ผู้เขียน หัวข้อ: ส่งงาน CMS LMS LCMS  (อ่าน 2385 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

juratip54

  • บุคคลทั่วไป
ส่งงาน CMS LMS LCMS
« เมื่อ: วันที่ 29 พฤษภาคม 2010, 07:29:54 »
นางสางจุราทิพย์ วงศ์แสนสาร ชั้น ม.5/4 เลขที่23

CMS/LMS/LCMS

ตัวอย่างเว็บที่เกี่ยวข้องกับ LCMS http://www.thungsong.ac.th/lcms/about.php?lang=th

ตัวอย่างเว็บที่เกี่ยวข้องกับ LMS http://www.dek-d.com/chat/

ตัวอย่าง เว็บที่เกี่ยวข้องกับ CMS http://www.tnt.co.th/website/thai/cms/index.php



ความหมายของ Liquid Chromatography –Mass Spectrometry (LCMS)
ที่มา http://share.psu.ac.th/blog/pan5/12401
ด้วยความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และมีการพัฒนาเทคโนโลยี กันอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้เราต้องวิ่งตามเทคโนโลยีให้ทันด้วย สำหรับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ก็มีการพัฒนากันอย่างรวดเร็ว เราจะได้ยินชื่อเครื่องมือใหม่ออกมาเรื่อยๆ เครื่องมือใหม่หลายๆอย่างได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อชดเชยข้อบกพร่องข้อเสียของ เครื่องมือเก่า เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด แต่โดยความคิดเห็นส่วนตัวแล้วทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีสองด้านเสมอ มีข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวจะมากหรือน้อยแตกต่างกันออกไป สำหรับเทคนิค LC-MS ก็เป็นเทคนิคการวิเคราะห์หนึ่งที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมานานพอสมควรเพราะปัจจุบัน ได้กลายเป็น LC-MS-MS ไปนานแล้ว แต่โดยหลักการแล้วก็เหมือนๆกัน ณ ตอนนี้สำหรับผู้เขียนเอง LC-MS เป็นเรื่องใกล้ตัวเลยอยากแบ่งบันความรู้อันเล็กน้อยแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น บ้าง เพื่อที่จะได้เป็นต้นทุนสะสมในการพัฒนาสิ่งที่ดีกว่าอยู่เสมอ เมื่อ LC-MS เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเราก็ต้องทำความรู้จักกับ LC-MS ค่ะ LC-MS เป็นเทคนิคที่ควบคู่กันระหว่างการแยกสารด้วย LC โดยใช้หลักการแยกตามคุณสมบัติทางเคมีของสารแต่ละชนิด เช่น มีขั้ว (Polar) ไม่มีขั้ว (non polar) ความเป็นกรดเบส และอาศัยเฟส 2 เฟส คือ Stationary phase คือของแข็งที่บรรจุอยู่ในคอลัมน์ กับ Mobile phase คือตัวทำละลายเคลื่อนที่หรือตัวที่นำพาสารเข้าและออกจากคอลัมน์นั้นเอง หัวใจสำคัญของการแยกสารจะอาศัยหลักการ Like Dissolves Like คือถ้าชอบที่จะอยู่กับใครก็จะอยู่กันนานๆแต่ถ้าไม่ชอบจะอยู่ด้วยก็รีบ ถ่อยออกมาก่อนประมาณนั้น หมายความว่าถ้าสารที่เราต้องการวิเคราะห์ชอบจับกับ stationary phase มากกว่า mobile phase ก็จะออกมาจากคอลัมน์ช้ากว่าสารที่ชอบที่จะอยู่กับ mobile phase
แล้ว Mass Spectrometer
ล่ะทำงานกันอย่างไร
Mass Spectrometer โดยใช้หลักการทำให้สารเกิดการแตกตัวเป็นไอออนและวัดค่ามวลต่อประจุ (m/z) ดังนั้นเมื่อนำเครื่อง LC และ เครื่อง Mass Spectrometer มาใช้ร่วมกันจะต้องมีตัวค่อยเชื่อมความสัมพันธ์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งเรียกว่าระบบ Interface
ทำไมต้องมีตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง LC กับ Mass Spectr
การแยกสารด้วย LC เป็นกระบวนการเกิดขึ้นภายใต้สภาวะบรรยากาศทั่วไป แต่กระบวนการทำงานของ Mass Spectrometer จะเกิดขึ้นภายใต้สภาวะที่เป็นสุญญากาศเท่านั้น ดังนั้นจึงมีระบบเชื่อมต่อระหว่างระบบของ LC และ Mass Spectrometer ซึ่งเรียกว่า Interface ระบบเชื่อมต่อ Interface ทำหน้าที่กำจัดตัวทำละลาย ทำให้สารที่ต้องการทดสอบอยู่ในรูปของประจุ ดังนั้นรูปแบบการ Transition จาก LC ไป Mass Spectrometer จะเปลี่ยนไปจากสถานะดังนี้ ระบบเชื่อมต่อ Interface ทำหน้าที่กำจัดตัวทำละลาย ทำให้สารที่ต้องการทดสอบอยู่ในรูปของประจุ ดังนั้นรูปแบบการ Transition จาก LC ไป Mass spectrometer จะเปลี่ยนไปจากสถานะดังนี้


ความหมายของ ระบบการจัดการการเรียนการสอน LMS (Learning Management System)
ที่มา http://www.crma35.com/pop/OpensourceLMS/pages/lms.html
ได้ มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
กิตติพงษ์ พุ่มพวง (2547) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็นระบบจัดการการเรียนผ่านเครือข่าย มีเครื่องมือและส่วนประกอบที่สำคัญ สำหรับผู้สอน ผู้เรียนและผู้ดูแลระบบ ได้แก่ ระบบการจัดการรายวิชา ระบบการจัดการสร้างเนื้อหา ระบบการจัดการผู้เรียน ระบบส่วนการจัดการข้อมูลบทเรียน และระบบเครื่องมือช่วยจัดการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ และจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ การสื่อสาร Chat E-mail Webboard การเข้าใช้ การเก็บข้อมูลและการรายงานผ เป็นต้น

ชัยวรัตน์ ไชยพจน์พานิช (2547) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็นซอฟท์แวร์บริหารจัดการรายวิชาที่รวบรวมเครื่องมือ ซึ่งออกแบบไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ในการจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ใช้งาน 4 กลุ่ม คือ ผู้เรียน (Student) ผู้สอน (Instructor) เจ้าหน้าที่ทะเบียน (Registration) และผู้ดูแลระบบ (Administrator) ซึ่งเครื่องมือและระดับของสิทธิในการเข้าใช้ที่จัดหาไว้ให้จะมีความแตกต่าง กันไปตามแต่การใช้งานของแต่ละกลุ่ม

ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2547)ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าคือระบบที่ได้รวบรวมเครื่องมือหลายๆ ประเภทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนออนไลน์เข้าไว้ด้วยกันโดยมีจุด ประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ใช้ 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และยังครอบคลุมถึงการจัดการ (Main pulation) การปรับปรุง(Modification) การควบคุม(Control) การสำรองข้อมูล(Backup)การสนับสนุนข้อมูล(Support of data) การบันทึกสถิติผู้เรียน (Student records) และการตรวจคะแนนผู้เรียน (Graded material) ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ผ่านเว็บ โดยใช้โปรแกรมอ่านเว็บ (Web browsers) มาตรฐานทั่วไป

ประกอบ คุปรัตน์ (2547) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็นระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในระบบจัดการห้องเรียนเสมือน ทำให้สถาบันการศึกษาหรือแหล่งจัดการเรียนการสอนสามารถให้ผู้เรียนได้มี Login และ Password เพื่อมีสิทธิเข้าเรียน สามารถจัดการเลือกสรรรายวิชาที่จะเรียน มีบันทึกเกี่ยวกับเวลาและข้อมูลการเข้าเรียน และการทำรายงานผลให้กับระบบการศึกษาหรือการฝึกอบรมนั้นๆ

สาส์มศิริ เนตรประเสริฐ (2548) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็น software ที่ช่วยทำให้ผู้สอนนั้นลดภาระในการบริหารจัดการลง โดย LMS จะทำหน้าที่ในการสร้างเนื้อหา (Courseware) เพื่อใช้ในการสอนแบบออนไลน์, การตรวจสอบผู้เรียน เช่น ดูเวลาการเข้าเรียนของผู้เรียน, การตรวจสอบผลการเรียน เป็นต้น, การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรัยนโดยผ่านทาง เว็บบอร์ด, อีเล็คโทรนิคเมล (E-mail) หรือ Chat Room เป็นต้น, สามารถรายงานผลคะแนนของผู้เรียนให้ผู้สอนทราบในทันที, การกำหนดสิทธ์ของผู้เข้าใช้งานโดยการออกรหัสการเข้าใช้งาน, การคิดคำนวณคะแนนสอบของผู้เรียน รวมไปถึงการคิดค่าเฉลี่ย สูงสุด ต่ำสุด เป็นต้น จะเห็นได้ว่า LMS นั้นสามารถลดภาระหน้าที่ต่างๆ ของผู้สอนลง อีกทั้งยังช่วยประหวัดเวลาในการทำงานต่างๆ เช่นการตรวจข้อสอบ การออกเกรด

