ผู้เขียน หัวข้อ: ส่งงาน CMS LMS LCMS  (อ่าน 2083 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sakanrad54

  • บุคคลทั่วไป
ส่งงาน CMS LMS LCMS
« เมื่อ: วันที่ 27 พฤษภาคม 2010, 10:43:12 »
ชื่อ นางสาวสกุลรัตน์ สิงห์ขัน
ชั้น ม.5/4 เลขที่ 27
 ความหมายของ CMS LMS และ CLMS
1.CMS ; Content Management System ระบบจัดการเนื้อหา เป็นระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อจัดระเบียบ และส่งเสริมการทำงานในหมู่คณะ ให้สามารถสร้างเอกสารหรือเนื้อหาสาระอื่นๆโดยมาแร้ว ระบบจัดการเนื้อหามันจะเป็นเว็บแอปพลิเคชั่น ซึ่งใช้จัดการเว็บไซต์อละเนื้อหาบนเว็บและมีไม่น้อยที่ระบบจัดการเนื้อหา ต้องใช้ซอฟแวร์พิเศษคนเครื่องเครื่องลูกข่ายเพื่อใช้แก้ไขและสร้างบทความ ต่างๆ
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ระบบจัดการเนื้อหา

2.LMS ; Learning Management System ระบบจัดการเรียนการสอน เป็นระบบจัดการการเรียนผ่านเครือข่าย มีเครื่องมือและส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับผู้สอน ผู้เรียนและผู้ดูแลระบบ ได้แก่ ระบบจัดการรายวิชา ระบบจัดการสร้างเนื้อหา ระบบการจัดการผู้เรียน ระบบส่วนการจัดการข้อมูลบทเรียนและระบบเครื่องมือช่วยจัดการสื่อสารปฏิ สัมพันธ์

ที่มา www.thapra.lib.su.ac.th/SUTjour/vol21_22/02LMS.pdf
3.LCMS ; Learning Content Management System คือระบบจัดการจัดการเนื้อหาการเรียนรู้ เป็นระบบที่มีการบูรณาการในส่วนเครื่องมือการสร้างและจัดการเนื้อหาในระบบ ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สอนและผู้เรียนในการจัดการสอน ช่วยให้ผู้สอนพัฒนาเนื้อหาออนไลน์เพื่อการนำเสนอในรูปแบบที่เป็นโครงสร้าง สามารถปรับเปลี่ยนได้ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหาได้หลากหลายขึ้น
ที่มา http://gotoknow.org/blog/orapan2525/301964



ความแตกต่างระหว่าง CMS LMS และ LCMS
CMS สามารถเพิ่มเนื้อหาเว็บไซต์ได้โดยไม่จำเป็นต้องนำขึ้นทีละหน้า แค่ใส่เนื้อหาที่เราต้องการนำขึ้นเว็บไซต์ก็สามารถแสดงผลทางหน้าเว็บไซต์ได้ เลย
LMS มุ่งเน้นการจัดการเกี่ยวกับผู้เรียน กิจกรรมของผู้เรียน ติดตามความก้าวหน้าและประเมินความสามารถของผู้เรียน
LCMS มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหา การนำเนื้อหากลับมาใช้ใหม่ การจัดการและการปรับปรุงเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

