ผู้เขียน หัวข้อ: ส่งงาน CMS LMS LCMS  (อ่าน 2028 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

minthitra54

  • บุคคลทั่วไป
ส่งงาน CMS LMS LCMS
« เมื่อ: วันที่ 27 พฤษภาคม 2010, 10:52:29 »
นางสาวมินธิตรา  ศรีลาภา
เลขที่  41  ชั้น  5/4

1.CMS ; Content Management System  ระบบจัดการเนื้อหา เป็นระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อจัดระเบียบ และส่งเสริมการทำงานในหมู่คณะ ให้สามารถสร้างเอกสารหรือเนื้อหาสาระอื่นๆโดยมาแร้ว ระบบจัดการเนื้อหามันจะเป็นเว็บแอปพลิเคชั่น ซึ่งใช้จัดการเว็บไซต์อละเนื้อหาบนเว็บและมีไม่น้อยที่ระบบจัดการเนื้อหา ต้องใช้ซอฟแวร์พิเศษคนเครื่องเครื่องลูกข่ายเพื่อใช้แก้ไขและสร้างบทความ ต่างๆ
ที่มา http://th.wikipedia.org /wiki/ระบบจัดการเนื้อหา




2.LMS ; Learning Management System ระบบจัดการเรียนการสอน เป็นระบบจัดการการเรียนผ่านเครือข่าย มีเครื่องมือและส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับผู้สอน ผู้เรียนและผู้ดูแลระบบ ได้แก่ ระบบจัดการรายวิชา ระบบจัดการสร้างเนื้อหา ระบบการจัดการผู้เรียน ระบบส่วนการจัดการข้อมูลบทเรียนและระบบเครื่องมือช่วยจัดการสื่อสารปฏิ สัมพันธ์
ที่มา www.thapra.lib.su.ac.th/SUTjour/vol21_22/02LMS.pdf




3.LCMS ; Learning Content Management System คือระบบจัดการจัดการเนื้อหาการเรียนรู้ เป็นระบบที่มีการบูรณาการในส่วนเครื่องมือการสร้างและจัดการเนื้อหาในระบบ ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สอนและผู้เรียนในการจัดการสอน ช่วยให้ผู้สอนพัฒนาเนื้อหาออนไลน์เพื่อการนำเสนอในรูปแบบที่เป็นโครงสร้าง สามารถปรับเปลี่ยนได้ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหาได้หลากหลายขึ้น
ที่มา http://gotoknow.org/blog/orapan2525/301964






[size=10pt]ความแตกต่างระหว่าง CMS LMS และ LCMS

[/size]


CMS สามารถเพิ่มเนื้อหาเว็บไซต์ได้โดยไม่จำเป็นต้องนำขึ้นทีละหน้า แค่ใส่เนื้อหาที่เราต้องการนำขึ้นเว็บไซต์ก็สามารถแสดงผลทางหน้าเว็บไซต์ได้ เลย

LMS มุ่งเน้นการจัดการเกี่ยวกับผู้เรียน กิจกรรมของผู้เรียน ติดตามความก้าวหน้าและประเมินความสามารถของผู้เรียน

LCMS มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหา การนำเนื้อหากลับมาใช้ใหม่ การจัดการและการปรับปรุงเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น





ตัวอย่างของ CMS LMS และ LCMS

[/color]

1. CMS





http://www.picohosting.com/images/cmsdemo/demo-prestashop-1.1-f.gif



2.LMS




http://www.learnsquare.com/


3.LCMS





ประโยชน์ของ CMS อย่างหนึ่งก็คือการจัดการเนื้อหาสามารถทำได้อย่างง่ายดายแม้แต่คนที่ใช้ คอมพิวเตอร์ไม่เป็น ทำให้ CMS  ได้รับความนิยมและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง

ในปัจจุบันมีการนำ CMS มาดัดแปลงใช้กับเวปไซต์หลายๆรูปแบบรวมถึงการค้าขายบนอินเทอร์เน็ตหรือที่เรา เรียกกันว่า อีคอมเมิร์ส (e-commerce) ผู้ใช้สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์และสามารถจัดการกับสินค้าได้ด้วยตัวเองโดย ไม่ต้องมีความรู้ด้านโปรแกรมมิงมากนัก วันนี้ผมขอแนะนำ CMS สำหรับการทำ e-commerce ให้ลองไปศึกษาใช้กันครับ

   1. Magento มีรูปแบบการพัฒนาที่มีความน่าสนใจโดยจะแบ่งการทำงานออกเป็น module ทำให้มีความยืดหยุ่นในการทำงาน มีทั้งแบบฟรีและเสียเงินซื้อ

   2. PrestaShop เป็น CMS e-commerce ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงที่สำคัญฟรีด้วย

   3. Drupal e-commerce เป็น package สำหรับทำให้ drupal กลายเป็น e-commerce เป็น opensource มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน

   4. ZenCart มีแนวติดที่ว่ารูปแบบดีไซน์ต้องมีความแตกต่างจากเวปไซค์ e-commerce อื่นๆ จุดเด่นคือ ใช้งานง่ายและฟรี

   5. osCommerce จุดเด่นเป็น opensource (GNU General Public License) มีระบบจัดการมากมาย

   6. VirtueMart ตัวนี้ไม่เได้เป็น CMS เลยซะทีเดียวแต่เป็น module ที่จะทำให้ joomla แปลงร่างกลายมาเป็นเวปไซค์ e-commerce
LMS เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบอีเลิร์นนิ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการเรื่องการเรียน โดย LMS มีฟังก์ชันการทำงานหลักๆ คือ Registration, Delivery, Tracking, Communication และ Testing ซึ่งจะครอบคลุมถึงการสร้างเนื้อหา และบริหารจัดการเนื้อหา โดยเนื้อหาจะอยู่ในรูปของส่วนที่เรียกว่า Learning Object ทำให้สามารถนำส่วนเหล่านี้มาประกอบเป็นบทเรียนเพื่อสนับสนุนการใช้เนื้อหา ร่วมกัน (shareable) และนำเนื้อหาที่แตกต่างกันมารวมกันเพื่อใช้สำหรับบทเรียนที่แตกต่างกันได้

          สำหรับ LMS นั้นไม่มีองค์กรไหนทำการกำหนดมาตรฐานกลางในการทำงาน ดังนั้นบริษัทผู้ผลิต LMS แต่ละบริษัทจึงให้บริการฟังก์ชันการทำงานของ LMS ที่แตกต่างกันออกไปทำให้เกิดจุดเด่นและจุดด้อยในการเปรียบเทียบการทำงานของ แต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีฟังก์ชันการทำงานพื้นฐานที่เหมือนกัน คือ Registration, Delivery, Tracking,Communication และ Testing รวมทั้งการสนับสนุนมาตรฐานต่างๆ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับเนื้อหาจากระบบอื่นได้

          ในอนาคตการใช้งาน LMS ในการเรียนการสอน จะต้องสามารถเรียนร่วมกัน และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกัน ในระบบเดียวกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีข้อตกลงร่วมกันในเรื่องของมาตรฐาน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน โดยต้องเริ่มจากการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ตรงกันและร่วมมือกันพัฒนา courseware เพื่อนำมาใช้ร่วมกัน ซึ่งในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ หลายแห่งในประเทศไทย ได้เริ่มให้มีการใช้บทเรียน online เป็นส่วนเสริมในการเรียนการสอน แต่ยังไม่มีหลักสูตร online ที่ผู้เรียนสามารถเรียน online จนจบได้รับปริญญาบัตร ในการพัฒนาบทเรียน online นั้น มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง จะใช้ทรัพยากรของตนเอง แต่เนื่องจากการเรียนบทเรียน online นั้น จะเรียนที่ใดก็ได้ และหลักสูตรของมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ที่เหมือนกัน ก็มีมาตรฐานเดียวกัน หากมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ได้มีการพัฒนาบทเรียน online ร่วมกัน และแต่ละแห่งสามารถนำบทเรียน online ไปใช้ได้ (Shared e-Courseware) ก็จะเป็นการประหยัดทรัพยากรประหยัดค่าใช้จ่ายของแต่ละแห่ง นอกจากนี้ ยังช่วยให้มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา ที่ขาดแคลนอาจารย์ในบางสาขาวิชา สามารถมีบทเรียน online ที่ได้มาตรฐานในสาขาวิชานั้นได้

          จากการศึกษาค้นคว้าที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ระบบการจัดการการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แบ่งผู้ใช้งานออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เรียน(Student) ผู้สอน(Instructor) และผู้ดูแลระบบ(Administrator) ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนักเทคโนโลยีการศึกษาก็คือในส่วนของการพัฒนา เนื้อหาบทเรียนเพื่อนำไปใช้ในระบบ LMS ซึ่งก็ได้แก่การสร้างและพัฒนา Learning Object และ Courseware

          Learning Object เป็นสื่อดิจิตอลที่มีลักษณะเฉพาะคือ เป็นสื่อประสม (multimedia) ที่ออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะ โดยแต่ละเรื่องจะนำเสนอแนวคิดหลักย่อยๆ ผู้สอนสามารถเลือกใช้ Learning Object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย

          Courseware หมายถึงบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งออกแบบแลถผลิตขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็น ฐานในการผลิต มีการใช้สื่อประสม (multimedia) และการโต้ตอบกับนทเรียนในลักษรณะการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) โดยมีผลป้อนกลับไปยังผู้เรียนทันที มีการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้หลาย ทาง มีระบบการวัดผล ประเมินผลจากการทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบด้วย           สำหรับความหมาย การทำงาน และประโยชน์ของ Learning Object และ Courseware โดยละเอียดผู้ศึกษาของนำเสนอในโอกาสต่อไป
LMS ที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมใช้กัน    
LOGO
   
LMS
   
VISION