ

สาส์มศิริ เนตรประเสริฐ (2548) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็น software ที่ช่วยทำให้ผู้สอนนั้นลดภาระในการบริหารจัดการลง โดย LMS จะทำหน้าที่ในการสร้างเนื้อหา (Courseware) เพื่อใช้ในการสอนแบบออนไลน์, การตรวจสอบผู้เรียน เช่น ดูเวลาการเข้าเรียนของผู้เรียน, การตรวจสอบผลการเรียน เป็นต้น, การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรัยนโดยผ่านทาง เว็บบอร์ด, อีเล็คโทรนิคเมล (E-mail) หรือ Chat Room เป็นต้น, สามารถรายงานผลคะแนนของผู้เรียนให้ผู้สอนทราบในทันที, การกำหนดสิทธ์ของผู้เข้าใช้งานโดยการออกรหัสการเข้าใช้งาน, การคิดคำนวณคะแนนสอบของผู้เรียน รวมไปถึงการคิดค่าเฉลี่ย สูงสุด ต่ำสุด เป็นต้น จะเห็นได้ว่า LMS นั้นสามารถลดภาระหน้าที่ต่างๆ ของผู้สอนลง อีกทั้งยังช่วยประหวัดเวลาในการทำงานต่างๆ เช่นการตรวจข้อสอบ การออกเกรด

สุ จารี แจ้งจรัส (2548) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าคือระบบการการเรียน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของอีเลิร์นนิ่ง โดย LMS ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดการเรื่องการเรียน ตั้งแต่ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนโดยจะกำหนดลำดับเนื้อหาของบทเรียนตามทักษะ ความ สามารถของผู้เรียน ติดตามและบันทึกความก้าวหน้าของผู้เรียน ประเมินผลความสำเร็จ รวมทั้งสร้างรายงานผลการเรียนจนกระทั่งจบหลักสูตร

ดังนั้นสรุปได้ว่า Learning Management System หรือ LMS เป็นระบบการจัดการเกี่ยวกับการบริหารการเรียนการสอน ในรูปแบบ e-Learning เพื่อจัดการกับการใช้คอร์สแวร์ (Courseware) ในรายวิชาต่างๆ ระหว่างผู้สอน (Instructors) ผู้เรียน (Learners) และผู้ดูแลระบบ (Administrator) โดยออกแบบระบบเพื่อเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวก เช่น โปรแกรมจะทำหน้าที่ ตรวจสอบการเข้ามาใช้บทเรียน เนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ตารางเรียน ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถามตอบ การทำแบบทดสอบ เป็นต้น และองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูลกิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถ นำไปวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความหมายของ ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System : CMS )
ที่มา http://student.nu.ac.th/supaporn/cms.htm
ความหมายของระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System : CMS )
ในระบบการจัดการเนื้อหา E-Learning นั้น Content Management System ( CMS ) เป็นในส่วนของเนื้อหาวิชาที่เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้จัดทำขึ้น และนำมาใส่ไว้ในระบบฐานข้อมูลของ LMS หรือผู้สอนจัดทำขึ้นเองเป็นอิสระโดยมีระบบเหมือนกับ LMS แต่ผู้สอนสามารถจัดการบริหาร เพิ่มเติมเนื้อหา ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือบางส่วนได้ด้วยตนเอง และ คำว่า ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System : CMS ) มีผู้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้
ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System :CMS) คือ ระบบการจัดการเนื้อหาของผู้สอน เพื่อผู้เรียนจะได้นำไปศึกษาโดยไม่ต้องมีระบบการจัดการเต็มรูปแบบเข้ามาช่วย ( ปรัชญนันท์ นิลสุข : http://members.fortunecity.com/prachyanun )
ระบบการจัดการเนื้อของเว็บไซต์ ( Content Management System :CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิคค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา (Development) และบริหาร (Management) เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะนำเอาภาษาสคริปต์ (Script languages) ต่าง ๆ มาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP , Perl , ASP , Python หรือภาษาอื่น ๆ ซึ่งมักจะใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ ( เช่น Apache ) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ( เช่น MySQL) ( http://www.thainuke.net/ )
ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System :CMS) คือ ระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ โดยที่ตัว CMS เองมีโปรแกรมประยุกต์ แบบพร้อมใช้งานอยู่ภายในมากมายอาทิ ระบบจัดการบทความและข่าวสาร(News and Story) ระบบจัดการบทวิจารณ์ (Review), ระบบจัดการสมาชิก(Mamber) ระบบสืบค้นข้อมูล(Search) ระบบจัดการไฟล์ดาวน์โหลด(Download), ระบบจัดการป้ายโฆษณา(Banner), ระบบการวิเคราะห์และตรวจสอบสถิติความนิยมในเว็บไซต์ (Analysis, Tracking and Statistics) เป็นต้น ( http://www.cmsthailand.com )
ระบบการจัดการ เนื้อหา ( Content Management System :CMS) คือ เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารและจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป ภายในตัว CMS เองมีเครื่องมือที่ทรงพลังใช้ในการบริหารเว็บที่เรียกว่า Admin Tools โดยที่ผู้ใช้สามารถจัดการข่าว-บทความ ระบบสมาชิก การส่งเมล์ถึงสมาชิก การแบ่งกลุ่มผู้ดูแลเว็บพร้อมกำหนดสิทธิ การจัดการระบบลิงค์ การจัดการระบบดาวน์โหลดข้อมูล ... และผู้ใช้สามารถเพิ่มเติมโปรแกรมอิสระ(Module) อาทิ Forum, Chatroom, Form mail เข้าไปได้ในภายหลังการติดตั้ง
CMS ( Content Management System ) คือ ระบบที่สนับสนุนในการสร้างเนื้อหาโดยมีเครื่องมือต่าง ๆ ในการสนับสนุนการสร้างเนื้อหา นอกจากการสร้างแล้วยังสามารถนำเนื้อหาที่สร้างมาจากโปรแกรมตัวอื่น มาใช้งานได้ เช่น Macromedia Dreamweaver , Macromedia Flash , Microsoft FrontPage เป็นต้น ( http://www.moe.go.th/ppp/survey/explanation.htm )
จากความหมายของ ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System :CMS) ดังกล่าว สรุปได้ว่า
CMS ( Content Management System ) คือ ระบบการจัดการเนื้อหาวิชาที่เรียนที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อช่วยลดทรัพยากรใน การพัฒนาและบริหารเว็บไซต์ โดยนำโปรแกรมอื่น ๆ เช่น Macromedia Dreamweaver , Macromedia Flash , Microsoft FrontPage มาช่วยในการสร้างเนื้อหา แล้วนำมาใส่ไว้ในระบบฐานข้อมูลของ LMS ( Learning Management System )
ลักษณะ เด่นของ CMS
ลักษณะเด่นของระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System :CMS) ได้แก่
1. มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว
2. ตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซ ต์นั้นๆ

ลักษณะการทำงานของ CMS

เป็นระบบที่แบ่งแยกการจัดการ ในการทำงานระหว่าง เนื้อหา(Content) ออกจากการ ออกแบบ(Design) โดยการออกแบบเว็บเพจจะถูกจัดเก็บไว้ใน Templates หรือ Themes ในขณะที่เนื้อหาจะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อใดที่มีการใช้งานก็จะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 ส่วน เพื่อสร้างเว็บเพจขึ้นมา โดยเนื้อหาอาจจะประกอบไปด้วยหลายๆส่วนประกอบ เช่น Sidebar หรือ Blocks, Navigation bar หรือ Main menu, Title bar หรือ Top menu bar เป็นต้นส่วนประกอบของ CMS