สุ จารี แจ้งจรัส (2548) ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าคือระบบการการเรียน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของอีเลิร์นนิ่ง โดย LMS ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดการเรื่องการเรียน ตั้งแต่ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนโดยจะกำหนดลำดับเนื้อหาของบทเรียนตามทักษะ ความ สามารถของผู้เรียน ติดตามและบันทึกความก้าวหน้าของผู้เรียน ประเมินผลความสำเร็จ รวมทั้งสร้างรายงานผลการเรียนจนกระทั่งจบหลักสูตร

ดังนั้นสรุปได้ว่า Learning Management System หรือ LMS เป็นระบบการจัดการเกี่ยวกับการบริหารการเรียนการสอน ในรูปแบบ e-Learning เพื่อจัดการกับการใช้คอร์สแวร์ (Courseware) ในรายวิชาต่างๆ ระหว่างผู้สอน (Instructors) ผู้เรียน (Learners) และผู้ดูแลระบบ (Administrator) โดยออกแบบระบบเพื่อเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวก เช่น โปรแกรมจะทำหน้าที่ ตรวจสอบการเข้ามาใช้บทเรียน เนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ตารางเรียน ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถามตอบ การทำแบบทดสอบ เป็นต้น และองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูลกิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถ นำไปวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความหมายของ ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System : CMS )
ที่มา http://student.nu.ac.th/supaporn/cms.htm
ความหมายของระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System : CMS )
ในระบบการจัดการเนื้อหา E-Learning นั้น Content Management System ( CMS ) เป็นในส่วนของเนื้อหาวิชาที่เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้จัดทำขึ้น และนำมาใส่ไว้ในระบบฐานข้อมูลของ LMS หรือผู้สอนจัดทำขึ้นเองเป็นอิสระโดยมีระบบเหมือนกับ LMS แต่ผู้สอนสามารถจัดการบริหาร เพิ่มเติมเนื้อหา ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือบางส่วนได้ด้วยตนเอง และ คำว่า ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System : CMS ) มีผู้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้
ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System :CMS) คือ ระบบการจัดการเนื้อหาของผู้สอน เพื่อผู้เรียนจะได้นำไปศึกษาโดยไม่ต้องมีระบบการจัดการเต็มรูปแบบเข้ามาช่วย ( ปรัชญนันท์ นิลสุข : http://members.fortunecity.com/prachyanun )
ระบบการจัดการเนื้อของเว็บไซต์ ( Content Management System :CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิคค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา (Development) และบริหาร (Management) เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะนำเอาภาษาสคริปต์ (Script languages) ต่าง ๆ มาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP , Perl , ASP , Python หรือภาษาอื่น ๆ ซึ่งมักจะใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ ( เช่น Apache ) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ( เช่น MySQL) ( http://www.thainuke.net/ )
ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System :CMS) คือ ระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ โดยที่ตัว CMS เองมีโปรแกรมประยุกต์ แบบพร้อมใช้งานอยู่ภายในมากมายอาทิ ระบบจัดการบทความและข่าวสาร(News and Story) ระบบจัดการบทวิจารณ์ (Review), ระบบจัดการสมาชิก(Mamber) ระบบสืบค้นข้อมูล(Search) ระบบจัดการไฟล์ดาวน์โหลด(Download), ระบบจัดการป้ายโฆษณา(Banner), ระบบการวิเคราะห์และตรวจสอบสถิติความนิยมในเว็บไซต์ (Analysis, Tracking and Statistics) เป็นต้น ( http://www.cmsthailand.com )
ระบบการจัดการ เนื้อหา ( Content Management System :CMS) คือ เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารและจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป ภายในตัว CMS เองมีเครื่องมือที่ทรงพลังใช้ในการบริหารเว็บที่เรียกว่า Admin Tools โดยที่ผู้ใช้สามารถจัดการข่าว-บทความ ระบบสมาชิก การส่งเมล์ถึงสมาชิก การแบ่งกลุ่มผู้ดูแลเว็บพร้อมกำหนดสิทธิ การจัดการระบบลิงค์ การจัดการระบบดาวน์โหลดข้อมูล ... และผู้ใช้สามารถเพิ่มเติมโปรแกรมอิสระ(Module) อาทิ Forum, Chatroom, Form mail เข้าไปได้ในภายหลังการติดตั้ง
CMS ( Content Management System ) คือ ระบบที่สนับสนุนในการสร้างเนื้อหาโดยมีเครื่องมือต่าง ๆ ในการสนับสนุนการสร้างเนื้อหา นอกจากการสร้างแล้วยังสามารถนำเนื้อหาที่สร้างมาจากโปรแกรมตัวอื่น มาใช้งานได้ เช่น Macromedia Dreamweaver , Macromedia Flash , Microsoft FrontPage เป็นต้น ( http://www.moe.go.th/ppp/survey/explanation.htm )
จากความหมายของ ระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System :CMS) ดังกล่าว สรุปได้ว่า
CMS ( Content Management System ) คือ ระบบการจัดการเนื้อหาวิชาที่เรียนที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อช่วยลดทรัพยากรใน การพัฒนาและบริหารเว็บไซต์ โดยนำโปรแกรมอื่น ๆ เช่น Macromedia Dreamweaver , Macromedia Flash , Microsoft FrontPage มาช่วยในการสร้างเนื้อหา แล้วนำมาใส่ไว้ในระบบฐานข้อมูลของ LMS ( Learning Management System )
ลักษณะ เด่นของ CMS
ลักษณะเด่นของระบบการจัดการเนื้อหา ( Content Management System :CMS) ได้แก่
1. มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว
2. ตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซ ต์นั้นๆ

