• Welcome to งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนวารินชำราบ สพม. อบอจ..
 

ข่าว:

พืชพรรณต่างๆ มีภาพประกอบ และจัดเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะวิสัย ค้นหาได้ง่าย

Main Menu

เฟินพลาสติก7-34190-011-311

เริ่มโดย รุ่งอรุณ มนเทียรอาจ, 22 มิถุนายน 2013, 12:03:44 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

รุ่งอรุณ มนเทียรอาจ

ชื่อสามัญ    :   เฟินพลาสติก
ชื่อท้องถิ่น    :   เฟินพลาสติก, ข้าหลวงทางจาก
รูปร่าง/ลักษณะ    :    ลักษณะ ลำต้น:เป็นเหง้าสั้นกึ่งตั้งตรง ปกคลุมด้วยเกล็ด เกล็ด:เกล็ด รูปกึ่งสามเหลี่ยม ขนาดประมาณ 3?0.8 มม. สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ตรงกลางเป็นเซลล์ผนังหนาขอบเป็นเซลล์ผนังบางสีอ่อนและมีรยางค์สั้นยาวไม่ สม่ำเสมอ ปลายเรียวแหลม ใบ:ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ก้านใบ:ก้านใบสีน้ำตาล ยาว 40-70 ซม. เป็นร่องด้านบนและมีขนสั้นนุ่มปกคลุมทั่วไป แผ่นใบ:ตัวใบรูปรี ขนาดประมาณ 20?6ซม. ปลายค่อนข้างแหลม โคนตัด แกนกลางใบด้านบนเป็นร่อง แผ่เป็นครีบ และต่อไปยังกลุ่มใบย่อย ใบย่อยมีประมาณ 15 คู่ ก้านใบสั้นและมีครีบ รูปรี ขนาดประมาณ 4?1.5 ซม. ปลายกลมมนถึงป้าน โคนด้านบนเป็นติ่ง โคนด้านล่างลดรูป ขอบใบ:ขอบหยักลึกแบบขนนกเกือบถึงแกนกลางใบย่อย เกิดเป็นพูรูปหอกแคบเฉียงขึ้นด้านบน ขนาดประมาณ 7?1.2 มม. ปลายกลมมน ขอบเรียบ พูล่างสุดด้านบนมีการแตกแขนงกลายเป็นพูที่มีรูปร่างคล้ายพูอื่นๆ แต่มีขนาดเล็กกว่า เนื้อใบ:เนื้อใบบางสีเขียวเข้ม เกลี้ยง กลุ่มอับสปอร์:กลุ่มอับสปอร์ เกิดขนานกับเส้นใบ, มีเหง้าสั้นตั้ง หรือล้มเอน มีเกล็ดรูปกึ่งสามเหลี่ยม ขนาด 3X 0.8 มม. สีน้ำตาลเข้ม เกือบดำ บริเวณตรงกลางเป็นเซลล์ผนังหนา สีน้ำตาลซีด ขอบเกล็ดบาง ลักษณะใบ ก้านใบยาวได้ถึง 7 ซ.ม. สีเขียวถึงสีน้ำตาล มีขนประปราย หรือมีนวลเล็กน้อย ใบออกจากยอดเหง้าเวียนรอบ ใบ เป็นใบประกอบขนนก 2-3 ชั้น ใบรูปรี ปลายสอบแหลม โคนตัดตรง มีขนาด 20 x 6 ซ.ม. ก้านใบย่อยโค้งแอ่นขึ้นต่อเนื่องถึงตัวใบย่อย ใบย่อย มีได้ถึง 15 คู่ ใบย่อยรูปรี ขอบใบย่อยหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ใบบาง เป็นเงามันเหมือนแผ่นหนัง ส่วนของอับสปอร์ เกิดตามเส้นใบ บริเวณกึ่งกลางของขอบใบย่อย มีเยื่อหุ้มอินดูเซียบางๆ ปิด สามารถขยายพันธุ์จากต้นอ่อนที่เกิดบนใบ
แหล่งที่พบ    :    พบ ตามป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูงประมาณ 900 เมตร โดยขึ้นเกาะเลื้อยต้นไม้ที่มีมอสปกคลุม คาบสมุทรอินโดจีนและแถบตะวันตกของภูมิภาคมาลีเซีย ประเทศไทยพบทางภาคใต้ ยังพบได้ในป่าอนุรักษ์ที่อุดมสมบูรณ์ (IUCN:LC), เป็นเฟินจากต่างประเทศ นำเข้ามาปลูกในไทย เฟินชนิดนี้ พบที่ นครศรีธรรมราช พังงา