ส่วนประกอบของ CMS
1. Templates หรือ Theme เป็นส่วนที่เปรียบเสมือนหน้าตา หรือเสื้อผ้า ที่ถือเป็นสีสรรของเว็บไซต์(Look&feel) ที่มีรูปแบบที่กลมกลืนกันตลอดทั้งไซต์
2. ภาษาสคริปต์ หรือ ภาษา HTML ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ
3. ฐานข้อมูล เพื่อไว้เก็บข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของเว็บไซต์

ข้อดี ของ CMS
ข้อดีของ CMS มีทั้งต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmasters) และผู้ใช้งานเว็บไซต์ ( User ) ดังต่อไปนี้
1. ความสามารถในการใช้ Template และส่วนประกอบของการออกแบบ ที่ครอบคลุมการออกแบบตลอดทั้งไซต์
2. ผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถใช้งาน Template โดยนำมาประกอบกับเอกสารหรือเนื้อหา ทำให้ช่วยลดภาระเรื่องการเขียนโค้ดให้น้อยลง
3. ผู้ใช้งานเว็บไซต์ให้ความสนใจเฉพาะเนื้อหามากกว่าการออกแบบ และในการที่จะเปลี่ยนหน้าตาของเว็บไซต์ ผู้ดูแลเว็บไซต์ก็แค่ไปแก้ไขที่ template ไม่ใช่ที่แต่ละหน้าของเว็บเพจ
4. CMS จะช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ในการสร้างและบำรุงรักษาเว็บไซต์ นอกจากนั้นยังช่วยจัดระดับการใช้งานสำหรับแต่ละส่วนงานของเว็บไซต์ โดยไม่ต้องเข้ามาเซ็ตการใช้งานของระบบที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรง เพราะสามารถทำได้โดยผ่านเว็บบราวเซอร์
5. นอกจากนั้น ถ้ามี Search engine, Calendar, Web mail และส่วนอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มเติมสู่ CMS หรือแม้กระทั่งไปหา Plug-in หรือ Addons เข้ามาเสริมการทำงานได้ ส่วนนี้จะช่วยประหยัดเวลาในการพัฒนาได้
การพิจารณาเลือกใช้ CMS
1. ความยากง่ายในการใช้งาน
2. ความยืดหยุ่นในการพัฒนา
3. ความสามารถในการทำงาน
4. อื่น ๆ ได้แก่ เทคโนโลยี ระบบปฏิบัติการ และราคา

ความ แตกต่างระหว่างLMSและLCMS


LMS มุ่งเน้นการจัดการเกี่ยวกับผู้เรียน กิจกรรมผู้เรียน ติดตามความก้าวหน้าและประเมินความสามารถของผู้เรียน
LCMS มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหา นำเนื้อหากลับมาใช้ใหม่ การจัดการและปรับปรุงเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
CMS มุ่งเน้นการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูปโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมี ความรู้เรื่องการเขี่ยนโปรแกรม

//==

LCMS : Learning Content Management System (ระบบการจัดการเนื้อหาการเรียน ) คือ ระบบที่มีการบูรณาการในส่วนเครื่องมือการสร้างและจัดการเนื้อหาในระบบ ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สอนและผู้เรียนในการจัดการสอน ช่วยให้ผู้สอนพัฒนาเนื้อหาออนไลน์เพื่อการนำเสนอในรูปแบบที่เป็นโครงสร้างสามารถปรับเปลี่ยนได้ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหาได้หลากหลายขึ้น

ความแตกต่างระหว่าง LMS กับ LCMS คือ
LMS มุ่งเน้น การจัดการเกี่ยวกับผู้เรียน กิจกรรมของผู้เรียน ติดตามความกว้าหน้า และประเมินความสามารถของผู้เรียน
LCMS มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหา การนำเนื้อหากลับมาใช้ใหม่ การจัดการและการปรับปรุงเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เขียนโดย P.Ratchanan52a2 ที่ 22:59

102
รายวิชา งานกราฟิค( ม.4, ม.5 และ ม.6 ) / รายงานตัวครับ
« เมื่อ: วันที่ 26 พฤษภาคม 2010, 12:07:57 »
นายสุรพล  กิ่มเกลี้ยง ห้อง ม.4/4 เลขที่ 0000

 :thk1 :thk2
 :'( >:D ^-^ :police: :angel: :laugh: :sleepy: O0

103
รายวิชา เว็บไซต์ CMS / ส่งงาน ความหมาย CMS LMS LCMS
« เมื่อ: วันที่ 26 พฤษภาคม 2010, 09:09:23 »
ความหมาย ความแตกต่าง ตัวอย่างของ CMS LMS และ CLMS
บอกความหมายของ CMS LMS และ CLMS


1.CMS ; Content Management System ระบบจัดการเนื้อหา เป็นระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อจัดระเบียบ และส่งเสริมการทำงานในหมู่คณะ ให้สามารถสร้างเอกสารหรือเนื้อหาสาระอื่นๆโดยมาแร้ว ระบบจัดการเนื้อหามันจะเป็นเว็บแอปพลิเคชั่น ซึ่งใช้จัดการเว็บไซต์อละเนื้อหาบนเว็บและมีไม่น้อยที่ระบบจัดการเนื้อหา ต้องใช้ซอฟแวร์พิเศษคนเครื่องเครื่องลูกข่ายเพื่อใช้แก้ไขและสร้างบทความ ต่างๆ
ที่มา http://th.wikipedia.org /wiki/ระบบจัดการเนื้อหา


2.LMS ; Learning Management System ระบบจัดการเรียนการสอน เป็นระบบจัดการการเรียนผ่านเครือข่าย มีเครื่องมือและส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับผู้สอน ผู้เรียนและผู้ดูแลระบบ ได้แก่ ระบบจัดการรายวิชา ระบบจัดการสร้างเนื้อหา ระบบการจัดการผู้เรียน ระบบส่วนการจัดการข้อมูลบทเรียนและระบบเครื่องมือช่วยจัดการสื่อสารปฏิ สัมพันธ์
ที่มา www.thapra.lib.su.ac.th/SUTjour/vol21_22/02LMS.pdf


3.LCMS ; Learning Content Management System คือระบบจัดการจัดการเนื้อหาการเรียนรู้ เป็นระบบที่มีการบูรณาการในส่วนเครื่องมือการสร้างและจัดการเนื้อหาในระบบ ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สอนและผู้เรียนในการจัดการสอน ช่วยให้ผู้สอนพัฒนาเนื้อหาออนไลน์เพื่อการนำเสนอในรูปแบบที่เป็นโครงสร้าง สามารถปรับเปลี่ยนได้ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหาได้หลากหลายขึ้น
ที่มา http://gotoknow.org/blog/orapan2525/301964


ความแตกต่างระหว่าง CMS LMS และ LCMS



CMS สามารถเพิ่มเนื้อหาเว็บไซต์ได้โดยไม่จำเป็นต้องนำขึ้นทีละหน้า แค่ใส่เนื้อหาที่เราต้องการนำขึ้นเว็บไซต์ก็สามารถแสดงผลทางหน้าเว็บไซต์ได้ เลย

LMS มุ่งเน้นการจัดการเกี่ยวกับผู้เรียน กิจกรรมของผู้เรียน ติดตามความก้าวหน้าและประเมินความสามารถของผู้เรียน

LCMS มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหา การนำเนื้อหากลับมาใช้ใหม่ การจัดการและการปรับปรุงเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ตัวอย่างของ CMS LMS และ LCMS