   ประเภทของ CMS
     1.  เว็บท่า
   ผู้ คนมักจะสับสนว่า เว็บท่า หรือ พอร์ทัล (portal) คือระบบจัดการเนื้อหาของเว็บ แต่จริงๆแล้ว เว็บท่าเป็น CMS ประเภทที่รวมระบบจัดการเนื้อหาเว็บที่เน้นการทำเว็บทั่วไปเป็นหลัก โดยที่ผู้ใช้ระบบเว็บท่าสามารถปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยได้อย่างง่ายดาย แทนที่จะใช้โปรแกรมออกแบบหน้าตาเว็บอื่น ๆ เช่น ดรีมวีฟเวอร์ โกไลฟ์ หรือไมโครซอฟท์ ฟรอนท์เพจ ที่มีเนื้อหาแบบนิ่ง นอกจากนี้ ยังมีโมดูล หรือคอมโพเนนท์หลากหลายไว้เสริมความสามารถของเว็บท่าอีกด้วย
    ตัวอย่างของโปรแกรมเว็บท่าที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ Mambo (CMS) Joomla! PhpNuke Postnuke
   2. บล็อก
บล็อก หรือ blog ย่อมาจาก weblog เป็นระบบที่ให้ผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิก และได้พื้นที่บล็อกตามที่กำหนด จากนั้นสมาชิกจะสามารถปรับปรุงเนื้อหาในบล็อกของตนได้อย่างง่ายดาย กำลังเป็นที่นิยมของวัยรุ่นในขณะนี้สำหรับเขียนไดอารี่ส่วนตัว เป็นต้น
    ตัวอย่างของโปรแกรมบล็อก ได้แก่ Wordpress
    3. อี-คอมเมิร์ซ
    เป็นโปรแกรมสำหรับบริหารจัดการ การขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ต มีหน้าร้านสำหรับแสดงสินค้า ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าที่ต้องการใส่ตะกร้า และจ่ายเงินได้ภายหลังผ่านทางบัตรเครดิตเป็นต้น
    ตัวอย่างของโปรแกรมอี-คอมเมิซ ได้แก่ PhpShop, osCommerce และ Zen cart (ที่พัฒนาจาก osCommerce)
    4. อี-เลิร์นนิง
    เรียกอีกอย่างว่า LMS หรือ ระบบจัดการเนื้อหาเพื่อการเรียนการสอน สามารถอัปโหลดเนื้อหาของรายวิชาขึ้นระบบได้ ให้ผู้ที่เป็นสมาชิกสามารถเข้ามาดูเนื้อหาได้
    ตัวอย่างของโปรแกรมอี-เลิร์นนิง ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ Moodle ATutor Blackboard WebCT
    5. แกลลอรีภาพ
เป็นโปรแกรมบริหารจัดการที่เน้นการแสดงภาพเป็นหลัก ผู้ใช้สามารถอัปโหลดภาพขึ้นระบบเพื่อแสดงผลได้
    ตัวอย่างของโปรแกรมแกลลอรีภาพ ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ Coppermine
    6.  กรุ๊ปแวร์
    เป็นโปรแกรมสำหรับการประสานงานร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย มีฟังก์ชันการทำงานสนับสนุนการทำงานร่วมกันของทีมงาน เช่นปฏิทินนัดหมาย อีเมล กลุ่มผู้ทำงาน การบริหารโครงการ การแลกเปลี่ยนไฟล์เอกสาร เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว สามารถรองรับการทำงานในสำนักงานทั่วๆไปได้ถึงร้อยละ 80
    ตัวอย่างของโปรแกรมกรุปแวร์ ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ dotProject eGroupware MoreGroupware phpCollab phpProjekt
     7. วิกิ
    เป็นระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บที่มีแนวความคิดใหม่ โดยเปิดกว้างให้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกสามารถแก้ไขเนื้อหาได้ แทบจะทุกส่วนของเว็บ
    ตัวอย่างของโปรแกรมวิกิ ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ มีเดียวิกิ Docuwiki
    8 กระดานข่าว
    กระดานข่าว เป็นสถานที่แปะข้อความกระทู้ ในผู้ที่เป็นสมาชิก หรือบุคคลทั่วไปสามารถแสดงความเห็นในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ เป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากทำให้เกิดชุมชนของผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน สามารถมาพูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกันได้
    ตัวอย่างของโปรแกรมกระดานข่าว ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ PhpBB FudForum Invision Power Board vBulletin
    9. ไลท์
    เป็นโปรแกรมบริหารจัดงานเนื้อหาเว็บที่เปรียบเสมือนโมดูลย่อยๆ โมดูลเดียวของเว็บท่า เน้นที่การบำรุงรักษาง่าย สามารถลงระบบได้โดยไม่ต้องใช้ฐานข้อมูล แต่เก็บข้อมูลเป็นไฟล์อักขระธรรมดา
    ตัวอย่างของโปรแกรมไลท์ เช่น phpFreeNews Limbo
   10. อื่น ๆ
 ตัวอย่างของโปรแกรมระบบจัดการเนื้อหาเว็บอื่นๆ เช่น ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ ปฏิทินออนไลน์ เป็นต้น
   
ประเภทของ Opensource LMS
   Open Source คือ ซอฟต์แวร์ที่ให้ไปพร้อมกับซอร์สโค้ด ซอร์สโค้ด คือ ซอฟต์แวร์ต้นฉบับ โดยจะต้องสามารถอ่านเข้าใจ และอยู่ในรูปแบบที่สามารถปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมได้ ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ Open Source มีอิสระในการนำไปใช้ นำไปแจกจ่าย และปรับปรุงแก้ไข โดยจะคิดค่าใช้จ่ายหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการอนุญาต

Open Source Initiative (OSI) ได้นิยาม ขอบเขตของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สไว้ดังนี้
          1. อนุญาตให้นำไปเผยแพร่ได้อย่างเสรี (Free Redistribution) ไลเซนต์จะต้องไม่จำกัดในการขาย หรือแจกจ่ายให้กับผู้อื่น โดยไม่มีการบังคับว่าต้องจ่ายค่าธรรมเนียม (Royalty Fee) ให้กับเจ้าของซอฟต์แวร์ต้นฉบับ
          2. ให้มาพร้อมกับซอฟต์แวร์ต้นฉบับ (Source Code) โปรแกรมต้องให้มาพร้อมกับ Source Code หรือถ้าไม่ได้ให้มาพร้อมโปรแกรมจะต้องมีช่องทางที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้า ถึง Source Code ได้โดยไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และ Source Code ที่ให้มาจะต้องอยู่ในรูปแบบที่นำไปปรับปรุงแก้ไขได้
          3. อนุญาตให้สร้างซอฟต์แวร์ใหม่โดยต่อยอดจากซอฟต์แวร์ต้นฉบับ (Derived Works) ไลเซนต์ของซอฟต์แวร์ต้องอนุญาตให้สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไข และสร้างซอฟต์แวร์ใหม่ โดยซอฟต์แวร์ตัวใหม่จะต้องมีไลเซนต์เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ต้นฉบับ
          4. ต้องไม่แบ่งแยกผู้พัฒนาออกจากซอฟต์แวร์ต้นฉบับ (Integrity of the Author's Source Code) ไลเซนต์อาจจะไม่ได้ให้ไปพร้อมซอสโค้ดในรูปแบบที่สามารถแก้ไขได้ ในกรณีที่มีการกำหนดว่าจะให้ซอร์สโค้ดเฉพาะส่วนที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม (patch files) เพื่อใช้ในการคอมไพล์โปรแกรมเท่านั้น ไลเซนต์ใหม่จะต้องกำหนดให้ชัดว่าสามารถแจกจ่ายได้หลังจากแก้ไขซอร์สโค้ดแล้ว โดยไลเซนต์ใหม่อาจจะต้องทำการเปลี่ยนชื่อ หรือเวอร์ชั่นให้แตกต่างจากซอฟต์แวร์ต้นฉบับ
          5. จะต้องไม่เลือกปฏิบัติเพื่อกีดกันบุคคล หรือกลุ่มบุคคล (No Discrimination Against Persons or Groups) ไลเซนต์จะต้องไม่เลือกปฏิบัตเพื่อกีดกันการเข้าถึงซอฟต์แวร์ของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
          6. จะต้องไม่จำกัดการใช้เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น (No Discrimination Against Field of Endeavor) ไลเซนต์จะต้องไม่จำกัดการใช้สำหรับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น จะต้องไม่จำกัดการใช้งานเฉพาะในเชิงธุรกิจ หรือในการทำวิจัยเท่านั้น
          7. การเผยแพร่ไลเซนต์ (Distribution of License) สิทธิ์ที่ให้ไปกับโปรแกรมจะต้องถูกบังคับใช้กับทุกคนที่ได้รับโปรแกรมเท่า เทียมกัน โดยไม่จำเป็นต้องใช้ไลเซนต์อื่นๆ ประกอบ
          8. ไลเซนตของซอฟต์แวร์จะต้องไม่ขึ้นกับไลเซนต์ของผลิตภัณฑ์ (License Must Not be Specific to a Product) หมายความว่า ถ้าซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สถูกนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ไลเซนต์ของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สจะต้องไม่ต้องไม่ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์ใด ซอฟต์แวร์หนึ่งในผลิตภัณฑ์ตัวนั้น
          9. ไลเซนต์ของซอฟต์แวร์จะต้องไม่จำกัดไลเซนต์ของซอฟต์แวร์อื่น (License Must Not Restrict Other Software) ไลเซนต์ของซอฟต์แวร์ที่รวมในมีเดียเดียวกันจะต้องไม่ถูกบังคับให้เป็นโอ เพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ด้วย
          10. ไลเซนต์จะต้องไม่ผูกติดกับเทคโนโลยี (License Must Be Technology-Neatral)

ประโยชน์ของ CMS

ประโยชน์เบื้องต้นที่ผู้ใช้งานจะได้รับเมื่อนำ CMS เข้ามาสร้างและดูแลเว็บไซด์ มีดังนี้

   1. ควบคุมรูปแบบของเว็บไซด์ได้ดี
   2. อัปเดตเว็บไซด์ได้จากทุกๆ ที่
   3. ไม่ต้องมีความรู้ภาษา HTML และ Script
   4. รองรับการทำงานจากผู้ใช้งานหลายคนได้พร้อมกัน
   5. เพิ่มศักยภาพในการร่วมมือกันทำงาน

ประโยชน์จากการใช้ LMS
        1.) ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนเป็นรูปแบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
        2.) เป็นการสร้างคลังความรู้ เนื่องจากผู้สอนและผู้เรียนสามารถนำความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน มาแลกเปลี่ยนกันได้ในระบบฯ
        3.) ลดช่องว่างระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนกล้าแสดงความคิดมากขึ้น
        4.) เพิ่มโอกาสทางการศึกษา ให้ผู้เรียนสามารถศึกษาบทเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านระบบเครือข่าย Internet
        5.) ช่วยให้ผู้สอนรับรู้สถิติข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลสถิติการทำแบบทดสอบวัดความรู้ หรือข้อมูลความสนใจของเด็กต่อเรื่องที่ศึกษา
        6.) ลดจำนวนเอกสารที่เป็น Hard Copy ลงได้จำนวนมาก
        7.)    … ฯลฯ
   6. การนำชิ้นส่วนเนื้อหากลับมาใช้ใหม่
   7. การเข้าใช้งาน CMS ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม