ผู้เขียน หัวข้อ: ส่งงาน CMS LMS LCMS  (อ่าน 2041 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

suphawadi53

  • บุคคลทั่วไป
ส่งงาน CMS LMS LCMS
« เมื่อ: วันที่ 26 พฤษภาคม 2010, 09:32:43 »
นางสาว สุภาวดี นนทสิงห์ เลขที่39 ชั้นม.5/31.CMS : Content Management System
หรือระบบจัดการเนื้อหา คือระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อจัดระเบียบ และส่งเสริมการทำงานในหมู่คณะ ให้สามารถสร้างเอกสาร หรือเนื้อหาสาระอื่นๆ โดยส่วนมากแล้ว ระบบจัดการเนื้อหานี้มักจะเป็นเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งใช้จัดการเว็บไซต์และเนื้อหาบนเว็บ และมีไม่น้อยที่ระบบจัดการเนื้อหาต้องใช้ซอฟแวร์พิเศษบนเครื่องลูกข่าย เพื่อใช้แก้ไขและสร้างบทความต่าง ๆ
ระบบจัดการเนื้อหาในตลาดซอฟแวร์คอมพิวเตอร์มีทั้งแบบที่ทำเพื่อการค้าและแบบ โอเพนซอร์ส
เนื้อหาที่อยู่บนระบบอาจจะเป็นเนื้อหาที่เป็น ข้อความตัวอักษร ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์วิดีโอ หรือไฟล์เอกสารอื่นๆ ก็ได้ค่ะ
ระบบจัดการเนื้อหามักมีระบบการจัดการลำดับการดำเนินงานของเนื้อหาที่เรียก ว่า Workflow ซึ่งลำดับการดำเนินงานนั้นโดยมากจะประกอบไปด้วย
ขั้นตอนการนำเนื้อหาเข้าระบบ (Ingestion หรือ Creation)
ขั้นตอนการตรวจสอบเนื้อหา (Staging หรือ Approval)
ขั้นตอนการนำเนื้อหาไปเผยแพร่ (Delivery หรือ Publishing)
ระบบจัดการเนื้อหานั้นมีหลายประเภทสามารถจัดหมวดหมู่ได้เป็น
ระบบจัดการเนื้อหาเว็บ เป็นระบบที่ช่วยจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์
ระบบจัดการเนื้อหาทางธุรกรรม เป็นระบบที่ช่วยจัดการธุรกรรมสำหรับอี-คอมเมิร์ช
ระบบจัดการเนื้อหาแบบประสาน เป็นระบบที่ใช้ช่วยจัดการเอกสารและเนื้อหาภายในองค์กร
ระบบจัดการเนื้อหาสิ่งพิมพ์ ใช้สำหรับช่วยจัดการงานสิ่งพิมพ์และวงจรชีวิตของเนื้อหา เช่น เอกสารการใช้งาน หนังสือ เป็นต้น
ระบบการจัดการเรียนรู้ ใช้จัดการวงจรชีวิตของเนื้อหาสาระบนระบบเรียนรู้บนเว็บ เช่น จัดการแบบทดสอบ จัดการแบบการเรียนการสอน เป็นต้น
ระบบจัดการเอกสารที่เป็นภาพ ใช้จัดการเอกสารที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบของรูปภาพเช่นการถ่ายสำเนาเป็นต้น
ระบบจัดการเนื้อหาระดับองค์กร เป็นระบบที่ใช้จัดการเอกสาร เนื้อหาสาระต่างๆ ภายในองค์กร อาจจะเป็นได้ทั้งระบบเว็บแอปพลิเคชันหรือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์บนเครื่อง ลูกข่ายก็ได้
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2