1. CMS



http://www.picohosting.com/images/cmsdemo/demo-prestashop-1.1-f.gif



2.LMS




http://www.learnsquare.com/


3.LCMS








http://www.radompon.com/

104
ความหมายและตัวอย่างเว็บไซต์ CMS,LMS

CMS/LMS

ตัวอย่างเว็บที่เกี่ยวข้องกับ LMS
http://www.dek-d.com/chat/

ตัวอย่างเว็บไซต์ CMS
http://www.warin.ac.th/ict1/

ตัวอย่าง เว็บที่เกี่ยวข้องกับ CMS
http://www.tnt.co.th/website/thai/cms/index.php

LMS
ความหมายของ ระบบการจัดการการเรียนการสอน LMS (Learning Management System)
ที่มา http://www.crma35.com/pop/OpensourceLMS/pages/lms.html
ได้ มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
กิตติพงษ์ พุ่มพวง (2547) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็นระบบจัดการการเรียนผ่านเครือข่าย มีเครื่องมือและส่วนประกอบที่สำคัญ สำหรับผู้สอน ผู้เรียนและผู้ดูแลระบบ ได้แก่ ระบบการจัดการรายวิชา ระบบการจัดการสร้างเนื้อหา ระบบการจัดการผู้เรียน ระบบส่วนการจัดการข้อมูลบทเรียน และระบบเครื่องมือช่วยจัดการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ และจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ การสื่อสาร Chat E-mail Webboard การเข้าใช้ การเก็บข้อมูลและการรายงานผ เป็นต้น

ชัยวรัตน์ ไชยพจน์พานิช (2547) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็นซอฟท์แวร์บริหารจัดการรายวิชาที่รวบรวมเครื่องมือ ซึ่งออกแบบไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ในการจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ใช้งาน 4 กลุ่ม คือ ผู้เรียน (Student) ผู้สอน (Instructor) เจ้าหน้าที่ทะเบียน (Registration) และผู้ดูแลระบบ (Administrator) ซึ่งเครื่องมือและระดับของสิทธิในการเข้าใช้ที่จัดหาไว้ให้จะมีความแตกต่าง กันไปตามแต่การใช้งานของแต่ละกลุ่ม

ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2547)ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าคือระบบที่ได้รวบรวมเครื่องมือหลายๆ ประเภทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนออนไลน์เข้าไว้ด้วยกันโดยมีจุด ประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ใช้ 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และยังครอบคลุมถึงการจัดการ (Main pulation) การปรับปรุง(Modification) การควบคุม(Control) การสำรองข้อมูล(Backup)การสนับสนุนข้อมูล(Support of data) การบันทึกสถิติผู้เรียน (Student records) และการตรวจคะแนนผู้เรียน (Graded material) ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ผ่านเว็บ โดยใช้โปรแกรมอ่านเว็บ (Web browsers) มาตรฐานทั่วไป

ประกอบ คุปรัตน์ (2547) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็นระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในระบบจัดการห้องเรียนเสมือน ทำให้สถาบันการศึกษาหรือแหล่งจัดการเรียนการสอนสามารถให้ผู้เรียนได้มี Login และ Password เพื่อมีสิทธิเข้าเรียน สามารถจัดการเลือกสรรรายวิชาที่จะเรียน มีบันทึกเกี่ยวกับเวลาและข้อมูลการเข้าเรียน และการทำรายงานผลให้กับระบบการศึกษาหรือการฝึกอบรมนั้นๆ