ลักษณะการทำงานของ CMS

เป็นระบบที่แบ่งแยกการจัดการ ในการทำงานระหว่าง เนื้อหา(Content) ออกจากการ ออกแบบ(Design) โดยการออกแบบเว็บเพจจะถูกจัดเก็บไว้ใน Templates หรือ Themes ในขณะที่เนื้อหาจะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อใดที่มีการใช้งานก็จะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 ส่วน เพื่อสร้างเว็บเพจขึ้นมา โดยเนื้อหาอาจจะประกอบไปด้วยหลายๆส่วนประกอบ เช่น Sidebar หรือ Blocks, Navigation bar หรือ Main menu, Title bar หรือ Top menu bar เป็นต้นส่วนประกอบของ CMS

ส่วนประกอบของ CMS
1. Templates หรือ Theme เป็นส่วนที่เปรียบเสมือนหน้าตา หรือเสื้อผ้า ที่ถือเป็นสีสรรของเว็บไซต์(Look&feel) ที่มีรูปแบบที่กลมกลืนกันตลอดทั้งไซต์
2. ภาษาสคริปต์ หรือ ภาษา HTML ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ
3. ฐานข้อมูล เพื่อไว้เก็บข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของเว็บไซต์

ข้อดี ของ CMS
ข้อดีของ CMS มีทั้งต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmasters) และผู้ใช้งานเว็บไซต์ ( User ) ดังต่อไปนี้
1. ความสามารถในการใช้ Template และส่วนประกอบของการออกแบบ ที่ครอบคลุมการออกแบบตลอดทั้งไซต์
2. ผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถใช้งาน Template โดยนำมาประกอบกับเอกสารหรือเนื้อหา ทำให้ช่วยลดภาระเรื่องการเขียนโค้ดให้น้อยลง
3. ผู้ใช้งานเว็บไซต์ให้ความสนใจเฉพาะเนื้อหามากกว่าการออกแบบ และในการที่จะเปลี่ยนหน้าตาของเว็บไซต์ ผู้ดูแลเว็บไซต์ก็แค่ไปแก้ไขที่ template ไม่ใช่ที่แต่ละหน้าของเว็บเพจ
4. CMS จะช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ในการสร้างและบำรุงรักษาเว็บไซต์ นอกจากนั้นยังช่วยจัดระดับการใช้งานสำหรับแต่ละส่วนงานของเว็บไซต์ โดยไม่ต้องเข้ามาเซ็ตการใช้งานของระบบที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรง เพราะสามารถทำได้โดยผ่านเว็บบราวเซอร์
5. นอกจากนั้น ถ้ามี Search engine, Calendar, Web mail และส่วนอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มเติมสู่ CMS หรือแม้กระทั่งไปหา Plug-in หรือ Addons เข้ามาเสริมการทำงานได้ ส่วนนี้จะช่วยประหยัดเวลาในการพัฒนาได้
การพิจารณาเลือกใช้ CMS
1. ความยากง่ายในการใช้งาน
2. ความยืดหยุ่นในการพัฒนา
3. ความสามารถในการทำงาน
4. อื่น ๆ ได้แก่ เทคโนโลยี ระบบปฏิบัติการ และราคา

ความ แตกต่างระหว่างLMSและLCMS
LMS มุ่งเน้นการจัดการเกี่ยวกับผู้เรียน กิจกรรมผู้เรียน ติดตามความก้าวหน้าและประเมินความสามารถของผู้เรียน
LCMS มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหา นำเนื้อหากลับมาใช้ใหม่ การจัดการและปรับปรุงเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
CMS มุ่งเน้นการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูปโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมี ความรู้เรื่องการเขี่ยนโปรแกรม