ผู้เขียน หัวข้อ: ส่งงาน ความหมายCMS LMS LCMS  (อ่าน 2292 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

wiarnda53

  • บุคคลทั่วไป
ส่งงาน ความหมายCMS LMS LCMS
« เมื่อ: วันที่ 26 พฤษภาคม 2010, 09:41:25 »
นางสาว วิกานดา นามบุตร ชั้น ม.5/3 เลขที่ 34
CMS คืออะไร

ความหมายของ Content Management System (CMS)

ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์(Content Management System : CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์(Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์(เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์(เช่น MySQL)

ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ(Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า(Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ

ตัวอย่างของเว็บที่สร้างจาก CMS

·Slashdot=>พัฒนาด้วย Perl
Zope=>พัฒนาด้วย Python
PHP-Nuke =>พัฒนาด้วย PHP
Joomla =>พัฒนาด้วย PHP ได้รับความนิยมมากในปัจุบัน


การประยุกต์ใช้ CMS
ระบบ CMS สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ หลากหลาย ตัวอย่างการนำซอฟต์แวร์ CMS มา
ประยุกต์ใช้งาน อาทิเช่น
>> การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สถาบันการศึกษา ธุรกิจบันเทิง หนังสือพิมพ์ การเงิน การ
ธนาคาร หุ้นและการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ งานบุคคล งานประมูล สถานที่ท่องเที่ยว งานให้บริการลูกค้า
>> การนำ CMS มาใช้ในหน่วยงานของรัฐ อาทิเช่น งานข่าว งานประชาสัมพันธ์ การนำเสนองานต่างๆ
ขององค์กร
>> การใช้ CMS สร้างไซต์ ส่วนตัว ชมรม สมาคม สมาพันธ์ โดยวิธีการแบ่งงานกันทำ เป็นส่วนๆ ทำให้
เกิดความสามัคคี ทำให้มีการทำงานเป็นทีมเวิร์คมากยิ่งขึ้น
>> การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ SME โดยเฉพาะสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
หรือ OTOP กำลังได้รับความนิยมสูง
>> การนำ CMS มาใช้แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ อื่นๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการพัฒนา
>> การใช้ CMS ทำเป็น Intranet Web Site สร้างเว็บไซต์ใช้ภายในองค์กร

ที่มาจากhttp://www.proline.co.th/forum/index.php?topic=147.0

การนำระบบ LMS ไปประยุกต์ใช้งาน
ระบบ LMS สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลายอาทิ สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรม หน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน โดยในการนำไปใช้งานผู้ใช้สามารถ ปรับการใช้งานให้เหมาะสมกับหน่วยงาน จุดประสงค์หลักในการพัฒนาระบบขึ้นมาก็เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้ใช้งานในหน่วยงานทั้งระบบ E-Learning หรือระบบ Knowledge Management(KM)

ผู้ใช้งานในระบบ LMS
สำหรับผู้ใช้งานในระบบ LMS นั้นสามารถที่จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
• กลุ่มผู้บริหารระบบ (Administrator) ทำหน้าที่ในการติดตั้งระบบ LMS การกำหนดค่าเริ่มต้นของระบบ การสำรองฐานข้อมูล การกำหนดสิทธิ์การเป็นผู้สอน
• กลุ่มอาจารย์หรือผู้สร้างเนื้อหาการเรียน (Instructor / Teacher) : ทำหน้าที่ในการเพิ่มเนื้อหา บทเรียนต่างๆ เข้าระบบ อาทิ ข้อมูลรายวิชา ใบเนื้อหา เอกสารประกอบการสอน การประเมินผู้เรียนโดยใช้ข้อสอบ ปรนัย อัตนัย การให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และสนทนากับนักเรียน
• กลุ่มผู้เรียน(Student/Guest) : หมายถึงนักเรียน นักศึกษา ที่สมัครเข้าเรียนตามหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งการทำแบบฝึกหัด ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอน โดยอาจารย์สามารถทำการแบ่งกลุ่มผู้เรียนได้ และสามารถตั้งรหัสผ่านในการเข้าเรียนแต่ละวิชาได้

มาตรฐานระบบ E-Learning
กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา(DOD) ได้ศึกษาปัญหาของความไม่เข้ากัน (Incompatibility) ของระบบอีเลิร์นนิ่ง และเนื้อหาวิชา ที่พัฒนาแตกต่าง แพลตฟอร์มกัน ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จึงรวบรวมข้อกำหนด ที่พัฒนาก่อนหน้ามาเข้าด้วยกัน ทั้งของ IMS และ AICC เพื่อที่จะออกเป็นข้อกำหนด อีเลิร์นนิ่งกลาง และมีการตั้งหน่วยงานร่วมมือกันระหว่างกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หน่วยงานรัฐบาล ภาคเอกชนและภาคการศึกษา จัดตั้งสถาบันที่เรียกว่า ADL (Advanced Distributed Learning) เมื่อปี 1997 และได้ออกข้อกำหนดแรกในเวอร์ชั่น 1.0 เมื่อปี 2000 แต่เวอร์ชั่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปคือ ข้อกำหนด SCORM Version 1.2 ซึ่งออกเมื่อเดือนตุลาคมปี 2001 ดังนั้นในการสร้างระบบ LMS ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบขึ้นมาใช้งานเอง ซื้อจากบริษัทเอกชน หรือใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปประเภท Open Source จำเป็นต้องยึดตามมาตรฐานกลางคือ SCORM (Sharable Content Object Reference Model)

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
• CAI (Computer Assisted Instruction) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
• CBT (Computer Based Training) คอมพิวเตอร์ช่วยในการอบรม
• WBI (Web Based Instruction) เว็บช่วยสอน
• WBT (Web Based Training) เว็บช่วยในการอบรม
• CMS (Content Management System) ระบบบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์
•LMS (Learning Management System) ระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนออนไลน์
• LCMS (Learning Management System) CMS+LMS ระบบบริหารจัดการจัดการเนื้อหาและการเรียนการสอนออนไลน์
• KMS (Knowledge Management System) ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ในองค์กร

http://faker-programmer.blogspot.com/2009/09/cms-content-management-system.html

LCMS : Learning Content Management System

Learning Content management system

คือ ระบบจัดการจัดการเนื้อหาการเรียนรู้ เป็นระบบที่มีการบูรณาการในส่วนเครื่องมือการสร้างและจัดการเนื้อหาในระบบ ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สอนและผู้เรียนในการจัดการสอน ช่วยให้ผู้สอนพัฒนาเนื้อหาออนไลน์เพื่อการนำเสนอในรูปแบบที่เป็นโครงสร้าง สามารถปรับเปลี่ยนได้ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหาได้หลากหลายขึ้น

ที่มาของระบบ (Learning Content management system )

LCMS ระบบการจัดการเนื้อหาการเรียน พัฒนามาจากระบบการเรียนรู้ 2 ระบบคือ

1 ระบบการจัดการเรียนรู้ LMS (Learning management system ) ซึ่งสามารถในการนำเนื้อหาการเรียนรู้มารวมกันกลุ่มๆ แล้วนำเข้าสู่ระบบ

2 ระบบการจัดการเนื้อหา CMS ( Content management system ) จุดเด่นคือ สามารถสร้างและจัดเก็บข้อมูล

ความแตกต่างของLMS และ LCMS

LMS มุ่งเน้นการจัดการเกี่ยวกับผู้เรียน กิจกรรมของผู้เรียน ติดตามความก้าวหน้าและประเมินความสามารถของผู้เรียน

LCMS มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหา การนำเนื้อหากลับมาใช้ใหม่ การจัดการและการปรับปรุงเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สรุป

•LCMS ช่วยให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากเนื้อหาออเป็นส่วนย่อยๆ อย่าง Learning object แล้ว นำมาประกอบขึ้นใหม่เป็นเนื้อหาเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล กล่าวคือส่งความรู้ในปริมาณที่เพียงพอให้ถูกบุคคลทันเวลาเหมาะสมกับการใช้ งาน ก็คือ การทำงานของระบบจัดการเนื้อหาการเรียนรู้
จาก CMS ถึง LMS และ LCMS

ทำความรู้จัก Open source กับ CMS กันมาพอสมควรแล้ว วันนี้มาทักทายกับเจ้า LMS และ LCMS กันอีกนิดก็แล้วกันนะคะ (โอย...อะไรมันจะมากมายขนาดนี้) อย่าเพิ่งเบื่อกันไปก่อนนะคะ เพราะเจ้าพวกนี้นี่แหละ ที่จะทำให้เราเรียนรู้ได้ง่ายและสะดวกสบายขึ้น

LMS ย่อมาจาก Learning Management System เป็นระบบที่ใช้บริหารจัดการการเรียนรู้ที่อำนวยความสะดวกในการจัดกลุ่มเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ การสื่อสารโต้ตอบระหว่างผู้สอน (Instructor/Teacher) กับผู้เรียน(Student) รวมทั้งการสร้างแบบทดสอบ การทดสอบและการประเมินผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมที่ใช้สร้างระบบ LMS ในปัจจุบันมีให้เลือกอยู่ 2 ลักษณะคือ

1.ซอฟต์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีลิขสิทธิ์แบบ GPL เช่น Claroline (www.claroline.net), LearnSquare (www.learnsquare.com), VClasswww.vclass.net), Sakai (www.sakaiproject.org), ILIAS (http://www.ilias.de)