สาส์มศิริ เนตรประเสริฐ (2548) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็น software ที่ช่วยทำให้ผู้สอนนั้นลดภาระในการบริหารจัดการลง โดย LMS จะทำหน้าที่ในการสร้างเนื้อหา (Courseware) เพื่อใช้ในการสอนแบบออนไลน์, การตรวจสอบผู้เรียน เช่น ดูเวลาการเข้าเรียนของผู้เรียน, การตรวจสอบผลการเรียน เป็นต้น, การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรัยนโดยผ่านทาง เว็บบอร์ด, อีเล็คโทรนิคเมล (E-mail) หรือ Chat Room เป็นต้น, สามารถรายงานผลคะแนนของผู้เรียนให้ผู้สอนทราบในทันที, การกำหนดสิทธ์ของผู้เข้าใช้งานโดยการออกรหัสการเข้าใช้งาน, การคิดคำนวณคะแนนสอบของผู้เรียน รวมไปถึงการคิดค่าเฉลี่ย สูงสุด ต่ำสุด เป็นต้น จะเห็นได้ว่า LMS นั้นสามารถลดภาระหน้าที่ต่างๆ ของผู้สอนลง อีกทั้งยังช่วยประหวัดเวลาในการทำงานต่างๆ เช่นการตรวจข้อสอบ การออกเกรด

สุ จารี แจ้งจรัส (2548) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าคือระบบการการเรียน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของอีเลิร์นนิ่ง โดย LMS ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดการเรื่องการเรียน ตั้งแต่ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนโดยจะกำหนดลำดับเนื้อหาของบทเรียนตามทักษะ ความ สามารถของผู้เรียน ติดตามและบันทึกความก้าวหน้าของผู้เรียน ประเมินผลความสำเร็จ รวมทั้งสร้างรายงานผลการเรียนจนกระทั่งจบหลักสูตร

ดังนั้นสรุปได้ว่า Learning Management System หรือ LMS เป็นระบบการจัดการเกี่ยวกับการบริหารการเรียนการสอน ในรูปแบบ e-Learning เพื่อจัดการกับการใช้คอร์สแวร์ (Courseware) ในรายวิชาต่างๆ ระหว่างผู้สอน (Instructors) ผู้เรียน (Learners) และผู้ดูแลระบบ (Administrator) โดยออกแบบระบบเพื่อเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวก เช่น โปรแกรมจะทำหน้าที่ ตรวจสอบการเข้ามาใช้บทเรียน เนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ตารางเรียน ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถามตอบ การทำแบบทดสอบ เป็นต้น และองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูลกิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถ นำไปวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

LMS คือ ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปขนาดใหญ่ซึ่งมีความสามารถในการจัดการและถ่ายทอดหรือส่ง เนื้อหาและทรัพยากรการเรียนไปสู่ผู้เรียนได้ LMS ส่วนใหญ่ทำงานบนระบบเว็บไซต์ (Web-based) เพื่ออำนวยความสะดวกให้สามารถเข้ามาเรียนเนื้อหาและบริหารจัดการได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างน้อย LMS ต้องมีความสามารถในการลงทะเบียนนักศึกษา การนำเสนอเนื้อหาการเรียน และการติดตามผู้เรียน จัดการสอบ และอนุญาตให้ผู้สอนจัดการรายวิชาได้ นอกจากนั้น LMS ที่มีประสิทธิภาพ จะมีความสามารถในการจัดการระดับสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ผู้เรียน การวางแผนการเรียน การตรวจสอบผู้เรียน การสร้างห้องเรียนเสมือน การจัดการสร้างเนื้อหาบทเรียน จัดการเนื้อหาบทเรียน จัดกิจกรรมการเรียน การอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนด้วยเครื่องมือต่าง ๆ
      บางครั้งเรียก LMS ที่มีความสามารถทั้งในการจัดการบริหารรายวิชาและสร้างเนื้อหาด้วยเครื่องมือ อัตโนมัติ นี้ว่า LCMS(LearningContentManagementSystem)

