ผู้เขียน หัวข้อ: ส่งงาน ความหมาย CMS LMS LCMS  (อ่าน 3961 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sasithon53

  • บุคคลทั่วไป
ส่งงาน ความหมาย CMS LMS LCMS
« เมื่อ: วันที่ 26 พฤษภาคม 2010, 09:44:01 »

ความ หมาย LMS LCMS และ CMS
ความหมายของ CMS : Content Management System



CMS ย่อมาจาก Content Management System เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ โดยที่ตัว CMS เองมีโปรแกรมประยุกต์ แบบพร้อมใช้งานอยู่ภายในมากมายอาทิ ระบบจัดการบทความและข่าวสาร(News and Story) ระบบจัดการบทวิจารณ์ (Review), ระบบจัดการสมาชิก(Mamber) ระบบสืบค้นข้อมูล(Search) ระบบจัดการไฟล์ดาวน์โหลด(Download), ระบบจัดการป้ายโฆษณา(Banner), ระบบการวิเคราะห์และตรวจสอบสถิติความนิยมในเว็บไซต์ (Analysis, Tracking and Statistics)


ความหมายของระบบการจัดการเรียนการสอน Learning Management System



LMS ว่าเป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ


ความ หมายของ Liquid Chromatography –Mass Spectrometry (LCMS)



ด้วยความก้าวหน้าทางด้าน วิทยาศาสตร์และมีการพัฒนาเทคโนโลยีกันอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้เราต้องวิ่งตามเทคโนโลยีให้ทันด้วย สำหรับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ก็มีการพัฒนากันอย่างรวดเร็ว เราจะได้ยินชื่อเครื่องมือใหม่ออกมาเรื่อยๆ เครื่องมือใหม่หลายๆอย่างได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อชดเชยข้อบกพร่องข้อเสียของ เครื่องมือเก่า เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด แต่โดยความคิดเห็นส่วนตัวแล้วทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีสองด้านเสมอ มีข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวจะมากหรือน้อยแตกต่างกันออกไป สำหรับเทคนิค LC-MS ก็เป็นเทคนิคการวิเคราะห์หนึ่งที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมานานพอสมควรเพราะปัจจุบัน ได้กลายเป็น LC-MS-MS ไปนานแล้ว แต่โดยหลักการแล้วก็เหมือนๆกัน ณ ตอนนี้สำหรับผู้เขียนเอง LC-MS เป็นเรื่องใกล้ตัวเลยอยากแบ่งบันความรู้อันเล็กน้อยแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น บ้าง เพื่อที่จะได้เป็นต้นทุนสะสมในการพัฒนาสิ่งที่ดีกว่าอยู่เสมอ เมื่อ LC-MS เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเราก็ต้องทำความรู้จักกับ LC-MS ค่ะ LC-MS เป็นเทคนิคที่ควบคู่กันระหว่างการแยกสารด้วย LC โดยใช้หลักการแยกตามคุณสมบัติทางเคมีของสารแต่ละชนิด เช่น มีขั้ว (Polar) ไม่มีขั้ว (non polar) ความเป็นกรดเบส และอาศัยเฟส 2 เฟส คือ Stationary phase คือของแข็งที่บรรจุอยู่ในคอลัมน์ กับ Mobile phase คือตัวทำละลายเคลื่อนที่หรือตัวที่นำพาสารเข้าและออกจากคอลัมน์นั้นเอง หัวใจสำคัญของการแยกสารจะอาศัยหลักการ Like Dissolves Like คือถ้าชอบที่จะอยู่กับใครก็จะอยู่กันนานๆแต่ถ้าไม่ชอบจะอยู่ด้วยก็รีบ ถ่อยออกมาก่อนประมาณนั้น หมายความว่าถ้าสารที่เราต้องการวิเคราะห์ชอบจับกับ stationary phase มากกว่า mobile phase ก็จะออกมาจากคอลัมน์ช้ากว่าสารที่ชอบที่จะอยู่กับ mobile phase แล้ว Mass Spectrometerล่ะทำงานกันอย่างไร Mass Spectrometer โดยใช้หลักการทำให้สารเกิดการแตกตัวเป็นไอออนและวัดค่ามวลต่อประจุ (m/z) ดังนั้นเมื่อนำเครื่อง LC และ เครื่อง Mass Spectrometer มาใช้ร่วมกันจะต้องมีตัวค่อยเชื่อมความสัมพันธ์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งเรียกว่าระบบ Interfaceทำไมต้องมีตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง LC กับ Mass Spectr
การแยกสารด้วย LC เป็นกระบวนการเกิดขึ้นภายใต้สภาวะบรรยากาศทั่วไป แต่กระบวนการทำงานของ Mass Spectrometer จะเกิดขึ้นภายใต้สภาวะที่เป็นสุญญากาศเท่านั้น ดังนั้นจึงมีระบบเชื่อมต่อระหว่างระบบของ LC และ Mass Spectrometer ซึ่งเรียกว่า Interface ระบบเชื่อมต่อ Interface ทำหน้าที่กำจัดตัวทำละลาย ทำให้สารที่ต้องการทดสอบอยู่ในรูปของประจุ ดังนั้นรูปแบบการ Transition จาก LC ไป Mass Spectrometer จะเปลี่ยนไปจากสถานะดังนี้ ระบบเชื่อมต่อ Interface ทำหน้าที่กำจัดตัวทำละลาย ทำให้สารที่ต้องการทดสอบอยู่ในรูปของประจุ ดังนั้นรูปแบบการ Transition จาก LC ไป Mass spectrometer จะเปลี่ยนไป http://www.cmsthailand.com/lms/images
/lms_model.gif