2.LMS : Learning Management System
LMS ย่อมาจาก Learning Management System เป็นระบบที่ใช้บริหารจัดการการเรียนรู้ที่อำนวยความสะดวกในการจัดกลุ่ม เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ การสื่อสารโต้ตอบระหว่างผู้สอน (Instructor/Teacher) กับผู้เรียน(Student) รวมทั้งการสร้างแบบทดสอบ การทดสอบและการประเมินผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมที่ใช้สร้างระบบ LMS ในปัจจุบันมีให้เลือกอยู่ 2 ลักษณะคือ
1.ซอฟต์แวร์ฟรี (Open Source LMS
2.ซอฟต์แวร์ที่บริษัทเอกชนพัฒนาเพื่อขายโดยเฉพาะ (Commercial LMS)
ที่มา : http://www.cmsthailand.com/lms/index.html
ระบบ LMS สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลายอาทิ สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรม หน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน โดยในการนำไปใช้งานผู้ใช้สามารถ ปรับการใช้งานให้เหมาะสมกับหน่วยงาน จุดประสงค์หลักในการพัฒนาระบบขึ้นมาก็เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้ใช้งานใน หน่วยงานทั้งระบบ E-Learning หรือระบบ Knowledge Management(KM)
LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
1.ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ
2.ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media
3.ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบ อัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน
4.ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้
5.ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin
ที่มา : http://nongna005.multiply.com/journal/item/16
ผู้ใช้งานในระบบ LMS
สำหรับผู้ใช้งานในระบบ LMS นั้นสามารถที่จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มผู้บริหารระบบ (Administrator) ทำหน้าที่ในการติดตั้งระบบ LMS การกำหนดค่าเริ่มต้นของระบบ
การสำรองฐานข้อมูล การกำหนดสิทธิ์การเป็นผู้สอน
กลุ่มอาจารย์หรือผู้สร้างเนื้อหาการเรียน (Instructor / Teacher) : ทำหน้าที่ในการเพิ่มเนื้อหา บทเรียนต่างๆ เข้าระบบ อาทิ ข้อมูลรายวิชา ใบเนื้อหา เอกสารประกอบการสอน การประเมินผู้เรียนโดยใช้ข้อสอบ ปรนัย อัตนัย การให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และสนทนากับนักเรียน
กลุ่ม ผู้เรียน(Student/Guest) : หมายถึงนักเรียน นักศึกษา ที่สมัครเข้าเรียนตามหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งการทำแบบฝึกหัด ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอน โดยอาจารย์สามารถทำการแบ่งกลุ่มผู้เรียนได้ และสามารถตั้งรหัสผ่านในการเข้าเรียนแต่ละวิชาได้
ที่มา : http://e-learning.siamcom.co.th/e-learning2/mod/forum/discuss.php?d=2

3.LCMS: Learning Content Management System
LCMS(Learning Content Management System)คือระบบจัดการเนื้อหาการเรียนรู้ พัฒนามาจากระบบการเรียนรู้ 2 ระบบ คือ
1)ระบบการจัดการเรียนรู้ (Learning Management System:LMS)ซึ่งมีความสามารถในการนำเนื้อหาการเรียนรู้ มารวมกันเป็นกลุ่ม ๆ เรียกว่า Course แล้วนำเข้าสู่ระบบ >:D :thk2
2)ระบบบริหารจัดการเนื้อหา (Content Management System:CMS)
จุดเด่นของ ระบบ คือสามารถสร้าง และจัดเก็บข้อมูลเมื่อนำความสามารถของทั้ง 2 ระบบมาผนวกเข้าด้วยกัน แล้วพัฒนาต่อจนเกิด LCMS โดยมีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ คือระบบสามารถสร้างจัดเก็บ นำมา ใช้ใหม่ จัดการและเผยแผ่เนื้อหา จากฐานข้อมูลของเนื้อหาทั้งหมด ซึ่งประกอบไปด้วย Course,Learning object, Metadata and Repository
สรุปคือ LCMS ช่วยให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ อย่าง Learning object แล้วนำมาประกอบขึ้นใหม่เป็นเนื้อหาที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนแต่ ละบุคคล เหมือนกับปรัชญาการผลิตเรื่อง Just-in-time กล่าวคือส่งความรู้ในปริมาณที่เพียงพอให้ถูกบุคคล ทันเวลาเหมาะสมกับการใช้งาน แต่ระบบสามารถจัด Learning object ได้ต้องให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนการเข้าเรียน แล้วนำไปวิเคราะห์หา learning path สรุปการทำงานของระบบจัดการเนื้อหาการเรียนรู้
ที่มา : http://nongna005.multiply.com/journal/item/16

ความแตกต่างของ CMS LMS และ LCMS
CMS เป็นระบบจัดการเนื้อหาและนำมาใส่ไว้ในระบบฐานข้อมูล ผู้ดูแลสามารถจัดการบริหาร เพิ่มเติมเนื้อหา ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือบางส่วนได้ด้วยตนเอง
LMS เป็นการจัดระบบการเรียนการสอนให้เกี่ยวกับผู้เรียน กิจกรรมของผู้เรียน ติดตามผลความก้าวหน้า และประเมินความสามารถของผู้เรียน
LCMS เป็นการมุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหา การนำเนื้อหากลับมาใช้ใหม่ เป็นการจัดการและการปรับปรุงเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเว็บที่สร้างจาก CMS(Content Management System)



ที่มา : http://www.cmsthailand.com/

ตัวอย่างเว็บที่สร้าง จาก LMS (Learning Management System )


ที่มา : https://lms.psu.ac.th/login/index.php


ตัวอย่างเว็บที่สร้าง จาก LCMS (Learning Content Management System)
ที่มา : http://www.abnongphai.ac.th