แหล่งที่มา : www.en.wikipedia.org/wiki/Learning_management_system


CMS
ความหมายของ ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System : CMS )
ที่มา http://student.nu.ac.th/supaporn/cms.htm
ความหมายของระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System : CMS )
ในระบบการจัดการเนื้อหา E-Learning นั้น Content Management System ( CMS ) เป็นในส่วนของเนื้อหาวิชาที่เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้จัดทำขึ้น และนำมาใส่ไว้ในระบบฐานข้อมูลของ LMS หรือผู้สอนจัดทำขึ้นเองเป็นอิสระโดยมีระบบเหมือนกับ LMS แต่ผู้สอนสามารถจัดการบริหาร เพิ่มเติมเนื้อหา ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือบางส่วนได้ด้วยตนเอง และ คำว่า ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System : CMS ) มีผู้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้
ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System :CMS) คือ ระบบการจัดการเนื้อหาของผู้สอน เพื่อผู้เรียนจะได้นำไปศึกษาโดยไม่ต้องมีระบบการจัดการเต็มรูปแบบเข้ามาช่วย ( ปรัชญนันท์ นิลสุข : http://members.fortunecity.com/prachyanun )
ระบบการจัดการเนื้อของเว็บไซต์ ( Content Management System :CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิคค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา (Development) และบริหาร (Management) เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะนำเอาภาษาสคริปต์ (Script languages) ต่าง ๆ มาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP , Perl , ASP , Python หรือภาษาอื่น ๆ ซึ่งมักจะใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ ( เช่น Apache ) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ( เช่น MySQL) ( http://www.thainuke.net/ )
ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System :CMS) คือ ระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ โดยที่ตัว CMS เองมีโปรแกรมประยุกต์ แบบพร้อมใช้งานอยู่ภายในมากมายอาทิ ระบบจัดการบทความและข่าวสาร(News and Story) ระบบจัดการบทวิจารณ์ (Review), ระบบจัดการสมาชิก(Mamber) ระบบสืบค้นข้อมูล(Search) ระบบจัดการไฟล์ดาวน์โหลด(Download), ระบบจัดการป้ายโฆษณา(Banner), ระบบการวิเคราะห์และตรวจสอบสถิติความนิยมในเว็บไซต์ (Analysis, Tracking and Statistics) เป็นต้น ( http://www.cmsthailand.com )
ระบบการจัดการ เนื้อหา ( Content Management System :CMS) คือ เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารและจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป ภายในตัว CMS เองมีเครื่องมือที่ทรงพลังใช้ในการบริหารเว็บที่เรียกว่า Admin Tools โดยที่ผู้ใช้สามารถจัดการข่าว-บทความ ระบบสมาชิก การส่งเมล์ถึงสมาชิก การแบ่งกลุ่มผู้ดูแลเว็บพร้อมกำหนดสิทธิ การจัดการระบบลิงค์ การจัดการระบบดาวน์โหลดข้อมูล ... และผู้ใช้สามารถเพิ่มเติมโปรแกรมอิสระ(Module) อาทิ Forum, Chatroom, Form mail เข้าไปได้ในภายหลังการติดตั้ง
CMS ( Content Management System ) คือ ระบบที่สนับสนุนในการสร้างเนื้อหาโดยมีเครื่องมือต่าง ๆ ในการสนับสนุนการสร้างเนื้อหา นอกจากการสร้างแล้วยังสามารถนำเนื้อหาที่สร้างมาจากโปรแกรมตัวอื่น มาใช้งานได้ เช่น Macromedia Dreamweaver , Macromedia Flash , Microsoft FrontPage เป็นต้น ( http://www.moe.go.th/ppp/survey/explanation.htm )
จากความหมายของ ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System :CMS) ดังกล่าว สรุปได้ว่า
CMS ( Content Management System ) คือ ระบบการจัดการเนื้อหาวิชาที่เรียนที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อช่วยลดทรัพยากรใน การพัฒนาและบริหารเว็บไซต์ โดยนำโปรแกรมอื่น ๆ เช่น Macromedia Dreamweaver , Macromedia Flash , Microsoft FrontPage มาช่วยในการสร้างเนื้อหา แล้วนำมาใส่ไว้ในระบบฐานข้อมูลของ LMS ( Learning Management System )

ลักษณะ เด่นของ CMS

ลักษณะเด่นของระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System :CMS) ได้แก่
1. มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว
2. ตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซ ต์นั้นๆ

ลักษณะการทำงานของ CMS

เป็นระบบที่แบ่งแยกการจัดการ ในการทำงานระหว่าง เนื้อหา(Content) ออกจากการ ออกแบบ(Design) โดยการออกแบบเว็บเพจจะถูกจัดเก็บไว้ใน Templates หรือ Themes ในขณะที่เนื้อหาจะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อใดที่มีการใช้งานก็จะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 ส่วน เพื่อสร้างเว็บเพจขึ้นมา โดยเนื้อหาอาจจะประกอบไปด้วยหลายๆส่วนประกอบ เช่น Sidebar หรือ Blocks, Navigation bar หรือ Main menu, Title bar หรือ Top menu bar เป็นต้นส่วนประกอบของ CMS

ส่วนประกอบของ CMS

1. Templates หรือ Theme เป็นส่วนที่เปรียบเสมือนหน้าตา หรือเสื้อผ้า ที่ถือเป็นสีสรรของเว็บไซต์(Look&feel) ที่มีรูปแบบที่กลมกลืนกันตลอดทั้งไซต์
2. ภาษาสคริปต์ หรือ ภาษา HTML ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ
3. ฐานข้อมูล เพื่อไว้เก็บข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของเว็บไซต์

ข้อดี ของ CMS

ข้อดีของ CMS มีทั้งต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmasters) และผู้ใช้งานเว็บไซต์ ( User ) ดังต่อไปนี้
1. ความสามารถในการใช้ Template และส่วนประกอบของการออกแบบ ที่ครอบคลุมการออกแบบตลอดทั้งไซต์
2. ผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถใช้งาน Template โดยนำมาประกอบกับเอกสารหรือเนื้อหา ทำให้ช่วยลดภาระเรื่องการเขียนโค้ดให้น้อยลง
3. ผู้ใช้งานเว็บไซต์ให้ความสนใจเฉพาะเนื้อหามากกว่าการออกแบบ และในการที่จะเปลี่ยนหน้าตาของเว็บไซต์ ผู้ดูแลเว็บไซต์ก็แค่ไปแก้ไขที่ template ไม่ใช่ที่แต่ละหน้าของเว็บเพจ
4. CMS จะช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ในการสร้างและบำรุงรักษาเว็บไซต์ นอกจากนั้นยังช่วยจัดระดับการใช้งานสำหรับแต่ละส่วนงานของเว็บไซต์ โดยไม่ต้องเข้ามาเซ็ตการใช้งานของระบบที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรง เพราะสามารถทำได้โดยผ่านเว็บบราวเซอร์
5. นอกจากนั้น ถ้ามี Search engine, Calendar, Web mail และส่วนอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มเติมสู่ CMS หรือแม้กระทั่งไปหา Plug-in หรือ Addons เข้ามาเสริมการทำงานได้ ส่วนนี้จะช่วยประหยัดเวลาในการพัฒนาได้

การพิจารณาเลือกใช้ CMS

1. ความยากง่ายในการใช้งาน
2. ความยืดหยุ่นในการพัฒนา
3. ความสามารถในการทำงาน
4. อื่น ๆ ได้แก่ เทคโนโลยี ระบบปฏิบัติการ และราคา

ความ แตกต่างระหว่างCMS,LMS

LMS มุ่งเน้นการจัดการเกี่ยวกับผู้เรียน กิจกรรมผู้เรียน ติดตามความก้าวหน้าและประเมินความสามารถของผู้เรียน
CMS มุ่งเน้นการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูปโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมี ความรู้เรื่องการเขี่ยนโปรแกรม

เขียนโดย P.Ratchanan52a2 ที่ 22:59

105
รายวิชา เว็บไซต์ CMS / รายงานตัวครับ
« เมื่อ: วันที่ 25 พฤษภาคม 2010, 09:19:48 »
33333333336333

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9