รูปแสดง LMS  Model


คำ ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
• CAI (Computer Assisted Instruction) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
• CBT (Computer Based Training) คอมพิวเตอร์ช่วยในการอบรม
• WBI (Web Based Instruction) เว็บช่วยสอน
• WBT (Web Based Training) เว็บช่วยในการอบรม
• CMS (Content Management System) ระบบบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์
•LMS (Learning Management System) ระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนออนไลน์
• LCMS (Learning Management System) CMS+LMS ระบบบริหารจัดการจัดการเนื้อหาและการเรียนการสอนออนไลน์
• KMS (Knowledge Management System) ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ในองค์กร


 ความแตกต่างของLMS และ LCMS

LMS มุ่งเน้นการจัดการเกี่ยวกับผู้เรียน กิจกรรมของผู้เรียน ติดตามความก้าวหน้าและประเมินความสามารถของผู้เรียน

LCMS มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหา การนำเนื้อหากลับมาใช้ใหม่ การจัดการและการปรับปรุงเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผู้ใช้ งานในระบบ LMS
สำหรับผู้ใช้งานในระบบ LMS นั้นสามารถที่จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
• กลุ่มผู้บริหารระบบ (Administrator) ทำหน้าที่ในการติดตั้งระบบ LMS การกำหนดค่าเริ่มต้นของระบบ การสำรองฐานข้อมูล การกำหนดสิทธิ์การเป็นผู้สอน
• กลุ่มอาจารย์หรือผู้สร้างเนื้อหาการเรียน (Instructor / Teacher) : ทำหน้าที่ในการเพิ่มเนื้อหา บทเรียนต่างๆ เข้าระบบ อาทิ ข้อมูลรายวิชา ใบเนื้อหา เอกสารประกอบการสอน การประเมินผู้เรียนโดยใช้ข้อสอบ ปรนัย อัตนัย การให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และสนทนากับนักเรียน
• กลุ่มผู้เรียน(Student/Guest) : หมายถึงนักเรียน นักศึกษา ที่สมัครเข้าเรียนตามหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งการทำแบบฝึกหัด ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอน โดยอาจารย์สามารถทำการแบ่งกลุ่มผู้เรียนได้ และสามารถตั้งรหัสผ่านในการเข้าเรียนแต่ละวิชาได้



เว็บไซต์ที่ใช้งานระบบ LMS     ระดับมหาวิทยาลัย
- ม.วลัยลักษณ์ - mLearning
- ม.สุรนารี - SUT - LMS (โครงการการศึกษาไร้พรมแดน)
- วิทยาลัย โยนก จังหวัดลำปาง - YONOK e-Learning
- วิ ทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ - North Bangkok College E-Learning Center
- ม.เชียงใหม่ - CMU Online
- ม.รัง สิต - Rangsit LMS
- คณะ วิศวะฯ ม.ขอนแก่น - Faculty of Engineering, Khon Kaen University

สายสายอาชีพ
- วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง
- โรงเรียน พณิชยการกาฬสินธุ์

ระดับประถมศึกษา / มัธยมศึกษา
- โรง เรียนเกาะสมุย บทเรียน Online
- โรงเรียน แม่เมาะวิทยา จ.ลำปาง
- โรงเรียน มัธยมวัดหนองแขม กรุงเทพฯ
- โรงเรียน ราชินีบูรณะ นครปฐม
- โรงเรียนสตรีราชินูทิศ
- โรงเรียน พระปฐมวิทยาลัย
- โรงเรียน ลำปางกัลยาณี

หน่วยงานราชการ
- สำนัก งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ OBEC L M S

บริษัทเอกชน

อื่นๆ
- ชุมชนคนรักบางแก้ว
- กระดาน ดำออนไลน์

รวมรายชื่อที่สร้างด้วย Moodle ในไทย
- http://moodle.org/sites/index.php?country=TH    ระดับมหาวิทยาลัย
- ม.ศรีนครินทรวิโรฒ (STOU ATutor)
- ม.สุโขทัยธรรมมาธิราช (STOU e-Learning)
- ม.สุโขทัย ธรรมมาธิราช (STOU e-Training)
- ส.พระจอมเกล้าลาดกระบัง สำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์
- ม.ราชภัฎจันทรเกษม - CRC Course Server e-Learning
- ม.ราชภัฏเพชรบุรี สาขาวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ม.ราชภัฎยะลา - Train ATutor Server
- ม.มหาสารคาม คณะการบัญชีและการจัดการ
- ม.เชียงใหม่ - ศูนย์ปฏิบัติการพยาบาล คณะพยาบาลศาตร์ Nursing Course Server

สายสายอาชีพ
- วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา - LMS Technic Chachoengsao
- วิบูลย์บริหารธุรกิจ ท่าพระ
- วิทยาลัยเทคนิค กระบี่

ระดับประถมศึกษา / มัธยมศึกษา
- โรงเรียน คณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา

หน่วยงานราชการ
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
OBEC LMS
-
บริษัทเอกชน

อื่นๆ
- E-learning to Computer : เว็บไซต์เพื่อการศึกษา บทเรียนออนไลน์วิชาคอมพิวเตอ

1. Blog - บล็อก หรือ เว็บบล็อก (Web blog) เป็นเว็บประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร รูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

2. E-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) เป็น CMS ส่วนของการทำร้านค้า Online สามารถที่จะใช้ในการซื้อของ ซึ่งสามารถที่จะเพิ่มรายการสินค้า ราคา ทำหน้าร้านได้ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

3. E-Leaming เป็น CMS ที่ใช้ในการทำงานสื่อการเรียนการสอน หรือ CAI แต่สามารถที่จะทำเป็นระบบ Online ได้ เหมาะสำหรับ นักเรียน ครู อาจารย์ หรือสถานศึกษาต่างๆ สามารถสร้างแบบทดสอบต่างๆได้

4. Forums (กระดานข่าว) เป็น CMS ที่ใช้ในการตั้งกระทู้ถามตอบปัญหาหรือทำเป็นชุมชนต่างๆ ตามความสนใจของผู้เข้าชม

5. Groupware เป็น CMS ที่ออกแบบมาเพื่อที่จะช่วยการทำงานในองค์กรหรือหน่วยงานให้มีความสัมพันธ์ กัน และมีความรวดเร็วในการทำงาน สามารถที่จะช่วยเหลือกัน สามารถทำงาเป็นทีมและควบคุมการทำงานได้ โดยการทำงานก็จะผ่านระบบเน็ตเวิร์คหรืออีเมล์หรือระบบเว็บออนไลน์ซึ่งการ ติดต่อสื่อสารนั้นก็จะสามารถติดได้เป็นกลุ่มๆ หรือเฉพาะบุคคลก็ได้ พร้อมทั้งข้อมูลที่ต้องการแจ้งสามารถใช้เป็นรูปภาพ ข้อความ หรืออื่นๆได้ แล้วแต่ความสามารถของ Groupware CMS จะทได้ขนาดไหน

6. Image Galleries (อัลบั้มภาพ) เป็น CMS ที่กำลังได้รับความนิยมอีกตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้โดย CMS  ประเภทนี้จะใช้ในการจัดอัลบั้มภาพหรือทำ Galleries ก็จะมีฟังก์ชันในการใช้งานโดยการแบ่งเป็นหมวดหมู่ของภาพ สามารถกำหนดขนาดภาพ ขนาดไฟล์ หรือบางตัวสามารถที่จะทำการย่อภาพลงมาตามที่กำหนดได้เอง หรือทำเป็น Thumbnail ก็ได้

ประเภทของ CMS
 
    1.  เว็บท่า

    ผู้คนมักจะสับสนว่า เว็บท่า หรือ พอร์ทัล (portal) คือระบบจัดการเนื้อหาของเว็บ แต่จริงๆแล้ว เว็บท่าเป็น CMS ประเภทที่รวมระบบจัดการเนื้อหาเว็บที่เน้นการทำเว็บทั่วไปเป็นหลัก โดยที่ผู้ใช้ระบบเว็บท่าสามารถปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยได้อย่างง่ายดาย แทนที่จะใช้โปรแกรมออกแบบหน้าตาเว็บอื่น ๆ เช่น ดรีมวีฟเวอร์ โกไลฟ์ หรือไมโครซอฟท์ ฟรอนท์เพจ ที่มีเนื้อหาแบบนิ่ง นอกจากนี้ ยังมีโมดูล หรือคอมโพเนนท์หลากหลายไว้เสริมความสามารถของเว็บท่าอีกด้วย
    ตัวอย่างของ โปรแกรมเว็บท่าที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ Mambo (CMS) Joomla! PhpNuke Postnuke

    2. บล็อก
บล็อก หรือ blog ย่อมาจาก weblog เป็นระบบที่ให้ผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิก และได้พื้นที่บล็อกตามที่กำหนด จากนั้นสมาชิกจะสามารถปรับปรุงเนื้อหาในบล็อกของตนได้อย่างง่ายดาย กำลังเป็นที่นิยมของวัยรุ่นในขณะนี้สำหรับเขียนไดอารี่ส่วนตัว เป็นต้น
    ตัวอย่างของโปรแกรมบล็อก ได้แก่ Wordpress

    3. อี-คอมเมิร์ซ
    เป็นโปรแกรมสำหรับบริหารจัดการ การขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ต มีหน้าร้านสำหรับแสดงสินค้า ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าที่ต้องการใส่ตะกร้า และจ่ายเงินได้ภายหลังผ่านทางบัตรเครดิตเป็นต้น
    ตัวอย่างของโปรแกรมอี-คอมเมิซ ได้แก่ PhpShop, osCommerce และ Zen cart (ที่พัฒนาจาก osCommerce)

    4. อี-เลิร์นนิง
    เรียกอีกอย่างว่า LMS หรือ ระบบจัดการเนื้อหาเพื่อการเรียนการสอน สามารถอัปโหลดเนื้อหาของรายวิชาขึ้นระบบได้ ให้ผู้ที่เป็นสมาชิกสามารถเข้ามาดูเนื้อหาได้
    ตัวอย่างของโปรแกรมอี-เลิร์นนิง ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ Moodle ATutor Blackboard WebCT

    5. แกลลอรีภาพ
เป็นโปรแกรมบริหารจัดการที่เน้นการแสดงภาพเป็นหลัก ผู้ใช้สามารถอัปโหลดภาพขึ้นระบบเพื่อแสดงผลได้
    ตัวอย่างของโปรแกรมแกลลอรีภาพ ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ Coppermine

    6.  กรุ๊ปแวร์
    เป็นโปรแกรมสำหรับการประสานงานร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย มีฟังก์ชันการทำงานสนับสนุนการทำงานร่วมกันของทีมงาน เช่นปฏิทินนัดหมาย อีเมล กลุ่มผู้ทำงาน การบริหารโครงการ การแลกเปลี่ยนไฟล์เอกสาร เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว สามารถรองรับการทำงานในสำนักงานทั่วๆไปได้ถึงร้อยละ 80
    ตัวอย่างของโปรแกรมกรุปแวร์ ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ dotProject eGroupware MoreGroupware phpCollab phpProjekt

    7. วิกิ
    เป็นระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บที่มีแนวความคิดใหม่ โดยเปิดกว้างให้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกสามารถแก้ไขเนื้อหาได้ แทบจะทุกส่วนของเว็บ
    ตัวอย่างของโปรแกรมวิกิ ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ มีเดียวิกิ Docuwiki

    8 กระดานข่าว
    กระดานข่าว เป็นสถานที่แปะข้อความกระทู้ ในผู้ที่เป็นสมาชิก หรือบุคคลทั่วไปสามารถแสดงความเห็นในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ เป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากทำให้เกิดชุมชนของผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน สามารถมาพูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกันได้
    ตัวอย่างของโปรแกรมกระดานข่าว ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ PhpBB FudForum Invision Power Board vBulletin
 
    9. ไลท์
    เป็นโปรแกรมบริหารจัดงานเนื้อหาเว็บที่เปรียบเสมือนโมดูลย่อยๆ โมดูลเดียวของเว็บท่า เน้นที่การบำรุงรักษาง่าย สามารถลงระบบได้โดยไม่ต้องใช้ฐานข้อมูล แต่เก็บข้อมูลเป็นไฟล์อักขระธรรมดา
    ตัวอย่างของโปรแกรมไลท์ เช่น phpFreeNews Limbo

    10. อื่น ๆ
    ตัวอย่างของโปรแกรมระบบจัดการเนื้อหาเว็บอื่นๆ เช่น ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ ปฏิทินออนไลน์ เป็นต้น